โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จุฬาฯ ห้ามบุคลากร-นิสิตไปพื้นที่เสี่ยง 9 แห่งในต่างประเทศหวั่นติดเชื้อโควิด-19

TODAY

อัพเดต 20 ก.พ. 2563 เวลา 02.42 น. • เผยแพร่ 20 ก.พ. 2563 เวลา 02.42 น. • Workpoint News
จุฬาฯ ห้ามบุคลากร-นิสิตไปพื้นที่เสี่ยง 9 แห่งในต่างประเทศหวั่นติดเชื้อโควิด-19

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกประกาศวานนี้ ไม่อนุญาตให้บุคลากร-นิสิต เดินทางไปประเทศหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ระหว่างวันที่ 20 ก.พ.ถึงวันที่ 19 เม.ย.63

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ให้หยุดเรียนหรือหยุดงานในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาโดยไม่นับเป็นวันลา ลงวันที่ 27 มกราคม 2563 ไปแล้วนั้น แต่เนื่องจากยังมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 เป็นจำนวนมาก และเชื้อโรคดังกล่าวยังคงแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงไปยังหลายประเทศในภูมิภาคต่างๆ ของโลก

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคดังกล่าว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน นิสิต และบุคลากร จึงได้ออกประกาศจุฬาฯ ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 และประกาศจุฬาฯ เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ซึ่งมีรายละเอียดตามประกาศดังนี้

ตามที่มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ให้หยุดเรียนหรือหยุดงานในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2563 ไปแล้วนั้น แต่เนื่องจากปรากฏข้อเท็จริงเป็นที่ประจักษ์ว่า บัดนี้มีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วเป็นจำนวนมากและเชื้อโรคดังกล่าวยังได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงไปยังหลายประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก มหาวิทยาสัยจึงจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคดังกล่าว เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน นิสิต และบุคลากร ตลอดจนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 มาตรา 77 และมาตรา 86 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2551 ประกอบกับข้อ 15 วรรคสาม แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2555 และข้อ 10 วรรคสอง แห่งระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการลาของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2551 จึงเห็นสมควรให้ดำเนินการดังนี้

ข้อ 1. ไม่อนุมัติหรืออนุญาตให้นักเรียน นิสิต หรือบุคลากรลาเพื่อเดินทางไปยังหรือแวะผ่าน (Transit) ประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ตามที่มหาวิทยาลัยประกาศกำหนด ซึ่งมีกำหนดการเดินทางระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พศ.2563 จนถึงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2563

ข้อ 2. กรณีที่ได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้ลาเพื่อเดินทางไปยังประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงดังกล่าวอยู่ก่อนวันประกาศนี้ ให้นักเรียน นิสิต หรือบุคลากรงดหรือเลื่อนการเดินทางออกไปให้พันระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 1.และถ้ามีค่าใช้จ่ายที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วเกิดขึ้นก่อนวันที่ประกาศนี้ให้สามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ตามจริง ฃ

กรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างยิ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ ให้นักเรียน นิสิตหรือบุคลากรแจ้งเหตุผลหรือความจำเป็นดังกล่าวต่อหัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงาน/คำกับดูแล แล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณา และเมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยแล้วให้ดำเนินการตามข้อ 3.

ข้อ 3. นักเรียน นิสิต หรือบุคลากรที่เดินทางไปยังหรือแวะผ่าน (Tansit) ประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 กลับมาถึงประเทศไทยภายในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2563 ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้เดินทางหรือเดินทางด้วยภารกิจส่วนตัว ให้ผู้นั้นมีหน้าที่ปรับการตรวจคัดกรองและฝ้าระวังเชื้อโรคโควิด-19 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์หรือสถานพยาบาลอื่นที่มีมาตรฐานในการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังเทียบท่ากับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในวาระแรกที่สามารถกระทำได้ แล้วรายงานผลการตรวจดังกล่าวต่อหัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงาน กำกับดูแล แล้วแต่กรณี ถ้าหากตรวจพบหรือมีภาวะเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคโควิด-19 ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานกำกับดูแล แล้วแต่กรณี พิจารณาสั่งให้ผู้นั้นงดเข้าชั้นเรียนหรือหยุดมาปฏิบัติงานเพื่อรับการรักษาจนหายเป็นปกติหรือเพื่อเฝ้าดูอาการ เป็นวลา 14 วัน นับจากวันที่กลับมาถึงประเทศไทย โดยไม่ถือเป็นการขาดเรียน หรือขาดการปฏิบัติงาน และไม่นับเป็นวันลา

หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงาน/คำกับดูแล แล้วแต่กรณี ที่สั่งให้นักเรียน นิสิตบุคลากรคนใดงดเข้าชั้นเรียนหรือหยุดมาปฏิบัติงานเพื่อเฝ้าดูอาการตามวรรคหนึ่ง อาจมอบหมายงานให้ผู้นั้นปฏิบัติในระหว่างที่หยุดเฝ้าดูอาการนั้นก็ได้

ข้อ. 4 ให้งดหรือเลื่อนการเชิญบุคคลจากต่างประเทศร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน การประชุม การสัมมนา หรือการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 20 ก.พ.-19 เม.ย. 2563 ออกไปก่อน และถ้าหากมีค่าใช้จ่ายที่ได้รับอนมัติไว้แล้วเกิดขึ้นก่อนวันที่ประกาศนี้ให้สามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ตามจริง

ข้อ 5 ให้นักเรียน นิสิต และบุคลากรถือปฏิบัติตามประกาศนี้โดยเคร่งครัด

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ลงชื่อ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้อภากรณ์ อธิการบดี

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2551 ประกอบกับข้อ 1.ของประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563

มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ประเทศดังมีรายชื่อต่อไปนี้เป็นประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19
(1) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
(2) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
(3) สาธารณรัฐประชาชนจีน
(4) เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
(5) เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
(6) ญี่ปุ่น
(7) มาเลเชีย
(8) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
(9) สาธารณรัฐสิงคโปร์

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0