โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"จุรินทร์" แจ้งราคาข้าวนาปรังแตะ 10,000 บาทต่อตัน ชาวนารับส่วนต่างงวดล่าสุด 8 เม.ย.

new18

อัพเดต 08 เม.ย. 2563 เวลา 16.54 น. • เผยแพร่ 08 เม.ย. 2563 เวลา 12.45 น. • new18
“จุรินทร์” แจ้งราคาข้าวนาปรังกระเตื้องแตะ 10,000 ต่อตัน ชาวนารับส่วนต่างงวดล่าสุด 8 เม.ย.

"จุรินทร์" แจ้งราคาข้าวนาปรังกระเตื้องแตะ 10,000 บาทต่อตัน ชาวนารับส่วนต่างงวดล่าสุด 8 เม.ย.

เมื่่อวันที่ 8 เม.ย. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกในตลาดกระเตื้องขึ้นสูงเป็นลำดับ เพราะนอกจากจะเกิดจากมาตรการส่งเสริมให้ชาวนาเก็บสต๊อกข้าวไว้โดยได้รับเงินชดเชยแล้ว ตลาดต่างประเทศก็ยังมีต้องการเพิ่มสูงขึ้น เช่นในตลาดญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะขณะนี้ราคาข้าวเปลือกเจ้า ที่ความชื้นไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ราคาทางการที่กระทรวงพาณิชย์รายงานสำหรับข้าวนาปรังขึ้นมาอยู่ที่ราคา 9,200-10,500 บาทต่อตัน ส่วนข้าวเปลือกหอมมะลิ อยู่ที่ 14,000 - 15,300 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกหอมประทุม อยู่ที่ราคา 10,000-10,500 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวอยู่ที่ราคา 15,600- 17,500 บาทต่อตัน  ทั้งนี้ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์เฝ้าติดตามสถานการณ์ข้าวอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกษตรกรสามารถขายข้าวเปลือกได้ในราคาที่ดีที่สุด และขณะเดียวกันก็ต้องติดตามราคาข้าวสารถุงสำหรับบริโภคและตัวเลขการส่งออกข้าวควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้สถานการณ์ข้าวของประเทศในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับภัยโควิด-19 อยู่ในขณะนี้เกิดความสมดุลที่สุด แหากราคาข้าวชนิดใดชนิดหนึ่งตกต่ำลงมา นโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ก็ยังคงอยู่ และสามารถช่วยชดเชยเงินส่วนต่างของรายได้ให้กับชาวนาต่อได้ สำหรับการโอนจ่ายเงินส่วนต่างของงวดถัดไปคือ 8 เม.ย. 2563

นายจุรินทร์ กล่าวว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนั้น รัฐบาลดูแลชาวนาจำนวนเกษตรกรที่มีสิทธิทั้งหมด 4.31 ล้านราย วงเงิน 20,940.84 ล้านบาท ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงไปแล้ว 22 งวด โอนแล้ว 984,539 ราย จำนวนเงิน 19,368 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.4 ของงบประมาณทั้งหมด โดยงวดล่าสุดคืองวดที่ 22 ประกาศเมื่อวันที่ 3 เม.ย.2563 โดยข้าวในภาคอื่น ๆ สิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยวแล้ว คงเหลือภาคใต้ดังนี้ คือ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาตันละ 14,200บาท ราคาสูงกว่าราคาเป้าหมาย ข้าวเปลือกเจ้า ราคาตันละ 9,638 บาท ชดเชยส่วนต่างตันละ 361.84 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาตันละ 10,903 บาท ชดเชยส่วนต่างตันละ 96.54 บาท ข้าวเปลือกเหนียว ราคาตันละ 16,833 บาท ราคาสูงกว่าราคาเป้าหมาย โดยงวดล่าสุดที่โอนคืองวดที่ 21 โอนเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563 เกษตรกรจำนวน 7,615 ราย วงเงิน 21.09 ล้านบาท และงวดที่ 22 คาดว่าจะโอนวันนี้ วันพุธที่ 8 เม.ย. 2563 วงเงินประมาณ 8.60 ล้านบาท

นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่าประชุม ครม.ได้ให้ความเห็นชอบให้ขยายโครงการเสริมคือชะลอการขายข้าวเปลือกของชาวนาออกไป จากเดิมสิ้นเดือน ก.พ. เป็นสิ้นเดือน เม.ย.เดือน ก.ค.สำหรับข้าวในภาคใต้โดยการเพิ่มยอดการชดเชยการชะลอขายข้าวจาก 1,000,000 ตันเป็น 1,500,000 ตันโดยชดเชยให้เกษตรกรที่เก็บสต๊อกข้าว ตันละ 1,500 บาท ส่วนสถาบันการเกษตร หรือสหกรณ์ จะชดเชยให้ตันละ 1,000 บาท และชดเชยให้เกษตรกรที่เก็บข้าวไว้กับสหกรณ์ตันละ 500 บาทด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มวงเงินจากเดิม 10,000 ล้านบาทเป็น 15,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0