โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

จักษุแพทย์บำรุงราษฎร์ แนะผู้ประสบอุบัติเหตุบริเวณใบหน้า รีบรักษาไม่ใช่เพียงแค่ศัลยกรรม

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 11 พ.ย. 2562 เวลา 12.37 น. • เผยแพร่ 11 พ.ย. 2562 เวลา 12.37 น.
1573282886653

หลายคนมักเกิดข้อสงสัยว่า เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วกระทบกระเทือนกับบริเวณใบหน้าควรทำอย่างไร ซึ่งในกรณีเช่นนี้ แพทย์จะรีบวินิจฉัยว่าผู้ป่วยได้รับความกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย หรือได้รับความกระทบกระเทือนถึงระบบเส้นประสาทภายใน หรืออาจมีภาวะกระดูกหน้าหัก เบ้าตาแตก เปลือกตาฉีกขาด เลือดออกในจอประสาทตา จมูกหัก ขากรรไกรหัก หรือภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วย

ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจากการทำงาน โดนทำร้าย ถูกของแข็งปะทะเข้าบริเวณใบหน้า โดนสะเก็ดระเบิด ตกจากที่สูง หรือลื่นหกล้มแล้วบริเวณใบหน้าถูกกระแทกอย่างแรง ซึ่งเบื้องต้นต้องรีบมาโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์

“นพ.ณัฐวุฒิ วะน้ำค้าง” จักษุแพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างและระบบท่อน้ำตา ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญการและมีประสบการณ์ในการรักษา รวมถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ มีการอบรมในหลากหลายมิติและรอบด้านมากยิ่งขึ้น ทำให้การรักษาผู้ป่วยรายยาก ๆ ในปัจจุบันสามารถรักษาได้ เช่น หน้ายุบ เบ้าตาแตกทะลุ ตาหลุด เปลือกตาฉีกขาด จมูกหัก ขากรรไกรหัก หรืออาจกระทบต่อระบบเส้นประสาทในสมอง ที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยเพียงรายเดียวที่ประสบอุบัติเหตุขั้นรุนแรง

ทุกส่วนบนใบหน้าล้วนมีความสำคัญและมีความละเอียดอ่อนในการรักษาเป็นอย่างมาก ความยากของการรักษาคือ การทำงาน (function) ต่าง ๆ เช่น การมองเห็น การบดเคี้ยว ฯลฯ ที่ต้องทำให้ผู้ป่วยใช้งานได้ใกล้เคียงจากปกติและมีความสวยงามมากที่สุด วิธีการรักษาในอดีตจะแตกต่างจากในปัจจุบัน กล่าวถึงภาพรวมโดยทั่วไป ในอดีตหากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้น ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุและมีการเสียโฉมบนใบหน้า ส่วนใหญ่จะถูกส่งให้แผนกศัลยศาสตร์ทั่วไปเป็นแผนกที่ดูแลรักษาผู้ป่วยรายหนึ่ง ๆ หมดทั้งบนใบหน้า เนื่องจากในอดีตจักษุแพทย์รวมถึงแพทย์สาขาอื่นที่ศึกษาต่อขั้นสูงในด้านศัลยศาสตร์เฉพาะทางยังมีไม่มากนัก ซึ่งการรักษาในปัจจุบันจะมุ่งเน้นการรักษาโดยมีทีมแพทย์ที่จบเฉพาะทางในแต่ละสาขาร่วมกันวินิจฉัยเป็นทีม และรักษาโรคตามความชำนาญการและประสบการณ์ของแพทย์รายนั้น ๆ จึงทำให้ทราบถึงอาการเสี่ยงต่าง ๆ และสามารถแก้ไขปัญหาของอาการได้อย่างครอบคลุมและตรงจุด ส่งผลให้การรักษาในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“นพ.ณัฐวุฒิ” อธิบายเพิ่มเติมว่า สำหรับการรักษาในปัจจุบัน กรณีที่พบผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุขั้นรุนแรง เบื้องต้นจะถูกส่งตรงมายังแผนกฉุกเฉินเป็นอันดับแรก และด้วยระบบมาตราฐานสากลของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ปณิธานในการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหัวใจสำคัญ รวมถึงความพร้อมในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยอาการต่าง ๆ ตามเวลาเทียบเท่ามาตราฐานระดับโลก และมีการประสานกับทีมแพทย์แผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการรักษาในห้องผ่าตัดพร้อม ๆ กัน

ยกตัวอย่างรายที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ จะต้องมีทีมแพทย์เฉพาะทางชั้นสูง (multi specify) ประมาณ 4 – 6 สาขาวิชาชีพ เพื่อมาตรวจประเมิน วินิจฉัย และทำการรักษาผู้ป่วย ประกอบด้วย จักษุแพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างและระบบท่อน้ำตา (Orbital and Ophthalmic, Plastic and Reconstructive Surgery), แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา และจบเฉพาะทางสาขาวิชาโรคกล่องเสียง หลอดลม ศีรษะและคอ (Otolaryngology (Ear, Nose, Throat), Laryngology – Head & Neck Surgery), ทันตแพทย์ที่จบเฉพาะด้านการผ่าตัดศัลยกรรมขากรรไกรและใบหน้า (Maxillofacial Surgery), ศัลยแพทย์ระบบประสาท (Neurological Surgery), ศัลยแพทย์ตกแต่ง (Cosmetic & Reconstructive Surgery) และศัลยแพทย์ทั่วไป (Plastic Surgery) เป็นต้น

“นพ.ณัฐวุฒิ” กล่าวด้วยว่า สำหรับการรักษาผู้ป่วยในลักษณะดังกล่าว เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างมาก เนื่องจากแพทย์จะต้องดูทั้งในส่วนของการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพื่อให้กลับสู่ภาวะใกล้เคียงปกติมากที่สุด ร่วมกับความสวยงามภายนอกควบคู่กันไป เช่น กรณีเบ้าตาแตก แพทย์จะต้องเช็คดูระบบข้างในด้วยว่า มีเลือดออกที่จอประสาทตาหรือไม่ มีภาวะความเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่

ซึ่งต้องวิเคราะห์ร่วมกับแพทย์สาขาอื่น ๆ ร่วมด้วยว่าควรรักษาอาการใดก่อนหลังเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และกลับมามีอาการใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด หรือในกรณีที่ผู้ป่วยกระดูกขากรรไกรฉีกขาด แพทย์ก็ต้องรักษาเพื่อให้ฟันสบกันพอดี และสามารถกลับมาเคี้ยวอาหารได้เป็นปกติ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับเส้นประสาท เป็นต้น ซึ่งการรักษาที่เกริ่นไปข้างต้นนี้ ต้องอาศัยความชำนาญการและประสบการณ์ของแพทย์อย่างมาก โดยทีมแพทย์ทุกสาขาต่างก็ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยรวมถึงใส่ใจรายละเอียดในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อให้ผลของการรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ซึ่งนับเป็นข้อโดดเด่นของบำรุงราษฎร์ ที่มีการทำงานที่เป็นระบบมาตราฐานสากล เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยครบครัน ทีมแพทย์ที่มีความชำนาญการชั้นสูงและมีประสบการณ์ รวมถึงสหสาขาวิชาชีพที่ทำงานเป็นทีมด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยการให้บริการ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0