โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

จับตาเศรษฐกิจโลก หลัง”ญี่ปุ่น-เยอรมัน”หดตัว

Money2Know

เผยแพร่ 15 พ.ย. 2561 เวลา 05.35 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
จับตาเศรษฐกิจโลก หลัง”ญี่ปุ่น-เยอรมัน”หดตัว
สัญญาณเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและเยอรมนีประสบกับภาวะหดตัว1.2% และ0.2% ตามลำดับในไตรมาสที่3 ของปีนี้หลังเผชิญกับปัญหาผลกระทบจากสงครามการค้ามากขึ้นญี่ปุ่นมีการส่งออกที่หดตัวลง1.8% ขณะที่เยอรมนีมีการส่งออกหดตัวลง0.2 % 

กลุ่มสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มอุปกรณ์เครื่องจักร เนื่องจากสถานการณ์ส่งออกที่ติดลบในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน

โดยที่ญี่ปุ่นที่มีการพึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศ 60% จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเกิดหดตัวลงเช่นเดียวกัน ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะดีดตัวดีขึ้นในไตรมาสสุดท้าย แต่จะเป็นอัตราที่ชะลอตัวลง โดยที่นักวิเคราะห์มองว่า ผลกระทบของสงครามการค้าจะยังคงมีแรงกดดนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป

ทั้งนี้ ทางการญี่ปุ่นได้เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ไตรมาส 3 ปี 2018 หดตัวลง 1.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี จากการได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ โดยการบริโภคของประชาชนหดตัว 0.1% เนื่องจากการใช้จ่ายในภาคธุรกิจโรงแรม การรับประทานอาหารนอกบ้าน และการโดยสารทางเครื่องบินลดลง นอกจากนี้ ราคาผัก ผลไม้ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ชาวญี่ปุ่นต้องรัดเข็มขัดกันมากขึ้น

โดยเฉพาะการส่งออกได้รับผลกระทบหนักมีการหดตัวลง 1.8% ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่กลางปี 2017 เนื่องจากสงครามการค้าที่เกิดขึ้นได้ส่งผลต่ออุปสงค์ความต้องการรถยนต์ และสินค้าที่เกี่ยวกับกลุ่มเทคโนโลยี รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องจักรกลจากต่างชาติลดลง ขณะที่การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวขาเข้าลดลงด้วย จากการที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติหลายครั้งในช่วงดังกล่าว

ขณะที่เศรษฐกิจเยอรมนีจะสามารถฟื้นตัวกลับมาในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ ถึงแม้ว่า จีดีพีไตรมาส 3 จะหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ตกต่ำลงถึง 24% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

โดยธนาคารกลางเยอรมนี หรือ Bundesbank เตือนว่า การหดตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับเยอรมนีอาจจะส่งผลต่อยุโรปในฐานะที่เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่นเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ จากการที่จีดีพีของเยอรมนีมีการหดตัวลง 0.2% ในไตรมาส 3 ปีนี้  โดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของจังหวะเปลี่ยนผ่านของ Brexit ในการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรปที่กำลังจะเกิดขึ้น

ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนกลัวว่าเยอรมนีอาจจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่สำหรับรัฐมนตรีเศรษฐกิขเยอรมนีกลับให้ความมั่นใจว่า จีดีพีของเยอรมนีในไตรมาส 4 นี้จะกลับมาเติบโตอีกครั้ง

ถึงแม้ว่า เยอรมนีมีการส่งออกที่หดตัวลง 0.2% ในไตรมาส 3 นั่นเป็นผลจากการที่ความต้องการรถยนค์ในตลาดโลกชะลอตัวลง แต่สถานะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังคงแข็งแกร่ง จะสนับสนุนให้จีดีพีดีดตัวกลับขึ้นมาอีกครั้งจนถึงช่วงปลายปีนี้

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจใหญึ่เป็นที่ 3 ของโลก โดยมีมูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 4.87 ล้านล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วน 6.1% ของผลผลิตโลก ส่วนเยอรมนีมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นที่ 4 โดยมีมูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 3.68 ล้านล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วน 4.6% ของผลผลิตโลก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0