โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จีนต่อเสาหอคอยจำลอง ‘การลงจอดบนดาวอังคาร’ เตรียมส่งจรวดทะยานสู่ดาวเคราะห์สีแดงปีหน้า

Xinhua

เผยแพร่ 14 พ.ย. 2562 เวลา 13.43 น.
จีนต่อเสาหอคอยจำลอง ‘การลงจอดบนดาวอังคาร’ เตรียมส่งจรวดทะยานสู่ดาวเคราะห์สีแดงปีหน้า

ปักกิ่ง, วันที่ 14 พ.ย. (ซินหัว) -- เมื่อวันพฤหัสบดี (14 พ.ย.) จีนเปิดเผยการทดลองจำลองกระบวนการบินลอยตัว หลบหลีกอุปสรรค และลงจอดบนพื้นผิวของดาวอังคารของยานลงจอด

การทดลองครั้งนี้จัดขึ้นบนพื้นที่ทดลองในอำเภอหวยหลาย มณฑลเหอเป่ยทางตอนเหนือของจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ทดลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียที่ใช้สำหรับการทดสอบการลงจอดบนพื้นผิวนอกโลก

องค์การอวกาศแห่งชาติ (CNSA) ของจีน เปิดเผยว่าจีนมีแผนเปิดตัวยานสำรวจดาวอังคารในปี 2020 โดยมุ่งเป้าที่จะโคจร ลงจอด และสำรวจให้สำเร็จภายในหนึ่งภารกิจ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่ยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน

การลงจอดบนดาวอังคารโดยปลอดภัย เป็นหนึ่งในโจทย์ที่ท้าทายที่ในการจัดการภารกิจครั้งนี้

ในการทดลองครั้งนี้ มีการทดสอบแบบของยานลงจอดผ่านการจำลองแรงดึงดูดของดาวอังคาร ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 3 ของแรงโน้มถ่วงบนโลก

จางหรงเฉียว หัวหน้านักออกแบบของภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีน กล่าวว่าหลังยานถูกปล่อยสู่ห้วงอวกาศ จะต้องใช้เวลาราว 7 เดือน กว่าจะถึงดาวอังคาร อย่างไรก็ตาม กระบวนการลงจอดครั้งสุดท้ายจะใช้เวลาเพียงประมาณ 7 นาที ซึ่งถือเป็นส่วนที่ยากและเสี่ยงที่สุดของภารกิจทั้งหมด

"สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของดาวอังคารในหลายๆ ด้านนั้นแตกต่างจากโลกอย่างมาก ประการหนึ่งคือค่าความเร่งโน้มถ่วง (Gravitational acceleration) ของดาวอังคารอยู่ที่ราว 1 ใน 3 ของโลก ดังนั้นเพื่อจำลองกระบวนการลงจอดภายใต้ค่าความเร่งโน้มถ่วงของดาวอังคาร เราจึงได้สร้างอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ขึ้น" จางกล่าว

อุปกรณ์ที่ใช้การทดสอบประกอบด้วยโครงสร้างหอคอยรูปประตู ระบบเซอร์โว (ระบบควบคุมที่ด้วยระบบไฟฟ้าคอนโทรลและเครื่องกล) และพื้นที่จำลองพื้นผิวดาวอังคาร  โดยเสาทั้ง 6 ต้น มีความสูง 140 เมตร ซึ่งช่วยให้มีพื้นที่เพียงพอในการจำลองกระบวนการลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคาร

พื้นที่สีแดงที่อยู่ตรงกลางเสาทั้ง 6 ต้น ถูกยึดด้วยสายเคเบิลเหล็กจำนวน 36 เส้น และด้วยการควบคุมที่แม่นยำ พื้นที่ตรงนี้จึงสามารถจำลองสภาพแวดล้อมความโน้มถ่วงของดาวอังคารสำหรับทดสอบยานลงจอดได้ และสามารถติดตามการเคลื่อนที่ของยานลงจอดได้อย่างแม่นยำ

บนพื้นใต้เสาหอคอย คณะวิศวกรได้สร้างทางลาดชันและหลุมอุกกาบาตเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมของพื้นผิวดาวอังคารให้สมจริง

การทดสอบครั้งนี้เป็นการตรวจสอบขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแยกตัวของยานลงจอดออกจากส่วนหลักของยานอวกาศที่ความสูง 70 เมตร จากนั้นบินเหนือพื้นผิวที่ความสูง 67 เมตร เพื่อหาจุดลงจอดที่ปลอดภัย แล้วจึงไต่ระดับลงไปที่ความสูง 20 เมตร เหนือพื้นผิว พร้อมเข้าสู่โหมดหลบหลีกสิ่งกีดขวาง

เอกอัครราชทูตและนักการทูตจากประเทศต่างๆ 19 ประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส อิตาลี และบราซิล รวมถึงผู้แทนจากสหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา และองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการทดสอบครั้งนี้

จางเค่อเจี้ยน เจ้าหน้าที่ขององค์การอวกาศฯ กล่าวว่านับตั้งแต่เริ่มเปิดตัวโครงการสำรวจดาวอังคารของจีนอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2016 โครงการฯ มีความก้าวหน้าเป็นอย่างดี โดยการทดสอบบินและหลบหลีกสิ่งกีดขวางของยานลงจอดครั้งนี้ถือเป็นกระบวนการสำคัญยิ่งของโครงการ

จางกล่าวว่าจีนได้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการสำรวจอวกาศอย่างแข็งขัน และจนถึงปัจจุบัน จีนได้ลงนามในพิธีสารความร่วมมือด้านอวกาศกว่า 140 ฉบับ ร่วมกับประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ถึง 45 แห่ง

เขาเสริมว่าจีนได้ร่วมมือกับประเทศฝรั่งเศส อิตาลี และบราซิล ในการพัฒนาดาวเทียมสำหรับสำรวจทรัพยากรมหาสมุทร พื้นโลก และดาราศาสตร์ รวมถึงการศึกษาเหตุเตือนภัยก่อนเกิดแผ่นดินไหว

ภารกิจฉางเอ๋อ-4 (Chang'e-4) ของจีน สะท้อนให้เห็นถึงความหวังของจีนในการหลอมรวมองค์ความรู้ในการสำรวจอวกาศ กับเครื่องไม้เครื่องมือ 4 ชุดที่บรรทุกขึ้นไป ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สวีเดน และซาอุดีอาระเบีย

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนเมษายน องค์การฯ แถลงถึงโอกาสในการร่วมมือกับโครงการฉางเอ๋อ-6 (Chang'e-6) และภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อย

ส่วนเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา จีนประกาศว่าจะเปิดให้ผู้ใช้ทั่วโลกสามารถใช้งานข้อมูลที่ส่งผ่านสายไฟเบอร์ออปติกขนาด 16 เมตร ที่ได้รับจากดาวเทียมเกาเฟิน-1 (Gaofen-1) และเกาเฟิน (Gaofen-6) ได้

“มาตรการทั้งหมดนี้ช่วยให้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ และทำให้สามารถผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้” นายจางกล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0