โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

งานวิจัยชี้ ไวรัสอู่ฮั่น อาจมาจากงู

TODAY

อัพเดต 23 ม.ค. 2563 เวลา 08.47 น. • เผยแพร่ 23 ม.ค. 2563 เวลา 06.23 น. • Workpoint News
งานวิจัยชี้ ไวรัสอู่ฮั่น อาจมาจากงู

งานศึกษาใหม่จากวารสารไวรัสวิทยาทางการแพทย์ (the Journal of Medical Virology) พบว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ที่แพร่ระบาดในจีนอาจมีที่มาจากงู

การศึกษาได้รับความร่วมมือจากคณะนักวิทยาศาสตร์จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน สังกัดศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง, โรงพยาบาลในเครือมหาวิทยาลัยการแพทย์จีนกว่างซี, โรงพยาบาลรุ่ยคังในเครือมหาวิทยาลัยการแพทย์จีนกว่างซี, คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยหนิงโป และมหาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์อู่ฮั่น  โดยใช้วิธีเทียบรหัสพันธุกรรม (relative synonymous codon usage – RSCU) เพื่อเปรียบเทียบลำดับอาร์เอ็นเอ (RNA) หรือกรดไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid) ของสัตว์ชนิดต่างๆ

ผลการวิจัยพบว่าเชื้อ 2019-nCoV เกิดขึ้นจากการผสมกันระหว่างไวรัสโคโรนาในค้างคาวและไวรัสโคโรนาอีกชนิดที่ไม่ทราบแหล่งกำเนิด ผลการการผสมกันครั้งนี้ทำให้ไวรัสโปรตีนพัฒนาการจนนำมาสู่การแพร่พันธุ์และเกิดโรคได้ โดยทีมวิจัยยังได้ค้นพบหลักฐานว่าเชื้อ 2019-nCoV น่าจะอยู่ในงูก่อนที่จะถูกส่งผ่านมายังคน ผู้วิจัยยังได้เขียนในงานวิจัยว่า "ผลการวิเคราะห์การวิวัฒนาการของเราพบว่างูเป็นสัตว์ป่าที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะมีไวรัสตัวนี้ก่อนคน"

สำนักข่าวซินหัวบรรยายรายละเอียดการวิจัยว่าไวรัสผสมกันภายในสไปค์ไกลโคโปรตีน (spike glycoprotein) ซึ่งเป็นหน่วยรับที่ยื่นออกมานอกเยื่อหุ้มเซลล์ และจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการใช้รหัสพันธุกรรมที่มีความหมายเหมือนกันพบว่า “งู” เป็นสัตว์ป่าที่น่าจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่มากที่สุด เมื่อเทียบสัตว์ชนิดอื่นๆ

เมื่อนำผลลัพธ์มาประกอบกัน ผลการวิจัยจึงชี้ว่าการผสมกันแบบคู่เหมือน (homologous recombination) ภายในสไปค์ไกลโคโปรตีนอาจนำไปสู่การถ่ายโอนข้ามสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตจาก “งูสู่มนุษย์”

ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้มามีประสบการณ์ไปตลาดขายส่งที่ขายอาหารทะเล สัตว์ปีก งู ค้างคาว และสัตว์อื่น ๆ ปัจจุบันซึ่งถูกสั่งปิดชั่วคราว

ด้านสำนักข่าว CNN รายงานว่าเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 อาจมาจากงูสามเหลี่ยมหรืองูเห่าจีน

อ้างอิงงานวิจัย Wei Ji, Wei Wang, Xiaofang Zhao, Junjie Zai, Xingguang Li. Homologous recombination within the spike glycoprotein of the newly identified coronavirus may boost cross‐species transmission from snake to human. Journal of Medical Virology, 2020; DOI: 10.1002/jmv.25682 (หรืออ่านสรุปย่อได้ที่นี่)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0