โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

งานวิจัยชี้ เด็กพูดช้ามัก ‘อารมณ์เสียง่าย’ กว่าปกติเกือบ 2 เท่า

Xinhua

เผยแพร่ 18 พ.ย. 2562 เวลา 10.06 น.
งานวิจัยชี้ เด็กพูดช้ามัก ‘อารมณ์เสียง่าย’ กว่าปกติเกือบ 2 เท่า

ชิคาโก, 12 พ.ย. (ซินหัว) -- การศึกษาฉบับใหม่พบว่าเด็กที่พูดได้น้อย มีแนวโน้มที่จะมีอารมณ์ฉุนเฉียวบ่อยและรุนแรงกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่มีทักษะภาษาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

การศึกษาดังกล่าวซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (NU) เมื่อวันจันทร์ (11 พ.ย.) เป็นการสำรวจผู้ปกครองจากทั่วประเทศมากกว่า 2,000 คนที่มีลูกเล็กอายุตั้งแต่ 12-38 เดือน

ในการสำรวจ ผู้ปกครองต้องตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับจำนวนคำที่ลูกๆ สามารถพูดได้ ประกอบกับพฤติกรรมความฉุนเฉียว เช่น ลูกโมโหบ่อยแค่ไหนเมื่อรู้สึกเหนื่อย เทียบกับกับตอนที่ลูกกำลังสนุก

การศึกษาระบุว่าเด็กที่พูดได้ต่ำกว่า 50 คำ หรือไม่สามารถประสมคำได้ภายในอายุ 2 ปี จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม "เด็กพูดช้า" โดยเด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มมีอารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรงและ/หรือบ่อยกว่าเด็กที่มีทักษะภาษาระดับปกติในอัตราเกือบ 2 เท่า

นอกจาก นี้คณะนักวิจัยจะจัดว่าอารมณ์ฉุนเฉียวนั้นอยู่ในระดับ "รุนแรง" เมื่อเด็กมีพฤติกรรมต่างๆ ระหว่างที่รู้สึกโกรธ เช่น กลั้นหายใจ ทุบตี หรือเตะ เด็กที่มีพฤติกรรมเกรี้ยวกราดลักษณะนี้หรือมากกว่านี้เป็นประจำทุกวัน อาจะจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์

"เราต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้ทั้งหมดภายในบริบทการพัฒนา" ลอเรน วักชลาก (Lauren Wakschlag) ศาสตราจารย์สาขาสังคมศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ไฟน์แบร์ก (Feinberg School of Medicine) ของมหาวิทยาลัยฯ กล่าว

การสำรวจครั้งนี้ เป็นการศึกษาระยะแรกของโครงงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยฯ กำลังจัดทำซึ่งมีชื่อว่า "กังวลใจเมื่อไรดี" (When to worry) โดยระยะที่สองซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ จะครอบคลุมถึงการศึกษาเด็กเล็กราว 500 คน ในชิคาโกแลนด์ (Chicagoland) หรือภูมิภาคมหานครชิคาโก ที่เริ่มมีพฤติกรรมและแสดงพฤติกรรมโมโหง่าย และ/หรือพูดได้ช้า

ในการศึกษานี้จะมีการตรวจสมองและพัฒนาการด้านพฤติกรรม เพื่อกำหนดตัวบ่งชี้ที่จะช่วยแยกแยะปัญหาการเรียนรู้ช้าที่เป็นภาวะชั่วคราวออกจากปัญหาที่แท้จริง

ผู้ปกครองและเด็กจะต้องมาพบกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ปีละครั้ง จนกว่าเด็กจะมีอายุครบ 4 ปี 6 เดือน โดยวักชลากระบุว่าไม่ใช่เรื่องที่พบได้ทั่วไป สำหรับการรวบสาขาวิชาที่แตกต่างกัน อย่างการวินิจฉัยความผิดปกติทางการพูด และการวินิฉัยด้านสุขภาพจิตเข้าไว้ด้วยกัน โดยมุ่งเน้นไปที่ "ตัวเด็กทั้งหมด"

ทั้งความรู้สึกหงุดหงิดง่ายและทักษะทางภาษาที่ล่าช้า ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความผิดปกติทางภาษาและการเรียนรู้ในภายหลัง เด็กที่พูดช้าราวร้อยละ 40 จะมีปัญหาทางภาษาเรื้อรัง ซึ่งอาจกระทบความสามารถทางวิชาการของเด็กได้
ด้วยเหตุนี้ การประเมินผลปัญหาด้านภาษาและสุขภาพจิตควบคู่กันไป อาจช่วยให้หาข้อบ่งชี้ได้เร็วขึ้นและเข้าไปจัดการกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กตอนต้น เนื่องจากเด็กที่ "เคราะห์ร้ายซ้ำสอง" เช่นนี้มีแนวโน้มแบกรับความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก

อนึ่ง การศึกษาฉบับนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารเจอร์นัล ออฟ แอปพลายด์ เดเวลอปเมนต์ ไซโคโลจี (Journal of Applied Developmental Psychology)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0