โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"จาตุรนต์" เตือนคิดประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมง คนจน-คนตกงาน จะอยู่ยังไง ชี้ตั้งเข้ม-อ่อน เป้าหมายต้องชัด!

มติชนสุดสัปดาห์

อัพเดต 07 เม.ย. 2563 เวลา 06.25 น. • เผยแพร่ 07 เม.ย. 2563 เวลา 06.25 น.
92347585_10158283219332359_4753654594733604864_o

วันที่ 7 เมษายน 2563 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาแสดงความเห็นต่อสถานการณ์ควบคุมการระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางกระแสข่าวเตรียมการยกระดับการเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมง หากจำนวนผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นว่า

ถ้าจะประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมง จะต้องเตรียมการอย่างไร

ล่าสุดที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงกับการที่มีข่าวว่าจะมีการประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงดูจะไม่ค่อยไปด้วยกันเท่าไหร่

ผู้ที่รู้สึกว่าไหนๆก็ใช้พรก.แล้ว ก็ใช้ยาแรงให้รู้แล้วรู้รอดไป อาจจะอยากให้ประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงหรือล็อคดาวน์แบบเข้มข้นไปเสียเลย แต่ประชาชนจำนวนมากก็ดูจะไม่ค่อยแน่ใจว่ามาตรการอย่างนี้จะมีประโยชน์จริง แต่ที่สำคัญก็คือกลัวว่าถ้าประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงขึ้นมาจริงแล้ว เกรงว่าจะโกลาหลวุ่นวายและเดือดร้อนกันมากขึ้นไปอีก

ผมไม่ได้กำลังเสนอให้ประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะถ้าทำแบบไม่มีการวางแผนเตรียมการที่ดี อาจจะเสียมากว่าได้

แต่มีการวิเคราะห์กันว่าอาจมีการประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงก่อนและหลังสงกรานต์นี้เพื่อไม่ให้มีการเดินทางและพบปะกันมากๆ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้และมีเหตุผลอยู่เหมือนกัน ส่วนการใช้วิธีล็อคดาวน์เข้มข้นถ้าไม่ใช้ในช่วงนี้ ต่อไปถ้าสถานการณ์แย่ลงอีก ก็อาจจำเป็นต้องนำมาใช้ หลายประเทศที่คุมสถานการณ์ได้ค่อนข้างดี ผ่านไประยะหนึ่งก็ยังต้องกลับมาใช้

จึงควรมีการเตรียมการรองรับการล็อคดาวน์แบบเข้มเข้นก่อนที่จะประกาศใช้มาตรการ

ที่สำคัญอันดับแรกอาจเริ่มต้นด้วยคำถามว่า”มาตรการล็อคดาวน์เข้มข้น คนจนจะอยู่กันอย่างไร?”

ต้องการดูแลผลกระทบทางเศรษฐกิจ ดูแลคนตกงานหยุดงาน ขาดรายได้ให้สามารถอยู่ได้

ที่เห็นประเทศอื่นเขาเตรียมกันก็คือระบบลอจิสติคส์สำหรับการอุปโภคบริโภคที่จำเป็น การผลิตและบริการที่จำเป็น ระบบขนส่งและการเดินทางสำหรับผู้ที่จำเป็น

มีการกำกับดูแลการทำอาหารและการส่งอาหารและสินค้าที่จำเป็นให้เป็นไปอย่างถูกสุขลักษณะ

ประชาชนแต่ละครอบครัวสามารถออกไปซื้อหาอาหาร ได้โดยไม่ต้องไปแออัดกันที่ห้างร้าน เดินออกกำลังใกล้บ้านได้และออกไปทำธุระที่จำเป็นจริงๆได้

จัดส่งหน้ากากอนามัยถึงบ้านประชาชนทุกครัวเรือนให้มีใช้อย่างเพียงพอหรือจัดการให้หาซื้อได้ใกล้บานได้หรือไม่

มาตรการที่กระทรวงมหาดไทยสั่งให้จังหวัดต่างๆหมู่บ้านน่าจะเป็นพื้นฐานที่ดี แต่สำหรับพื้นที่แบบกรุงเทพหรือเมืองใหญ่ทั้งหลายจะจัดระบบอย่างไร

ยังต้องรณรงค์เรื่อง Social distancing อย่างจริงจัง ควรมีคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การรักษาสุขภาพกายใจให้แข็งแรง การป้องกันการติดเชื้อในระหว่างที่ประชาชนอยู่บ้าน ถ้ารู้สึกมีอาการ สงสัยว่าอาจติดเชื้อรู้ว่าจะติดต่อใคร ไปตรวจที่ไหนและควรจะได้ตรวจอย่างรวดเร็ว

สิ่งเหล่านี้ต้องวางแผนจัดระบบและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ล่วงหน้าเพื่อจะได้ไม่เกิดการตื่นตระหนก หวาดกลัว(มีตัวอย่างเช่นที่ทำในสิงคโปร์และญี่ปุ่น)

ระหว่างล็อคดาวน์เข้มข้นนี้ มาตรการทางสาธารณสุขเพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อต้องเข้มข้นและมีประสิทธิภาพขึ้นทั้งการสอบสวนสืบหาผู้ติดเชื้อ การตรวจ คัดกรอง การกักตัว และที่สำคัญคือการเพิ่มสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การล็อคดาวน์ไม่ว่าอย่างเข้มหรืออย่างอ่อนหรืออย่างครึ่งๆกลางๆแบบที่เป็นอยู่ ควรจะต้องมีเป้าหมายและแผนการว่าต้องการเดินหน้าไปสู่อะไร ถ้าล็อคดาวน์แบบเข้มข้นคิดว่าจะใช้เวลานานเท่าไรจึงจะสามารถผ่อนคลายมาตรการต่างๆและจะทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไร (ตัวอย่างล่าสุดเช่นที่ออสเตรีย)

ถ้าติดตามสถานการณ์ในบางประเทศที่คุมสถานการณ์ได้พอสมควรแล้วก็ตาม การดำเนินกิจการต่างๆก็ดี การทำงานและการใช้ชีวิตจะไม่กลับไปเหมือนเดิมก่อนโคโรนาไวรัสระบาดแล้ว แต่จะเปลี่ยนไปอย่างมาก (เยอรมันนีกำลังจะปลดล็อคดาวน์และเตรียมกำหนดระเบียบต่างๆแล้ว)

ปัญหาโควิด19 อาจจะจะยังอยู่กับโลกไปอีกนานเป็นปีๆ สังคมไทยจะเตรียมตัวสำหรับวิถีชีวิตแบบใหม่นี้อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องคุยกันต่อครับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0