โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จับชาวอเมริกัน ลับลอบทำไร่กัญชาเถื่อนในเมียนมากว่า 50 ไร่

MThai.com

เผยแพร่ 26 เม.ย. 2562 เวลา 06.32 น.
จับชาวอเมริกัน ลับลอบทำไร่กัญชาเถื่อนในเมียนมากว่า 50 ไร่
ตำรวจตรวจพบไร่กัญชาเถื่อนในเมียนมา

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานข่าว กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเมียนมาบุกตรวจไร่เถื่อนบนพื้นที่กว่า 50 ไร่ในนครมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของเมียนมา และพบว่ามีการลักลอบทำไร่กัญชากว่า 50 ไร่ และปลูกกัญชาไว้กว่า 350,000 ต้น รวมถึงมีกัญชาหลายต้นที่มีความสูงกว่า 2 เมตร นอกจากนี้ยังพบเมล็ดกัญชากว่า 300 กิโลกรัม และกัญชาที่ผ่านการแปรรูปแล้วอีก 270 กิโลกรัม

ทั้งนี้รายงานระบุว่ามูลเหตุที่นำไปสู่การจับกุมครั้งนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากก่อนหน้านี้มีการโพสต์ภาพที่ถ่ายในไร่กัญชาแห่งนี้ผ่านทางเฟซบุ๊ก และมีการแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์อย่างแพร่หลาย ทำให้เจ้าหน้าที่ สามารถจับชายชาวอเมริกันได้ 1 คน และชาวเมียนมาอีก 2 คน โดยมีการตั้งข้อหาฐานละเมิดกฎหมายยาเสพติดและควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ในเมียนมา

</a> กัญชา
กัญชา

อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหารายหนึ่งเป็นชาวอเมริกันมีชื่อว่าจอห์น เฟรดริก โทโดโรกิ อายุ 63 ปี ถูกควบคุมตัวพร้อมกับชาวพม่าสองคนคือนายยู ชิน แลท วัย 37 ปี และนายหม่านชู่เลอม ยัตโน วัย 23 ปี ซึ่งขณะนี้ผู้ต้องหาถูกกักตัวในเขตการปกครองของ Ngazun โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังตามหาตัวผู้ต้องสงสัยชาวอเมริกันอีก 1 คนคือนาย Alexander Skemp Todoroki วัย 49 ปีที่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อกับคดีนี้เช่นกัน

กฎหมายเกี่ยวกับ ‘กัญชา’ ในเมียนมา

กัญชาถูกขึ้นบัญชีให้เป็นสิ่งผิดกฎหมายในเมียนมาตั้งแต่ปี 2413 ซึ่งในขณะนั้นเมียนมายังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ แต่กระนั้นกัญชายังคงเป็นที่ต้องการในหมู่แรงงานชาวอินเดีย หลังจากนั้นในปี 2482 รัฐบาลพม่าในขณะนั้นจึงเปลี่ยนมารับรองการใช้กัญหาถูกฎหมาย และเก็บภาษีกัญชา

แต่ในปัจจุบัน ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ cannabis.info ระบุว่าการผลิตการขาย และการครอบครองผลิตภัณฑ์กัญชาทุกรูปแบบถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายในเมียนมา ส่วนการเพาะปลูกกัญชาเพื่อการสันทนาการนั้นก็ยังคงเป็นสิ่งผิดกฎหมายในเมียนมาเช่นกัน ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืน ก็อาจนำไปสู่การถูกลงโทษที่รุนแรงได้

https://seeme.me/ch/goodmorningthailand/9W5KX4

เทียบกฎหมายกัญชาในไทย

ในประเทศไทย “กัญชา” ถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดให้กัญชา เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เช่นเดียวกับพืชกระท่อม พืชฝิ่น

โดยมีการระบุว่า กัญชา มีสารออกฤทธิ์สำคัญ คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC)ซึ่งมีฤทธิ์ต่อสมอง ควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้เสพ ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้า เมื่อเสพจะต้องการปริมาณที่มากขึ้น ทำให้ความคิดอ่านช้า และสับสน ประสาทหลอน โดยเฉพาะการเสพกัญชาด้วยการสูบเพียง 4 มวน เท่ากับสูบบุหรี่ 20 มวน (1 ซอง) เสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าสูบบุหรี่ถึง 5 เท่า

แต่หลังจากนั้น เมื่อไม่นานมานี้ มีการออกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 ที่ระบุให้ “กัญชา” และ “กระท่อม” สามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคได้ ทำให้ประเทศไทยกลายได้ว่าเป็นชาติแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการวิจัยทางวิทยาศาตร์ได้ หลังจากมีการถกเถียงเรื่องกัญชาเสรีในไทยมาระยะหนึ่ง

</a> การใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ในสหรัฐฯ
การใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ในสหรัฐฯ

กฎหมายกัญชาในประเทศพัฒนาแล้ว

ในหลายประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องผ่านกระบวนการอันซับซ้อน กว่าจะเปลี่ยนให้ “กัญชา”กลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ยกตัวอย่างอย่างในสหรัฐฯ ที่ต้องรอนานกว่า 3 ทศวรรษ กว่าประชาชนจะสามารถใช้กัญชาเพื่อ “ความบันเทิง” ได้

แต่ในทุกวันนี้ ประชาชนในประเทศพัฒนาแล้วมากมาย อาทิ สหรัฐฯ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ ก็สามารถใช้กัญชาในทางการแพทย์ หรือเพื่อความบันเทิงได้อย่างถูกกฎหมาย เพราะนอกจากจะรักษาโรคได้แล้ว ยังสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ทำให้รัฐโกยภาษีมหาศาลเข้าประเทศ รวมถึงสามารถรับรายได้จากการท่องเที่ยว ส่งออก และในทางการแพทย์ได้อีกด้วย

ที่มา www.nytimes.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0