โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

จงทำงาน บริหารเงิน อยู่ให้รอดตลอดปี 2020

The MATTER

อัพเดต 20 ม.ค. 2563 เวลา 13.32 น. • เผยแพร่ 20 ม.ค. 2563 เวลา 23.00 น. • Branded Content

ข้ามปี 2020 ไม่ทันไร ดูเหมือนเศรษฐกิจไทยส่อแววล้มลุกคลุกคลานพอสมควร

เห็นได้จากสถิติเงินบาทแข็งตัวที่สุดในรอบ 6 ปี ผู้ประกอบการปิดโรงงานกว่า 1,989 แห่ง ส่งผลกระทบต่อแรงงานกว่า 49,157 คน ในฐานะที่ยังเป็นมนุษย์ทำมาหากิน จึงจำเป็นต้องมีการบริหารเงินอย่างจริงจัง เพราะหากพลาดทีนึง อาจนำมาซึ่งความพังพินาศทางการเงิน

อย่างไรก็ตามเวลามีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินสด หลายคนกลับเลือกแนวทางการแก้ไขผิดๆ เช่น การเป็นหนี้นอกระบบ มองข้ามอีกหนึ่งแนวทางอย่างบัตรกดเงินสดที่สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องการเงินได้เหมือนกัน วันนี้เราจึงจะมานำเสนอแนวทางการรับมือกับปัญหาทางด้านการเงินฉบับอีซี่ๆ ที่จะช่วยให้รอดพ้นปี 2020 อย่างปลอดภัย แถมยังบวกความสุขให้กับชีวิตคุณ

2020 เตรียมเผชิญหน้าปัญหาเศรษฐกิจ

Falling, the businessman fell from the arrow
Falling, the businessman fell from the arrow

ไม่เฉพาะประเทศไทย แต่เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในสภาวะชะลอตัวมาตั้งแต่ปี 2014 นู้น แม้แต่ประเทศจีนเองก็เคยตกอยู่ในสภาวะการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 20 ปีมาแล้ว

ปี 2020 จึงเป็นปีที่ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีสัญญาณบ่งบอกมาจากปีที่แล้วว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตต่ำสุดในรอบ 12 ปี โดยปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวเพียง 2.5-2.6% เป็นการขยายตัวต่ำกว่า 3% ครั้งแรกในรอบ 5 ปี ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้น้อยลง และเริ่มก่อหนี้เพิ่มเพื่อประคองค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เศรษฐกิจอาจไม่ได้พังทลายลงทั้งหมด แต่ชีวิตมนุษย์อาจพังได้ หากเรายังไม่กระตือรือร้นในการบริหารจัดการเงิน หนทางการอยู่รอดในปีนี้จึงมีทางเดียวคือบริหารจัดการเงินอย่างจริงจังเสียที ซึ่งการบริหารจัดการที่ดีเริ่มต้นที่การรู้จักออมเงิน จัดทำแผนรายรับ-รายจ่ายอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เราได้รู้ว่าตัวเองมีสภาพคล่องทางการเงินเท่าไหร่ มีรายได้เท่าไหร่ หักเป็นเงินออมเท่าไหร่ และสามารถใช้จ่ายได้เท่าไหร่ นับเป็นพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทำได้นั่นเอง

หนี้นอกระบบ ปัญหาที่พบมากในสังคมปัจจุบัน

poor man showing his empty pockets on blue background vector illustration EPS10
poor man showing his empty pockets on blue background vector illustration EPS10

ความจริงที่น่ากลัวคือเราไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้ ถึงแม้จะวางแผนการเงินเป็นอย่างดี แต่วันหนึ่งก็อาจเกิดเหตุจำเป็นต้องใช้เงินสดที่แม้แต่บัตรเครดิตก็ช่วยคุณไม่ได้ ทำเอาแผนที่วางไว้ล้มลงพังไม่เป็นท่า น่าเศร้าที่หลายคนกลับเลือกแนวทางการแก้ไขผิดๆ อย่างการเป็นหนี้นอกระบบหรือหนี้ที่ไม่ได้กู้ยืมมาจากสถาบันการเงิน ซึ่งมีสถิติบอกว่าคนไทยเป็นหนี้กันมากขึ้น เร็วขึ้น และนานขึ้น

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยว่าในปี 2562 มีหนี้ครัวเรือนเฉลี่ย 340,053 บาทต่อครัวเรือน นับเป็นอัตราที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ โดยเป็นหนี้ในระบบ 59.2% และนอกระบบมากถึง 40.8% และหากจำกัดช่วงอายุต่ำกว่า 40 ปีจะพบว่า  มี 1 ใน 11 คนจะเป็นหนี้นอกระบบอยู่

การเป็นหนี้นอกระบบ แม้จะทำให้เราได้เงินสดมาใช้ทันที แต่ก็ต้องแลกกับภาระดอกเบี้ยแสนโหดที่จะเปลี่ยนหนี้ก้อนเล็กๆ ให้กลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ในระยะยาว แถมบางครั้งก็อาจเลวร้ายไปถึงการทวงคืนด้วยการเอารัดเอาเปรียบ ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย หรือร้ายแรงถึงชีวิตก็เป็นได้

บัตรกดเงินสด อีกหนึ่งทางรอดในยามฉุกเฉิน

เห็นสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้ก็เริ่มร้อนๆ หนาวๆ กันแล้วใช่ไหมล่ะ แต่เชื่อเถอะว่าถ้าเราวางแผนการใช้เงินดีๆ ปี 2020 ก็จะช่วยให้เรารอดได้อย่างปลอดภัย ยิ่งหากเรามีบัตรกดเงินสดพกติดตัวเอาไว้ ก็อุ่นใจได้ว่าเราจะมีเงินสำรองไว้ใช้แน่นอน

จะว่าไปแล้ว เราอาจเคยได้ยินภาพลักษณ์บัตรกดเงินสดว่าเป็นบัตรสร้างหนี้ แต่จริงๆ แล้วจะไม่ใช่ตัวสร้างหนี้เลยถ้ามีการวางแผนการใช้เงินอย่างชาญฉลาด เพราะบัตรกดเงินสดเป็นสินเชื่อประเภทหนึ่งที่สามารถใช้เบิกถอนเงินสดจากตู้ ATM แล้วนำไปใช้ได้ทันที เช่น เจ็บป่วยกระทันหัน ซื้อของที่จำเป็น หรือสิ้นเดือนเงินไม่พอใช้จริงๆ โดยคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกตามจำนวนวันที่ใช้จริง 

ข้อดีคือสามารถกดถอนเงินสดได้ที่ตู้ ATM โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าเหมือนกับบัตรเครดิต แต่ก็แลกกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในหมู่สินเชื่อทุกประเภท ฉะนั้นแล้วบัตรกดเงินสดจึงดาบสองคมที่จะดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ของเจ้าของบัตร ข้อแนะนำเพียงหนึ่งเดียวก็คือ ควรเก็บวงเงินนี้ไว้ใช้ยามจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

 

*พกไว้ให้อุ่นใจ รองรับทุกเรื่องไม่คาดฝันทางการเงิน *

การเลือกบัตรกดเงินสดติดกระเป๋าสักใบคงต้องไม่ใช่เลือกบัตรอะไรก็ได้ แต่เราควรเลือกบัตรจากบริษัทที่เป็นผู้นำด้านบัตรกดเงินสดอย่าง Umay+ อีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยแก้ปัญหาทางการเงินในช่วงเวลาที่ไม่คาดฝัน

ยกตัวอย่าง หากมีเหตุที่ต้องใช้เงินสด 50,000 บาท ระยะเวลา 30 วัน การถอนเงินสดจากบัตรเครดิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการถอนเงินสดล่วงหน้า 3% (1,500 บาท) บวกกับอัตราดอกเบี้ย 18% (739.73 บาท) เท่ากับว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการชำระดอกเบี้ย 2,239.73 บาท

กรณีเดียวกัน หากเรากดด้วยบัตรกดเงินสดไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่จะเสียแค่อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 19.8% ต่อปี (813.70 บาท) หรือสูงสุด 28% ต่อปี (1,150.68 บาท) เท่ากับว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการชำระดอกเบี้ยเพียง 813.70 บาท หรือ 1,150.68 บาท เท่านั้น ต่ำกว่าการกดเงินจากบัตรเครดิตแน่นอน

ปัจจุบัน Umay+ มีบัตรกดเงินสด 2 รูปแบบคือ “บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส” สำหรับพนักงานที่มีอายุงาน 1 เดือนและมีรายได้ประจำตั้งแต่ 7,000 บาทขึ้นไป โดยมีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินไม่เกิน 28% ต่อปี และ “บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส พรีเมียร์” สำหรับพนักงานผู้มีรายได้ประจำตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป โดยมีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินต่ำสุด 19.8% ต่อปี คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกตามยอดเงินที่ใช้จริง ไม่กดเงินสดก็ไม่เสียดอกเบี้ย

ที่สำคัญ สามารถเลือกจ่ายคืนได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นจ่ายขั้นต่ำ จ่ายมาก หรือจ่ายหมด โดยชำระขั้นต่ำเพียง 3% หรือไม่ต่ำกว่า 200 บาท ทำให้คุณสามารถจัดการบริหารเงินได้อย่างอิสระมากขึ้น และไม่เป็นดาบสองคมเหมือนบัตรประเภทอื่นๆ

ปี 2020 หนทางยังอีกยาวไกล อย่าลืมวางแผนการบริหารจัดการเงินไว้ล่วงหน้า เพื่อบวกความสุขให้กับชีวิตของคุณ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/30Eax95 หรือสมัครบัตรกดเงินสดได้ที่ https://bit.ly/36Y63fX

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.voicetv.co.th/read/9Lfv4Wr0A

https://www.ryt9.com/s/iq03/3065540

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/856350

https://www.moneyguru.co.th/credit-card/articles/วิธีใช้บัตรกดเงินสด-กดย/

Content by Sahatorn Petvitrojchai

Illustration by Yanin Jomwong

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0