โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

จีนล็อบบี้อาเซียนใช้เงินหยวน หวังลดอิทธิพลดอลลาร์

The Bangkok Insight

อัพเดต 26 เม.ย. 2562 เวลา 04.35 น. • เผยแพร่ 26 เม.ย. 2562 เวลา 04.29 น. • The Bangkok Insight
จีนล็อบบี้อาเซียนใช้เงินหยวน หวังลดอิทธิพลดอลลาร์

สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และบรรดาชาติพันธมิตรในเอเชียตะวันออก หารือถึงการเพิ่มเงินเยน และหยวน เข้าไว้ในเครือข่ายสวอปค่าเงิน การเคลื่อนไหวที่จะช่วยลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์อย่างมาก พร้อมเพิ่มอิทธิพลให้กับเศรษฐกิจจีนด้วย

เว็บไซต์นิกเคอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่า 10 ชาติสมาชิกอาเซียน พร้อมด้วยจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะหารือถึงข้อเสนอในการเปลี่ยนแปลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีคลัง และนายธนาคารกลาง ที่ฟิจิ ในวันที่ 2 พฤษภาคมนี้

จีน ซึ่งจะนั่งเป็นประธานการประชุมร่วมกับไทย ได้เพิ่มข้อความเข้าไปในร่างแถลงการณ์ร่วม โดยระบุถึง การใช้สกุลเงินท้องถิ่นในตระกร้าเงิน ในฐานะ “ทางเลือกหนึ่ง” เพื่อยกระดับข้อตกลงนี้

ทั้งนี้ การเปิดทางให้สมาชิกสามารถเข้าถึงสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ในกรณีฉุกเฉินได้นี้ อาจเป็นการสนับสนุนให้เกิดการใช้สกุลเงินเอเชียในด้านอื่นๆ ด้วย รวมถึง ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ซึ่งแนวคิดนี้ยังคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้สกุลเงินเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นในระยะยาวในการลงทุนและการค้าในภูมิภาค

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับจีน ซึ่งมองการเพิ่มสกุลเงินดังกล่าวว่าเป็นอีกก้าวหนึ่ง สำหรับการทำให้เงินหยวนเป็นสกุลเงินระดับโลก และเป็นการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนภายในภูมิภาคนี้

อย่างไรก็ดี ข้อเสนอดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเกิดความซับซ้อนมากขึ้น จากการที่สหรัฐออกมาส่งสัญญาณเตือน กรณีจีนจะเพิ่มบทบาทในสกุลเงินของตัวเองด้วยการสร้างความเสียหายให้กับเงินดอลลลาร์

ข้อมูลจากสมาคมเพื่อการสื่อสารทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก ซึ่งเป็นกลุ่มผู้จัดหาบริการสื่อสารระหว่างธนาคารทั่วโลก หรือที่รู้จักกันในชื่อสวิฟท์ แสดงให้เห็นว่า ดอลลาร์ยังเป็นสกุลเงินที่ได้รับความนิยม สำหรับการชำระเงินระหว่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนราว 45.6% ของมูลค่าการทำธุรกรรมโดยรวม ส่วนเงินหยวน คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1.2% เท่านั้น และเงินเยนที่ 4.3%

สำหรับญี่ปุ่นนั้น หากมีการเพิ่มเงินเยนเข้าไปในตระกร้าเงินจริง ก็จะได้รับประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างมาก โดยในปัจจุบัน ราว 45% ของยอดส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชีย ใช้เงินเยนเป็นสกุลเงินในการซื้อขาย ซึ่งถ้าสามารถขยายวงให้กว้างมากขึ้น ก็จะช่วยให้บริษัทญี่ปุ่นมีความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศน้อยลง เมื่อทำธุรกิจภายในภูมิภาค

ทั้งนี้ มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 มีเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยวิกฤติค่าเงินเอเชีย ปี 2540 ซึ่งภายใต้กรอบการดำเนินงานของมาตรการนี้ ประเทศต่างๆ ที่มีปัญหาทางการเงิน จะสามารถเข้าถึงเงินทุนสกุลดอลลาร์ ที่สามารถนำไปเทขายเพื่อกระตุ้นค่าเงินที่อ่อนค่าลงอย่างมาก แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการนำเงินทุนนี้ออกมาใช้แต่อย่างใด

การผลักดันให้เพิ่มสกุลเงินอื่นๆ เข้าไปด้วยนั้น มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มระดับชั้นของเครือข่ายความปลอดภัย กรณีที่เกิดวิกฤติขึ้นมา โดยทั้งเงินเยน และหยวน ต่างถูกเพิ่มไว้ในการทำข้อตกลงสวอปค่าเงินแบบทวิภาคึ กับประเทศที่ลงนามในมาตรการนี้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถ้าเพิ่มไว้ในมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ได้ ก็จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้มากขึ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0