โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จ่อปลด ‘พืชกระท่อม’ ออกจากบัญชียาเสพติด

ข่าวช่องวัน 31

อัพเดต 20 ม.ค. 2563 เวลา 12.45 น. • เผยแพร่ 20 ม.ค. 2563 เวลา 12.41 น. • one31.net
จ่อปลด ‘พืชกระท่อม’ ออกจากบัญชียาเสพติด

รมว.ยุติธรรม ติดตามโครงการวิจัยพืชกระท่อม เล็งเสนอถอดบัญชียาเสพติดให้โทษ…

เมื่อวันที่ 20 ม.ค.63 ที่หอประชุมโรงเรียนท่าชีวิทยา ต.น้ำพุ อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและดูงานพื้นที่การพัฒนารูปแบบการควบคุมพืชกระท่อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในประเทศไทย กรณีศึกษาตำบลน้ำพุ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบการควบคุมพืชกระท่อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในประเทศไทย และสอบถามความคิดเห็น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงทัศนคติของประชาชนต่อพืชกระท่อม เพื่อนำข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับพื้นที่เพื่อประกอบพิจารณาเสนอถอดพืชกระท่อมออกจากกฎหมายยาเสพติดให้โทษต่อไป โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และผู้เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ

สำหรับโครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบการควบคุมพืชกระท่อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนฯ นั้น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ได้คัดเลือกตำบลน้ำพุ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการภายใต้หนังสือสำคัญมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันมีหมู่บ้านเป้าหมายในพื้นที่ตำบลน้ำพุ จำนวน 6 หมู่บ้าน จำนวน 1,920 ครัวเรือน พบครัวเรือนที่มีพืชกระท่อม จำนวน 655 ครัวเรือน พืชกระท่อม จำนวน 1,912 ต้น ได้ดำเนินการควบคุมและติด QR Code จำนวน 1,578 ต้น ตัดฟันทำลาย จำนวน 334 ต้น ซึ่งการควบคุมพืชกระท่อมเป็นไปตามธรรมนูญตำบลที่ได้กำหนดไว้ใน 3 แผนงาน คือ

1) แผนการควบคุมพืชกระท่อม โดยกำหนดให้ครัวเรือนสามารถครอบครองพืชกระท่อมครัวเรือนละไม่เกิน 3 ต้น ครัวเรือนใดมีพืชกระท่อมมากกว่า 3 ต้น ให้ตัดฟันทำลายและคงไว้เพียง 3 ต้น ส่วนครัวเรือนใดที่มีไม่ถึง 3 ต้น ให้คงไว้ห้ามปลูกเพิ่ม
2) แผนการเฝ้าระวังทางสังคม
3) แผนการเฝ้าระวังสุขภาพชุมชน

ซึ่งจากการดำเนินงานโครงการวิจัยฯ มีหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง สาธารณสุข ตำรวจ ทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอ สถาบันวิชาการภาคประชาชน ผู้นำหมู่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ตำบลน้ำพุ ซึ่งต้นกระท่อมในพื้นที่จะมีการติดคิวอาร์โค้ดทุกต้นว่าเป็นของใครบ้าง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน กล่าวว่า จากอดีตที่ผ่านมา มีรัฐมนตรีหลายคนได้พยายามผลักดันเรื่องดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ในสมัยนั้นตนได้ร่วมติดตามการแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด จนกระทั่งปัจจุบันตนจะพยายามผลักดันอย่างจริงจัง และให้สัญญาว่าจะพยายามทำให้เกิดผลภายใน 3 เดือน เรื่องดังกล่าวไม่มีความคืบหน้าหรือไม่ประสบความสำเร็จ จะต้องมีค่าใช้จ่ายให้กับคนดูแลต้นกระท่อม ถ้าหากไม่มีรายได้ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เลยก็อาจจะโค่นทิ้ง จึงถามพี่น้องประชาชนว่า อยากให้โค้นต้นกระท่อมทิ้งหรือไม่ ซึ่งทุกคนต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ยอม และจะขอให้รัฐมนตรี ช่วยผลักดันเรื่องเก่าให้สำเร็จต่อไป

นายสมศักดิ์ฯ กล่าวด้วยว่า เราได้ผลักดันเรื่องของกัญชาอย่างเป็นรูปธรรมด้วยความรวดเร็ว ดังนั้นการดำเนินการผลักดันต้นกระท่อม พืชกระท่อม ก็ต้องทำอย่างรวดเร็ว ถึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งมีด้วยกัน 10 ขั้นตอน โดยดำเนินการมาแล้วกว่าครึ่งทาง คงเหลือแต่การแก้กฎหมายมาตราต่างๆ แล้วให้เข้าสู่ในขั้นตอนของกฤษฎากฤษฎีกาตีความต่อไป.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0