โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จำคุก 20 ปีอดีตผู้นำหญิงเกาหลีใต้ (คลิป)

new18

อัพเดต 11 ก.ค. 2563 เวลา 02.31 น. • เผยแพร่ 11 ก.ค. 2563 เวลา 00.45 น. • new18
จำคุก 20 ปีอดีตผู้นำหญิงเกาหลีใต้ (คลิป)
ศาลฎีกาเกาหลีใต้ ในกรุงโซล มีคำพิพากษาเมื่อวันศุกร์ (10 ก.ค.) ให้ลงโทษจำคุก อดีตประธานาธิบดีปาร์ค กึน-เฮ เป็นเวลา 20 ปี และปรับเป็นเงิน 20,000 ล้านวอน (521 ล้านบาท) ในคดีคอร์รัปชั่นอื้อฉาว ที่นำไปสู่การถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือ อิมพีชเมนต์ เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยโทษจำคุกสุดท้ายนี้ ลดลงจากคำตัดสินของศาลชั้นต้น ที่ให้คุมขังเธอรวม 32 ปี

ศาลฎีกาเกาหลีใต้ ในกรุงโซล มีคำพิพากษาเมื่อวันศุกร์ (10 ก.ค.) ให้ลงโทษจำคุก อดีตประธานาธิบดีปาร์ค กึน-เฮ เป็นเวลา 20 ปี และปรับเป็นเงิน 20,000 ล้านวอน (521 ล้านบาท) ในคดีคอร์รัปชั่นอื้อฉาว ที่นำไปสู่การถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือ อิมพีชเมนต์ เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยโทษจำคุกสุดท้ายนี้ ลดลงจากคำตัดสินของศาลชั้นต้น ที่ให้คุมขังเธอรวม 32 ปี

น.ส.ปาร์ค ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้ พ้นจากอำนาจในปี 2560 หลังจากประชาชนเดินขบวนประท้วงขับไล่ครั้งใหญ่ เมื่อมีข้อกล่าวหาว่าเธอและเพื่อหญิงคนสนิท รับเงินสินบนจากกลุ่มธุรกิจขนาดยักษ์ของประเทศ เพื่อแลกกับผลประโยชน์จากรัฐบาล

คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในเดือน เม.ย. 2561 ให้จำคุกปาร์คเป็นเวลา 24 ปี จากความผิดในข้อหารับสินบน และใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ แต่ต่อมาศาลขยายเวลาจำคุกเพิ่มอีก 12 เดือน และปรับ 20,000 ล้านวอน นอกจากนั้น คำสั่งฟ้องแยกอีกคดี ตามข้อหาปาร์ครับเงินจากสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ และละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง ศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 5 ปี และ 2 ปีตามลำดับ โดยให้ลงโทษเรียงต่อกันจากคดีก่อนหน้า ซึ่งหมายความว่า เธอต้องถูกคุมขังตามคำพิพากษาทั้งหมด 32 ปี
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะตุลาการศาลฎีกา กล่าวถึงเหตุผลประกอบการตัดสิน ในระหว่างการอ่านคำพิพากษา เมื่อวันศุกร์ว่า ปาร์คไม่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดี ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และก่ออาชญากรรม ซึ่งก่อให้เกิดความวุ่นวายครั้งใหญ่ ในกิจการของรัฐ พร้อมกับระบุเหตุผลการลดโทษระยะเวลาจำคุกลงว่า เนื่องจากปาร์คดูเหมือนจะได้รับผลประโยชน์ส่วนตัวเพียงเล็กน้อยจากการทุจริต

อดีตผู้นำหญิง ประท้วงไม่ไปศาล เพื่อรับฟังคำตัดสินของศาลฎีกา เช่นเดียวกับการตัดสินของศาลชั้นต้น มีเพียงการไต่สวนพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ช่วงแรกๆ เพียงไม่กี่ครั้ง ที่เธอไปปรากฏตัวในห้องพิจารณาคดี.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0