โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ค่าเงินบาทผันผวน นักลงทุนรอความชัดเจนการเจรจาทางการค้าสหรัฐและจีน

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 15 ต.ค. 2562 เวลา 10.49 น. • เผยแพร่ 15 ต.ค. 2562 เวลา 10.49 น.
S__48832534
แฟ้มภาพ
ค่าเงินบาทผันผวน ขณะที่นักลงทุนรอความชัดเจนของการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2562 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (15/10) ที่ระดับ 30.36/37 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (10/10) ที่ระดับ 30.38/39 บาท/ดอลลาร์ จีนและสหรัฐได้บรรลุข้อตกลงการค้าบางส่วนระหว่างกัน โดยสหรัฐตกลงที่จะระงับการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนจาก 25% เป็น 30% ที่กำหนดไว้ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ แลกกับการที่จีนเสนอซื้อสินค้าเกษตรจำนวนมากจากสหรัฐ รวมทั้งยังมีความคืบหน้าในด้านการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาด้วย โดยข้อตกลงส่วนใหญ่จะดำเนินไปเพื่อลดยอดขาดดุลทางการค้าของสหรัฐต่อจีน อย่างไรก็ตาม จีนต้องการการเจรจาเพิ่มเติมกับสหรัฐอีกเร็วที่สุดในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ เพื่อสรุปรายละเอียดของข้อตกลงทางการค้าขั้นแรก ก่อนที่ผู้นำทั้งสองจะลงนามร่วมกัน ในเดือนหน้า โดยรายงานระบุว่าจีนต้องการให้ประธานาธิบดีทรัมป์ ล้มเลิกการเก็บภาษีนำเข้าในเดือนธันวาคมด้วย นอกเหนือไปจากการยกเลิกในเดือนตุลาคม ในขณะที่สหรัฐก็ยังยืนยันว่า การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ จะยังมีผลบังคับใช้ต่อไป หากยังไม่มีการลงนามข้อตกลงทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศเกิดขึ้น ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 30.36-3.44 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 30.37/39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้าวันนี้ (15/10) ที่ระดับ 1.1030/31 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (10/10) ที่ระดับ 1.1019/20 ดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางความหวังว่า อังกฤษและสหภาพยุโรป (EU) จะสามารถบรรลุข้อตกลงถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ภายหลังนายไซมอน โคฟนีย์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศไอร์แลนด์ เปิดเผยว่า การถอนตัวอาจจะเป็นไปได้ภายในระยะเวลาไม่กี่วันนี้ ภายหลังจากที่ทีมงานของอังกฤษและ EU ได้หารือกันจนถึงช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
รมว.ต่างประเทศกล่าวว่า ข้อตกลงมีความเป็นไปได้ที่จะสรุปในเดือนนี้ อาจจะเป็นสัปดาห์นี้ก็ได้

ทั้งนี้ EU จะประชุมร่วมกันในวันพฤหัสบดีและศุกร์นี้ เพื่อพิจารณาว่าจะสามารถสรุปข้อตกลงได้ก่อนที่จะถึงเส้นตาย Brexit ในวันที่ 31 ต.ค.นี้หรือไม่ โดยระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0008-1.10455 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1008/09 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (15/10) ที่ระดับ 108.36/37 เยน/
ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (10/10) ที่ระดับ 108.13/15 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวในวันนี้ว่า BOJ จะไม่ลังเลในการใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติม หากพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้นมีมากขึ้นและส่งผลคุกคามต่อเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ของ BOJ  นายคุโรดะยังกล่าวด้วยว่า BOJ จะจับตาผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากพายุไต้ฝุ่นพัดถล่มญี่ปุ่นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา และจะพยายามรักษากลไกทางการเงินและการชำระหนี้ให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงอยู่ในแนวโน้มการขยายตัวปานกลาง แม้ว่าการส่งออก ผลผลิต และความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศก็ตาม ขณะที่ระบบการเงินของญี่ปุ่นยังคงมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 108.23-108.45 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 108.25/27 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจ ในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนตุลาคมจากเฟดนิวยอร์ก (15/10), ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนตุลาคมจาก
สมาคมผุ้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book) จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) (16/10), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตัวเลขารเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนกันยายน (17/10) และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนกันยายนจาก Conference Boar (18/10)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -0.80/-0.70 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ 0.70/1.50 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0