โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ฉากจบ นปช.  กระจกส่อง ก๊วนธนาธร 

คมชัดลึกออนไลน์

อัพเดต 11 ธ.ค. 2562 เวลา 00.56 น. • เผยแพร่ 06 ธ.ค. 2562 เวลา 01.47 น.

"หลังจากนี้คงจะมีพี่น้องที่เหลือที่ยังไม่เข้ารับโทษ ทยอยกันมาจนครบ ผลในวันนี้เป็นสิ่งที่อธิบายได้อย่างครบถ้วนแล้วว่า เหมือนคำพิพากษาที่ได้อ่านไปครั้งแรกทุกประการ พวกเราน้อมรับชะตากรรม น้อมรับคำพิพากษาของศาล"

"จตุพร พรหมพันธุ์" ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน หลังศาลพัทยาอ่านคำสั่งฎีกาคดีแกนนำและแนวร่วม นปช. กรณีร่วมกันชุมนุมบุกล้มการประชุมอาเซียน เมื่อปี 2552

คดีล้มประชุมอาเซียนเป็นที่ยุติแล้ว ศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลย 12 คน โดยสั่งจำคุก 4 ปีไม่รอลงอาญา แกนนำ นปช.ส่วนหนึ่งเข้าไปรับโทษทัณฑ์แล้ว แต่ยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่ยังหลบหนีอยู่

จตุพร พรหมพันธุ์

แกนนำคนเสื้อแดงที่เข้าไปอยู่เรือนจำแล้ว 7 คน คือ ศักดา นพสิทธิ์ ประธาน นปช.ชลบุรี, สิงห์ทอง บัวชุม อดีตผู้สมัคร ส.ส.เพื่อไทย, พิเชษฐ์ สุขจินดาทอง แนวร่วม นปช., พายัพ ปั้นเกตุ อดีต ส.ส.สิงห์บุรี, นพพร นามเชียงใต้ หรือ "เต้มดแดง รักพ่อทักษิณ", วรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ และ สำเริง ประจำเรือ ประธาน นปช.จันทบุรี

ที่ไม่มาฟังคำพิพากษา ทำให้ศาลออกหมายจับ 4 คนคือ อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, ธนกฤต ชะเอมน้อย หรือ วันชนะ เกิดดี, นพ.วัลลภ ยังตรง อดีต ส.ส.สมุทรปราการ และนิสิต สินธุไพร อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด

กรณี พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ส.ส.กำแพงเพชร อ้างติดประชุมสภา ศาลได้ออกหมายจับให้มาฟังคำพิพากษาในวันที่ 15 มกราคม 2563

อีกคดีหนึ่งที่จะชี้ชะตาแกนนำ นปช.ในอนาคต คดีบุกบ้าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี 2550 ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุก 2 ปี 8 เดือนโดยไม่รอลงอาญา ซึ่งจำเลยประกอบด้วย นพรุจ วรชิตวุฒิกุล แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006, วีระกานต์ มุสิกพงศ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, วิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ โดยจำเลย 3 คน ยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมที่เคยต่อสู้คดี พร้อมยื่นคำให้การใหม่เป็นรับสารภาพ และขอความเมตตาจากศาลให้ลงโทษสถานเบา ศาลจึงส่งคำร้องให้ศาลฎีกา เพื่อพิจารณามีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งอีกครั้งต่อไป

คดีบุกบ้านป๋าเปรม ยังเป็นยุคของ "แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ" (นปก.) ถัดจากม็อบบุกบ้านป๋าเปรม จึงเกิด "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ" (นปช.)

นปช.เปิดยุทธการโค่นอำมาตย์ปี 2552 เปลี่ยนชื่อเป็น "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน" เพื่อความเป็นเอกภาพ ครั้น นปช.พ่ายแพ้ ในยุทธการโค่นอำมาตย์ปี 2553 แกนนำและแนวร่วม นปช. หนีไปหลบภัยในประเทศเพื่อนบ้าน

หลังกลับมาจากกัมพูชา ภายในขบวนการคนเสื้อแดงหรือ นปช. เกิดความขัดแย้งทางความคิด มีการนำเสนอทฤษฎีการต่อสู้ในแบบต่างๆ ซึ่งบางกลุ่มเริ่มไม่ยอมรับการนำของ ธิดา ถาวรเศรษฐ

ความแตกแยกภายในขบวนการ ทำให้เกิด "นปช.สายธิดา" กับ "แดงฮาร์ดคอร์" อันเป็นจุดเริ่มของ นปช.แถว 2 ประกอบด้วย อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, สุภรณ์ อัตถาวงศ์, พายัพ ปั้นเกตุ ฯลฯ

ปี 2556 "แรมโบ้อีสาน" สุภรณ์ อัตถาวงศ์ แยกตัวออกไปตั้งกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ประชาธิปไตยแห่งชาติ (อพปช.) ขณะที่แกนนำแดงภูธร ก็แยกตัวไปตั้ง "หมู่บ้านเสื้อแดง" และกลุ่มแดงอิสระมากมาย

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

หลังรัฐประหาร 2557 แกนนำ นปช.ต่างทยอยขึ้นศาลในคดีค้างเก่าสมัยยุทธการโค่นอำมาตย์ และบางส่วนต้องเข้าไปใช้ชีวิตในเรือนจำ

"นี่คือสิ่งที่เรียกว่ารางวัลของนักต่อสู้ มีคุกตะราง มีชีวิต และท้ายที่สุดก็ล้มละลาย สำคัญสุดคือว่าเมื่อคดีถึงที่สุดก็ต้องน้อมรับคำตัดสิน" จตุพรรำพันกับเหล่าแม่ยกเสื้อแดงในรายการลมหายใจของพีซทีวี

ชั่วโมงนี้ กองเชียร์อนาคตใหม่เรียกร้องให้ "ลงสู่ท้องถนน" ขับไล่รัฐบาลประยุทธ์ เหมือนยุคแดงทั้งแผ่นดิน ซึ่ง ส.ส.อนาคตใหม่หลายคน ก็เคยร่วมขบวนการคนเสื้อแดงมาก่อน

*บทเรียนและชะตากรรมของแกนนำ นปช. ทำให้แกนนำพรรคอนาคตใหม่ ครุ่นคิดกันหนัก อ่านใจกันนาทีนี้ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ยังไม่กล้าเล่นเกมเสี่ยง *

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0