โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

จับตาเทรนด์ปี 2019 “วิกฤติ-โอกาส”ของธุรกิจและคนทำงาน

Money2Know

เผยแพร่ 19 มี.ค. 2562 เวลา 12.58 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
จับตาเทรนด์ปี 2019 “วิกฤติ-โอกาส”ของธุรกิจและคนทำงาน

แนวโน้ม หรือ เทรนด์ ใหม่ ๆที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้ ยังเป็นสิ่งที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด บทวิเคราะห์ "จับตาเทรนด์ความยั่งยืนที่น่าสนใจปี 2019" โดย พัทธ์ธีรา วงศราวิทย์ฝ่ายพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ประเมิน 3 เทรนด์ใหญ่แห่งปี มีดังนี้

ในปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ได้ส่งผลกระทบต่อประชาคมโลกในหลากหลายมิติ และเป็นประเด็นท้าทายที่ทุกฝ่ายยังคงต้องจับตามองในปีนี้ บทความฉบับนี้ขอนำเสนอ3เทรนด์ความยั่งยืนที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2019

เทรนด์ 1: ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(climate change) ยังคงเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สร้างความวิตกกังวลให้กับภาครัฐและประชาคมโลกจากรายงานThe Global Risks Report 2019 ของWorld Economic Forum ระบุว่าความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาclimate change เป็นหนึ่งในความเสี่ยงสำคัญที่อยู่ใน5 ลำดับแรกทั้งในเชิงของผลกระทบ(impact) และโอกาสที่จะเกิด(likelihood)

ความล้มเหลวในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประชาคมโลกอาจทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง5 องศาเซลเซียสภายในปลายศตวรรษนี้ซึ่งระดับอุณหภูมิที่สูงขึ้นดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศทั่วโลกเช่นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าและมหาสมุทรตลอดจนระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอาจมีผลต่อที่อยู่

เทรนด์ปี2019
เทรนด์ปี2019

อาศัยการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดและความมั่นคงทางอาหารของประชากรทั่วโลกโดยในปี2017 ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีผลมาจากclimate change ได้สร้างความเสียหายต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารของประชากรกว่า39 ล้านคนใน23 ประเทศ

เพื่อตอบสนองต่อความรุนแรงของปัญหาclimate change ภาครัฐและองค์กรระดับโลกจึงร่วมกันผลักดันนโยบายและมาตรการต่างๆที่จะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเป็นรูปธรรมเช่นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน(ระบบขนส่งผลิตไฟฟ้าและการก่อสร้าง) ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเอื้อต่อการก้าวไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำการกำหนดนโยบายที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำซึ่งรวมไปถึงการสนับสนุนด้านงบประมาณการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสีเขียวเพื่อให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตลอดทั้งกระบวนการรวมถึงการสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูลด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคธุรกิจจากแรงผลักดันต่างๆข้างต้น

ภาคธุรกิจจึงต้องตระหนักถึงทิศทางในการผลักดันไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำจากภาครัฐและองค์กรในระดับโลกเพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับกระบวนการทางธุรกิจให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจดังนี้

  • ประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบของปัญหาclimate change อย่างรอบด้านโดยพิจารณาว่าผลกระทบจากclimate change เช่นสภาพที่ตั้งหรือพื้นที่ที่มีการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นหรือไม่บริษัทอาจมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นหรือไม่หากมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมถึงเป้าหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่นเป้าหมายการลดการใช้พลังงานการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนจะทำให้บริษัทสามารถกำหนดทิศทางในการบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในกระบวนการธุรกิจควรเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำมาใช้ในกระบวนการมากขึ้นเพื่อให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเป็นรูปธรรม
  • กำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร(Internal Carbon Pricing)การกำหนดราคาคาร์บอนคือการกำหนดมูลค่าของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นตัวเงิน(monetary value) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจสามารถประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับclimate change ช่วยในการตัดสินใจลงทุนและวางแผนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำได้อย่างเหมาะสม
  • เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปัจจุบันแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืนซึ่งรวมไปถึงการลงทุนในอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกพร้อมทั้งแนวทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับเม็ดเงินลงทุนและยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียอีกด้วยเทรนด์2: พฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการใช้งานแต่ไม่เน้นครอบครอง**

เทคโนโลยีดิจิทัลและInternet of Things (IoT) รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนในสังคมทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคหันไปใช้วิธีการเข้าถึงสินค้าและบริการในรูปแบบการเช่าและการจ่ายเมื่อใช้งาน‘ (pay-per-use)มากขึ้นแทนการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าบริการนั้นมาครอบครองเช่นNetflix บริการสตรีมมิงที่ผู้บริโภคสามารถใช้รับชมภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ต่างๆกลายเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากกว่าการซื้อแผ่นซีดีหรือดีวีดีหรือสตาร์ทอัพที่ให้บริการเช่าจักรยานเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศจีนสะท้อนถึงความนิยมในการเข้าถึงสินค้าและบริการด้วยรูปแบบการเช่าได้เป็นอย่างดี

โมเดลธุรกิจดังกล่าวเป็นหนึ่งโมเดลธุรกิจที่ช่วยตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือCircular Economy ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุการออกแบบผลิตภัณฑ์การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการที่เกี่ยวข้องตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์เพื่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและนำมาสู่การปราศจากของเสียและมลพิษตลอดทั้งกระบวนการของสินค้าและบริการ (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Circular Economy ได้ที่ https://www.set.or.th/sustainable_dev/th/sr/knowledge/files/articles/2018_vol4_01_CircularEconomy2.pdf) ซึ่งรูปแบบธุรกิจการเช่าหรือการจ่ายเมื่อใช้งานนี้ช่วยลดภาระผู้ซื้อในการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์ช่วยลดการซื้อที่ไม่จำเป็นและทำให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดปัจจุบันจึงเริ่มมีผู้ผลิตที่พัฒนาโมเดลธุรกิจนี้เพิ่มเติมขึ้นจากธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการตามปกติเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค

เทรนด์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคและสร้างตลาดใหม่ๆซึ่งผู้ผลิตต้องจับตามองและนำมาทบทวนว่าสินค้าและบริการของตนจะได้รับผลกระทบหรือไม่และสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดจำหน่ายและการบริการให้ตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง

เทรนด์3: การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้สอดรับกับเทคโนโลยีและ ความต้องการในอนาคต

การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีต่างๆในช่วง3-5 ปีที่ผ่านมาได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตขณะเดียวกันก็เริ่มสร้างความกังวลต่อตลาดแรงงานและการจ้างงานทั่วโลกซึ่งจากผลการสำรวจในรายงานThe Future of Job Report 2018 ของWorld Economic Forum ระบุว่าภายในปี2022 กว่า75% ของบริษัทต่างๆทั่วโลกมีแนวโน้มจะนำเทคโนโลยีเช่นBig data Analytics, Web-enabled market, Internet of Things (IoT), Cloud computing มาใช้ในกระบวนการธุรกิจเพิ่มมากขึ้นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการขณะเดียวกันแนวโน้มดังกล่าวได้ทำให้เกิดข้อกังวลถึงการเลิกจ้างและการว่างงานปริมาณมหาศาลในกิจกรรมที่สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานคนได้

  • แม้จะมีตำแหน่งงานและกิจกรรมที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีอย่างไรก็ตามกลุ่มบุคลากรที่มีทักษะในกลุ่มงานที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีเช่นการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนานวัตกรรมการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันจะเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกับทักษะที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์(human skill) เช่นการให้บริการความคิดสร้างสรรรค์(creative thinking) ภาวะผู้นำ(leadership) มีแนวโน้มที่ยังคงเป็นที่ต้องการต่อไป

  •  

 

การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะให้แก่ทรัพยากรบุคคลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งทั้งต่อบุคลากรเองและต่อองค์กรพนักงานที่ได้รับการพัฒนาทักษะที่สอดรับกับความต้องการในอนาคตจะมีโอกาสในการก้าวสู่ตำแหน่งงานที่ได้ใช้ทักษะสูงขึ้นและได้รับค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นขณะที่องค์กรก็สามารถสร้างบุคลากรให้เพียงพอที่จะรองรับการปรับตัวทางธุรกิจและลดความเสี่ยงการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะตามที่บริษัทต้องการทั้งนี้องค์กรต้องเริ่มประเมินว่าทักษะประเภทใดที่มีความจำเป็นต่อการเติบโตขององค์กรปัจจุบันพนักงานขององค์กรมีทักษะตามที่องค์กรต้องการแล้วหรือไม่เพื่อให้สามารถวางแผนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรได้อย่างเหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงขณะเดียวกันองค์กรต้องพิจารณาด้วยว่ากิจกรรมทางธุรกิจใดที่อาจถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีหรือเครื่องจักรและจะส่งผลกระทบต่อบุคลากรในตำแหน่งใดบ้างบริษัทควรวางแผนในการโยกย้ายบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะในสายงานใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมให้พนักงานสามารถปรับเปลี่ยนcareer path และมีโอกาสเติบโตในสายงานอื่น

ภาคธุรกิจจำเป็นต้องตระหนักถึงเทรนด์ด้านความยั่งยืนเหล่านี้และปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้ตอบสนองต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0