โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

จริงหรือที่ว่า เมื่อเงินเดือนเกินสองแสนขึ้นไปจะ “ไม่” ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น

HealthyLiving

อัพเดต 22 ก.พ. 2562 เวลา 20.03 น. • เผยแพร่ 22 ก.พ. 2562 เวลา 00.00 น. • Healthy Living
web_Money200k_600x600.jpg

หลายคนคงอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า“เงินซื้อความสุขไม่ได้ถ้ามันไม่มากพอ”

มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันสหรัฐอเมริกาได้เผยตัวเลขที่“มากพอ” ที่จะทำให้เราสามารถ“ซื้อ”ความสุขได้จริงๆนั่นคือการมีระดับรายได้อยู่ที่ประมาณ75,000 เหรียญต่อปีหรือราวๆสองแสนบาทต่อเดือน(ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะเงินเดือนขนาดนี้ไม่สุขก็แย่แล้ว) แต่ที่น่าแปลกใจก็คืองานวิจัยได้บอกว่าหากเราได้เงินเดือนมากไปกว่านี้ก็จะไม่ทำให้เรามีความสุขในชีวิตเพิ่มขึ้นหรือบางทีอาจจะน้อยกว่าที่เป็นอยู่ด้วยซ้ำ

อ้าวทำไมงั้น? แล้วแบบนี้เราจะทำงานหนักไต่เต้าบันไดแห่งความสำเร็จกันไปเพื่ออะไรละเนี่ย

75,000 เหรียญต่อปีตัวเลขมหัศจรรย์นี้มาจากไหน

เจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักจิตวิทยาชื่อดังAngus Deaton และDanial Kahnneman เจ้าของรางวัลโนเบลด้านเศรษฐศาสตร์โดยทั้งสองได้ทำการสำรวจนี้กับชาวอเมริกัน450,000 คน  โดยสุ่มถามไปเรื่อยๆถึงความสุขและความพอใจในชีวิตในช่วงที่ผ่านมาโดยพบว่าระดับรายได้ไม่ได้เกี่ยวพันกับความทุกข์สุขโดยตรงขนาดนั้น 

หากแต่เกี่ยวพันกับความกังวลและความเครียดในเรื่องการเงินส่วนบุคคลโดย51% ของผู้ตอบที่รายได้ต่ำกว่า1,000 usd (หรือ30,000 บาทต่อเดือน) บอกว่ารู้สึกเครียดกังวลและไม่มั่นคงในชีวิตในขณะที่ตัวเลขลดลงเหลือเพียง24% ในกลุ่มผู้ที่เงินเดือนมากกว่านี้โดยความกังวลด้านการเงินส่วนบุคคลนี้ได้ลดลงเหลือ0% เมื่อไล่ถามไปถึงกลุ่มที่มีรายได้ปีละ75,000 หรือราว220,000 ต่อเดือน

ฐานเงินเดือนแห่งความสุขช่วยดับทุกข์ได้แค่ภายนอก

ก่อนที่เราจะรีบรุดไปขอเจ้านายขึ้นเงินเดือน(หรือลดเงินเดือน) เพื่อให้มีความสุขเร็วๆเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความสุขนั้นมีอยู่สองแบบ 

แบบแรกคือความสุขที่เกิดจากอารมณ์หรือสิ่งที่มากระทบเราในแต่ละวันซึ่งความสุขแบบนี้สามารถขึ้นๆลงๆแปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมสิ่งเร้ารูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสต่างๆซึ่งพูดง่ายๆก็คือความสุขภายนอกนั่นแหละ

ในขณะที่อีกส่วนคือความสุขภายในนั้นเป็นความรู้สึกข้างในลึกๆในจิตใจว่าตัวเรามีความพอใจภูมิใจสุขใจกับชีวิตหรือสภาวะที่เราเป็นอยู่มากแค่ไหนซึ่งความสุขในรูปแบบนี้เป็นความรู้สึกที่ลึกซึ้งกว่าซึ่งรายได้เดือนละสองแสนบาทนั้นสามารถตอบสนองได้เพียงความสุขแบบแรกเท่านั้น

กล่าวคือมันเอื้อให้คนรายได้ระดับนี้รู้สึกได้ว่า“เงินไม่ใช่ปัญหา” หรือเมื่อมีปัญหาก็สามารถใช้เงินแก้ได้ในระดับหนึ่ง 

เงินแก้ได้แต่ไม่ใช่ทุกปัญหา

คุณพอลลี่ผู้อำนวยการใหญ่ของแผนกผู้มีเงินเดือนสองแสนตามค่าเฉลี่ยเป๊ะจับได้ว่าสามีแอบไปมีเมียน้อยเธอโศกเศร้าเสียใจหากอยากจะเปิดไวน์ขวดละหมื่นมาดื่มเพื่อดับทุกข์จากนั้นจองตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจไปซานโตรินีเพื่อเลียแผลใจแบบเงียบๆคนเดียวเธอก็สามารถทำได้เพราะเธอไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายเธออาจจะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นเมื่อได้ดื่มไวน์รสชาติดีสบายใจขึ้นเมื่อได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม 

อำพรพนักงานระดับปฏิบัติการเงินเดือนหมื่นกว่าบาท(รวมโอทีแล้ว)  จับได้ว่าแฟนมีกิ๊กเหมือนกันเธออยากจะจ่ายเงินเพื่อหาซื้อความสุขมาทดแทนในจังหวะที่ตัวเองมีความทุกข์บ้างก็อาจไม่สามารถทำได้เต็มที่เท่าพอลลี่หรือถ้าจะทำก็ต้องมานั่งคำนวณงบประมาณอย่างระมัดระวังจนทำให้เกิดทุกข์ซ้อนทุกข์ขึ้นไปอีก 

พริสซิล่าลูกสาวเจ้าของบริษัทที่ต้องเจอปัญหาแบบเดียวกันกับคนทั้งคู่โดยเงินเดือนในฐานะที่ปรึกษารวมถึงหุ้นของบริษัทที่เธอถือรวมๆกันแล้วมากกว่าเงินเดือนพอลลี่และค่าเฉลี่ยที่ผลวิจัยกล่าวหลายเท่าเมื่อเธอใช้เงินแก้ปัญหาแบบเดียวกับที่พอลลี่ทำเธอก็อาจจะไม่ได้มีความสุขที่มากไปกว่าพอลลี่เท่าไรนักเพราะอะไรที่เธอทำได้พอลลี่ก็สามารถทำได้ด้วยเงินของเธอเช่นเดียวกัน 

แต่ถามว่าใครจะหายโศกเศร้าจากความรู้สึกไม่มีค่าหรือความรู้สึกเจ็บปวดจากการถูกหักหลังจากคนที่รักได้เร็วกว่ากันนั่นไม่ได้อยู่ที่ระดับรายได้แต่อยู่ที่ความรู้สึกนับถือตัวเองลึกๆข้างในจิตใจล้วนๆ 

ซึ่งพอลลี่อำพรและพริสซิล่าก็มีสิทธิ์ในจุดๆนี้เท่ากันนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมเหล่าเศรษฐีหรือเจ้านายระดับตัวบอสทั้งหลายก็ยังคงมีความทุกข์ไม่ต่างกับชาวเราเท่าไรนัก

สุขจากภายในสุขแท้และสุขนาน

อ่านมาถึงตรงนี้หากใครที่มีเงินเดือนถึงสองแสนแล้วเราก็ดีใจด้วยที่คุณมาถึงจุดequilibrium หรือสมดุลแห่งความสุขตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้วละซึ่งจากนี้หากคุณต้องการที่จะมีความสุขที่ลึกซึ้งและจริงแท้มากขึ้น 

ลองใช้เงินที่คุณมีไปกับการสร้างประสบการณ์ที่จะเพิ่มพูนความสุขจากภายในเช่นเปลี่ยนจากเอาเงินไปซื้อข้าวของเป็นการซื้อเวลาเพื่อให้คุณได้มีเวลาทำสิ่งที่ตอบสนองความสุขลึกๆในจิตใจมากขึ้นเช่นจ้างลูกน้องมาทำงานแทนเพื่อให้ได้มีเวลาไปรับลูกที่โรงเรียนไปกินข้าวกับครอบครัว 

หรือทำงานอดิเรกที่คุณชอบมากขึ้นลงทุนกับสุขภาพและอาหาร(ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารราคาแพงเสมอไป) เพื่อบำรุงร่างกายและจิตใจของคุณให้แข็งแรงลงทุนกับสิ่งแวดล้อมดีๆประสบการณ์การท่องเที่ยวใหม่ๆตลอดจนถึงเพื่อนและคอนเนคชั่นที่มีคุณภาพเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับการรับมือปัญหาใหม่ๆในอนาคตที่เงินไม่อาจซื้อได้

หากใครที่เงินเดือนเกินสองแสนไปแล้วและมีความสุขดีก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรตั้งใจทำงานที่คุณรักและดำเนินชีวิตตามแบบของคุณต่อไปแต่หากรู้สึกตรงกันข้ามหรือยังทุกข์ๆขมๆลองลดความเร่งลงสักนิดหันมาใส่ใจสิ่งดีๆรอบตัวที่เราอาจหลงลืมไปและให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อตอบเป้าหมายภายในที่ไม่ใช่ตัวเงินมากขึ้นคุณอาจพบความสุขที่แท้จริงที่รอคุณอยู่ก็ได้

ส่วนใครที่เงินเดือนยังไม่ถึงสองแสนก็ไม่ต้องเครียดไปเพราะคุณยังมีกองบก. ทั้งกองและชาวโลกอีกกว่า99.9% เป็นเพื่อนคุณไปค่ะเลิกงานแล้วเปิดตี้หมูทะกัน!

 

อ้างอิง

http://content.time.com/time/magazine/article/0,9171,2019628,00.html

https://www.princeton.edu/~deaton/downloads/deaton_kahneman_high_income_improves_evaluation_August2010.pdf

https://www.numbeo.com/cost-of-living/rankings.jsp

http://www.globalrichlist.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0