โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

"จุรินทร์" สั่งตั้ง "กรอ.พาณิชย์"แก้ส่งออก

TNN ช่อง16

อัพเดต 20 ก.ค. 2562 เวลา 03.37 น. • เผยแพร่ 20 ก.ค. 2562 เวลา 03.37 น. • TNN Thailand
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนกระทรวงพาณิชย์ เร่งแก้ปัญหาการส่งออก

         วันนี้ ( 20 ก.ค.62)นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เร่งรัดจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนกระทรวงพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ประกอบด้วย สมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมธนาคารไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เป็นต้น และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงพาณิชย์ โดยมีตนเป็นประธาน เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสนอแนะปัญหาและอุปสรรคด้านการส่งออก เพื่อผลักดันให้การส่งออกของไทยในปีนี้ขยายตัวได้มากขึ้น   โดยได้วางแนวทางไว้ว่า จะให้มีการประชุม กรอ.พาณิชย์ทุกเดือน และน่าจะประชุมนัดแรกได้ในสัปดาห์หน้า

          สำหรับ ปัญหาของภาคการส่งออกไทยในขณะนี้  มีทั้งเรื่องของผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมถึงปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ส่วนเป้าหมายมูลค่าการส่งออกปีนี้ที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าไว้ที่ 3% ยังไม่อยากให้พูดว่าจะมีการทบทวนใหม่หรือไม่ เพราะต้องหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนก่อน

          ส่วนการประกันรายได้เกษตรกร จะเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งจะประกันรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง เหมือนที่ผ่านมา และจะเพิ่มอีก 2 สินค้า คือ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ส่วนจะประกันรายได้ให้กับเกษตรกรเท่ากับที่พรรคประชาธิปัตย์ได้หาเสียงไว้หรือไม่นั้น เช่น ยางพารา ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัม (กก.) ละ 60 บาท ปาล์มน้ำมันกก.ละ 4 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท คงต้องพิจารณาสถานการณ์ต่างๆ ก่อน และจะต้องเสนอให้รัฐบาลพิจารณาก่อนด้วย  เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก  อย่างไรก็ตาม  ไม่ต้องกังวลจะเกิดการรั่วไหล หรือทุจริต  เพราะทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องอุดช่องโหว่  แต่หากมีการทุจริตเกิดขึ้น จะถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด 

      ขณะที่ มาตรการกำกับดูแลยา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ คงต้องเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นมาตรการที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายแล้ว

         

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0