โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จะแยกความกังวล เครียด ตื่นตระหนกยังไง มาทำเช็คลิสต์กัน

Mango Zero

เผยแพร่ 31 มี.ค. 2563 เวลา 12.40 น. • Mango Zero
จะแยกความกังวล เครียด ตื่นตระหนกยังไง มาทำเช็คลิสต์กัน

ด้วยสภาวะของหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ทำให้หลายคนอยู่ในภาวะวิตกกังวล ซึ่งอาจลุกลามไปจนถึงขั้นเครียดเรื้อรัง และตื่นตระหนกกับทุกสิ่งรอบตัวได้ ถึงแม้ว่าทั้งสามคำนี้จะมีความใกล้เคียงกันมาก แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างที่สามารถแยกออกได้เฉพาะอย่างอยู่ แน่นอนว่าวิธีรับมือกับแต่ละอย่างก็ไม่เหมือนกันด้วย มาดูกันว่าข้เปรียบเทียบเหล่านั้นคืออะไร ต้องแก้แบบไหนจึงจะหาย 

ความกังวล

ความกังวลเกิดขึ้นเมื่อเราเริ่มคิดถึงความเป็นไปได้ในการเกิดเหตุการณ์เลวร้าย จากการกระทำของเรา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเลิกคิด แล้วก็กลับมาคิดซ้ำๆ  แน่นอนว่าความกังวลนั้นจะสามารถเปลี่ยนเป็นประโยชน์ได้ เมื่อเราหาหนทางที่จะเปลี่ยนมันหรือป้องกันผลลัพธ์ในทางร้ายไม่ให้เกิดขึ้น

ลักษณะเฉพาะ

  • เกิดขึ้นกับความคิดเพียงอย่างเดียว
  • คิดถึงผลลัพธ์ของสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น คาดการณ์ว่าต้องเป็นไปในทางลบ
  • สามารถหาย และกลับมาคิดใหม่ในเรื่องเดิมได้
  • ไม่มีผลกับทางด้านร่างกาย

วิธีการแก้ไข

  • จำกัดเวลากังวล : พยายามควบคุมเวลาสำหรับการกังวล เช่น ยอมให้กังวลกับเรื่องนั้น20 นาที หลังจากนี้ต้องไปทำอย่างอื่นต่อ หรือพยายามครุ่นคิดถึงเรื่องอื่นแทน เพื่อไม่ให้เป็นคนคิดลบเป็นนิสัยนั่นเอง
  • พยายามหาวิธีการแก้ไข: เมื่อรู้ว่าสิ่งที่กังวลคืออะไร ลองคิดถึงวิธีการแก้ไข หรือการป้องกันไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น
  • เขียนบันทึก: มีงานวิจัยกล่าวว่าการเขียนบันทึกถึงส่งที่อยู่ความคิดของเราจะช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลและการคิดซ้ำๆได้

ความเครียด

ความเครียด เป็นสิ่งที่เกิดคู่กับมนุษย์ตั้งแต่สมัยอดีตกาล เกิดขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติเวลามีสิ่งคุกคาม เหมือนการได้ยินเสียงผิดปกติ หรือมีสิ่งใดแปลกไปจากเดิม โดยจะมีการตอบสนองทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว อะดรีนาลีนหลั่ง อัตราการหายใจถี่ขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตือนทุกระบบในร่างกายให้รับรู้ถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นและเตรียมพร้อมได้ทันท่วงที

หากเกิดอาการเครียดในระยะสั้นๆ จะทำให้เรารู้สึกดี เพราะมีสารอะดรีนาลินและคอร์ติซอลไหลเวียนทั่วร่างกาย และทำให้เรามีพลังคล้ายโกงความตายขึ้นมาอีกหนึ่งฮึด เช่นการทำงานในช่วงชั่วโมงสุดท้ายของเดดไลน์ หรือการสัมภาษณ์งาน ซึ่งความเครียดแบบนี้จะหายไปเมื่องานนั้นๆ จบลงไป แต่หากเป็นความเครียดเรื้อรังจากปัญหาที่ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงอย่างง่ายๆ ก็ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และการย่อยอาหารได้

และไม่ต้องกังวลไปว่าจะเกิดความเครียด เพราะสิ่งนี้คือการตอบสนองอัตโนมัติทางร่างกาย เกิดขึ้นมา แล้วก็จบไป 😉

ลักษณะเฉพาะ

  • ควบคุมไม่ได้ มักเกิดขึ้นฉับพลัน เช่น ตกใจ หรือเกิดเรื่องตื่นเต้น
  • เกิดการตอบสนองทางร่างกาย หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจถี่
  • อาการจะหายไปเมื่อเหตุการณ์นั้นจบลง
  • หากเป็นเหตุการณ์สั้นๆ จะรู้สึกดี หากเป็นเรื้อรัง อาจส่งผลต่อการทำงานระบบต่างๆในร่างกายได้

วิธีการแก้ไข

  • ออกกำลังกาย : การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูจากการเพิ่มขึ้นของอะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ซึ่งทำให้เกิดความเครียดนั่นเอง
  • ทำความเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่ควบคุมได้หรือควบคุมไม่ได้อย่างตรงไปตรงมา: อย่าเอาเวลาไปใช้ในสิ่งที่รู้อยู่แล้วว่าจะไม่เปลี่ยนเลย พยายามปล่อยวาง และใช้พลังงานที่มีทั้งหมดไปกับการแก้ปัญหาในสิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้ดีกว่านะ
  • ไม่เปรียบเทียบความเครียดของตัวเองกับคนอื่น:  เราต่างถูกประกอบและเติบโตมาด้วยเรื่องราวที่แตกต่างกัน ไม่มีไม้บรรทัดที่ไหนสามารถวัดได้ว่าความเครียดใดเป็นความเครียดมากหรือน้อย เพราะคนหนึ่งคน รับมือกับความเครียดได้แตกต่างกัน

ความตื่นตระหนก

หากความกังวลและความเครียดเป็นอาการ ความตื่นตระหนกก็ถือเป็นขั้นสุด เพราะมีทั้งองค์ประกอบทางความคิด(ความกังวล) และการตอบสนองทางร่างกาย(ความเครียด) เรียกได้ว่าเกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อเราต้องรับมือกับความกังวลและความเครียดที่มากเกินไป

ความตื่นตระหนก เป็นการทำงานเพื่อตอบสนองกับภัยคุกคามที่ไม่มีอยู่จริง เริ่มจากความคิดซ้ำๆ จนทำให้กังวล ส่งผลกับร่างกายให้เกิดความครียด เตรียมรับมือกับสิ่งที่คิดว่าเป็นภัย ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด เพราะความจริงแล้วมันไม่มีอะไรเลย ส่วนใหญ่การตื่นตระหนกนี้จะหายไปเองเมื่อเราเริ่มคิดได้ถึงความเป็นจริง(ว่าไม่มีอะไรเลย!) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน แต่หากเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็อาจส่งผลให้กลายเป็นAnxiety Disoder ได้

ลักษณะเฉพาะ

  • ส่งผลทั้งร่างกายและจิตใจ
  • เกิดขึ้นไม่บ่อยต่อหนึ่งเรื่อง
  • สามารถหายได้เมื่อรู้ตัวว่าอะไรคือสิ่งกระตุ้น
  • มีโอกาสเป็นเรื้อรัง คือ Anxiety Disoder

วิธีการแก้ไข

  • จำกัดปริมาณน้ำตาลแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในแต่ละวัน: ความตื่นตระหนกทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนเครียดเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว หากบริโภคสิ่งเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ก็จะส่งผลกระทบกับร่างกายเพิ่มขึ้นอีก
  • ขยับเท้าสักเล็กน้อย: สังเกตนิ้วเท้าทั้งสองข้าง ปวดเมื่อยไหม ลองขยับนิ้วเท้าไปมาบ้าง เป็นอีกหนึ่งวีธีการเบี่ยงความสนใจ และบรรเทาความตื่นตระหนกลง
  • เปลี่ยนความคิดขณะที่กำลังตื่นตระหนกอยู่: ลอง(พยายาม)คิดว่าการเฝ้าครุ่นคิดหรือพูดถึงสิ่งนี้ไม่ช่วยให้ปัญหานั้นหายไปมองหาสิ่งที่จะหักเหความสนใจไปจากเรื่องนี้ ฟังเพลง กระโดดเชือกสักห้านาที หรือแม้แต่การดูซีรีส์ตลกๆสักเรื่องก็อาจช่วยได้

ในช่วงนี้อาจเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงทั้งสามสิ่งนี้ แต่ขอให้เราตั้งสติ หาวิธีรับมือกับสิ่งยากลำบากต่างๆที่เกิดขึ้น หรือเปลี่ยนความผิดพลาดเหล่านั้นเป็นบทเรียน เอย่างน้อยๆ เมื่อเรื่องนี้ผ่านพ้นไป อย่าน้องก็มีสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยน คือจิตใจและความเป็นผู้ใหญ่กว่าที่เคย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0