โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

จี้แก้ผลกระทบ 'มาบตาพุด'

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ - Economics

เผยแพร่ 14 ธ.ค. 2561 เวลา 02.30 น.

นายนพดล ตั้งทรงเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า การพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 1 และเฟส 2 ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชายหาด จ.ระยอง ถูกกัดเซาะชายฝั่งเป็นวงกว้างและรุนแรง โดยบางพื้นที่ถนนแทบจะขาดตอน ซึ่งขณะนี้ยังไม่รับการดูแลหรือแก้ไขจากภาครัฐ ดังนั้นการจะพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ก็จะต้องมาเยียวยาดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเฟส 1และ 2 ก่อนที่จะมาพัฒนาเฟส 3

นายนพดล กล่าวว่า ที่ผ่านมา กนอ.ระบุว่าไม่มีหน้าที่ในการดูแลถนน รวมทั้งก่อนการก่อสร้างได้ศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว ซึ่งหอการค้าจังหวัดระยองได้ย้ำแล้วว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดควรได้รับการดูแลแก้ไข ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรับรู้ปัญหาและแก้ไข

"วันนี้สิ่งที่เห็นเป็นประจักษ์ชายฝั่งทะเลเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการพัฒนา แต่สิ่งแวดล้อมก็ควรไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเกิดผลกระทบก็ต้องแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนกับคนในพื้นที่"

ทั้งนี้ กนอ.ควรสร้างความเชื่อมั่นในกับประชาชนระยอง โดยประชาชนยินดีถ้าจะนำความเจริญมาในพื้นที่ แต่ต้องไม่กระทบต่อประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งต้องไม่ใช่การพัฒนาที่นำความเจริญมาพร้อมกับความเดือดร้อนและถ้าเป็นเช่นนี้เชื่อว่าชาวระยองไม่ต้องการ

สำหรับ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเกิดจากความลึกของทะเลที่ถูกขุดลอก รวมทั้งมีการสร้างเขื่อนป้องกันกระแสน้ำที่ป้องกันได้เพียง 50% และเมื่อถึงฤดูมรสุมหรือเวลาที่มีคลื่นลมแรงก็พัดข้ามเขื่อนเข้ามา และมีช่องที่ให้น้ำทะเลทะลัก

เข้ามาชายหาด ดังนั้นต้องมาแก้ไขไม่ให้คลื่นลมซัดเข้าชายฝั่ง ซึ่งกระทบต่อเส้นทางคมนาคมและบ้านเรือนของประชาชนที่อยู่ริมทะเลจึงต้องการให้ภาครัฐดูแล เรื่องนี้เพราะกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว เช่น ทะเลลึกมากขึ้นความสวยงามของชายหาด

นายนพดล กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดระยองกำลังของบประมาณพัฒนาถนนเลียบทะเลและเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ตามแนวชายฝั่งทะเลระยองที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด โดยเริ่มตั้งแต่ ต.ปากน้ำประแส ถึงสนามบินอู่ตะเภา เพื่อกันความแรงของคลื่นที่กระทบชายฝั่ง พร้อมกับปรับปรุงพื้นที่ให้สวยงาม เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของระยอง ซึ่งต้องแก้ไขจุดนี้ให้เรียบร้อยก่อนพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และถ้าไม่แก้ไขจะเกิดผลกระทบกับชายฝั่งมากขึ้น เพราะท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ใช้พื้นที่ 1,000 ไร่ และต้องถมทะเลด้วย

กนอ.คาดอีเอชไอเอเสร็จ ม.ค.62

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) อยู่ระหว่างปรับปรุงขั้นตอนสุดท้ายจะเสร็จในเดือน ธ.ค.นี้ และจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ความเห็นชอบในเดือน

ม.ค.2562 ก่อนที่เอกชนจะยื่นประมูลในวันที่ 6 ก.พ.2562 ตามที่กฎหมายกำหนดให้อีเอชไอเอ จะต้องเสร็จก่อนการเปิดประมูลและคาดว่าจะได้ตัวเอกชนผู้ชนะการประมูลภายในเดือนก.พ. 2562 และลงนามได้ภายในเดือนมี.ค. 2562 หลังจากลงนามในสัญญา

โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 กนอ. จะประกาศเขตนิคมฯให้กับพื้นที่ใหม่ 1,000 ไร่

รายงานข่าวจาก กนอ.ระบุว่า ประกาศเชิญชวนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 ครอบคลุมพื้นที่ 1,000 ไร่ เป็นส่วนหนึ่งของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ประกอบด้วย พื้นที่ถมทะเลหลังท่าเพื่อใช้งาน 550 ไร่ และ

พื้นที่บ่อเก็บตะกอนดินเลนระหว่างก่อสร้าง 450 ไร่ ความยาวหน้าท่ารวม 2,200 เมตร โดยการดำเนินงานในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน

ครอบคลุม 8 ส่วน คือ 1.งานขุดลอกร่องน้ำเดินเรือ โดยมีความลึกร่องน้ำที่ลบ 16 เมตรจากระดับน้ำทะเลต่ำสุด

2.แอ่งกลับเรือขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 700 เมตร 3.การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานรองรับการก่อสร้างท่าเรือ 1,000 ไร่ แบ่งเป็น

พื้นที่หลังท่า 550 ไร่ เพื่อรองรับการก่อสร้างท่าเรือสินค้าเหลว ท่าเรือก๊าซธรรมชาติ และพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมพลังงาน รวมทั้ง

พื้นที่บ่อกักเก็บกักตะกอนดินเลน 450 ไร่ 3.งานก่อสร้างเขื่อนหินกันทราย 4.งานก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น 5.งานเทียบเรือบริการ 6.งานระบบสาธารณูปโภค เช่น ถนนระบบประปา ระบบระบายน้ำฝนและน้ำท่วม ระบบกำจัดขยะมูลฝอย ระบบไฟฟ้าส่องสว่างระบบไฟฟ้าสื่อสาร 8.งานส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง

ประสบการณ์ถมทะเล 1 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับหน้าที่ความรับผิดชอบของ กนอ.ครอบคลุมการขุดลอกและการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการก่อสร้างท่าเรือ โดย กนอ.จะให้สิทธิเอกชนออกแบบก่อสร้าง ให้บริการและบำรุงรักษา ทั้งนี้ผู้ประมูลจะต้องมีประสบการณ์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านงานขุดลอกและถมทะเล และมีประสบการณ์ก่อสร้างท่าเทียบเรือ โดยสัญญางานขุดลอกและถมทะเลต้องเป็นลักษณะสัญญาเดียว รวมกันกับสัญญางานก่อสร้างท่าเทียบเรือ รวมทั้งต้องมีเงื่อนไขมูลค่างานไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท หรือการถมทะเลที่มีปริมาณไม่น้อยกว่า 1 ล้านลูกบาศก์เมตร

นอกจากนี้ในซองประมูลที่ 2 ที่กำหนดให้ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและประสบการณ์กำหนดให้ต้องยื่นรายะเอียดการออกแบบเขื่อนกันคลื่นและเขื่อนหินกันทราย ซึ่งต้องระบุวิธีการขุดลอก ถมทะเลและเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างสกพอ.เตรียมแผนสิ่งแวดล้อม

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้เห็นชอบร่างแผนสิ่งแวดล้อมในอีอีซีตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนสิ่งแวดล้อมได้จัดทำ เพื่อให้เกิดความมั่นใจเรื่องสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และมอบหมายให้ สกพอ.เป็นผู้ประสานรวบรวมและนำเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) โดย ร่างแผนสิ่งแวดล้อม อีอีซี พ.ศ.2561-2564 มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์

คุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ อีอีซี 2. กรอบแนวคิดและทิศทางการจัดทำแผน 3. กรอบแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อีอีซี 4. วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ และมาตรการของแผนสิ่งแวดล้อม อีอีซี 5. แผนปฏิบัติการและโครงการเร่งด่วน และ6. การขับเคลื่อนแผนโดยในช่วงเริ่มต้นได้เตรียมของบประมาณ 8.5 พันล้านบาท จากงบกลางปี 2562 เพื่อใช้ในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเร่งด่วน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0