โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า หลัง IMF ชี้เงินดอลลาร์แข็งค่ามากเกินไป

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 18 ก.ค. 2562 เวลา 13.59 น. • เผยแพร่ 18 ก.ค. 2562 เวลา 13.58 น.
ดอลลาร์สหรัฐ14851728771485173820l
แฟ้มภาพ

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2562 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันตนี้ (18/7) ที่ระดับ 30.86/88 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดในวันพุธ (17/7) ที่ระดับ 30.91/93 บาท/ดอลลาร์ หลังเมื่อคืนวาน (17/7) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เผยแพร่รายงาน External Sector Report ซึ่งระบุว่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเกินจริงถึงร้อยละ 6 ถึง 12 เมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งสหรัฐได้รัฐผลกระทบจากข้อพิพาททาการค้ากับจีน ขณะเดียวกัน IMF ได้อธิบายว่าสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐกำลังส่งผลกระทบเชิงลบต่อการค้าของโลก โดยมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน อีกทั้งอาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกในปีหน้า (2563) โดยประมาณมูลค่าความเสียหายกว่า 455,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม เมื่อวาน (17/7) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ (Beige Book) โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงขยายตัวเล็กน้อยในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ถึงกรกฎาคม โดยผู้บริโภคยังคงมีการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการจ้างงานภายในสหรัฐ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในระดับปานกลางและผู้จ้างงานมีแนวโน้มที่จะจ้างงานมากขึ้น ซึ่งโดยรวมแล้ว แนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐ ยังคงอยู่ในทิศทางเชิงบวก ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจยังคงเจอแรงกดดันจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้าก็ตาม

ในส่วนของประเทศไทย เมื่อวาน (17/7) นายวีระไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้แกถลงสรุปแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการเงินรายไตรมาสว่า การปรับปรุงมาตรการป้องกันปราบปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทและเพิ่มความเข้มงวดในการรายงานข้อมูลในการลงทุนตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติที่ ธปท.ได้ประกาศออกมาเพื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (12/7) นั้น มีจุดประสงค์เพื่อส่งสัญญาณให้นักลงทุนต่างชาติระมัดระวังการนำเงินเข้ามาพักในประเทศไทยมากขึ้น โดยหวังว่าจะเกิดผลต่อเนื่องในระยะยาว ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 30.85-30.88 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 30.87/88 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดคลาดเช้าวันนี้ (18/7) ที่ระดับ1.1235/38 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (17/7) ที่ระดับ 1.1215/17 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นจากแรงเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เกี่ยวกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวได้ให้มุมมองว่าเงินยูโรนั้นอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน อีกทั้งเมื่อวานมีรายงานดัชนี ราคาผู้บริโภคของสหภาพยุโรปประจำเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.3 เมื่อเปรียบเทียบรายปี ซึ่งสูงกว่าระดับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1222-1.1244 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1228/30 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (18/7) ที่ระดับ 107.68/70 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (17/7) ที่ระดับ 108.23/25 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ เงินเยนแข็งค่าสวนทางกับเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากการเผยแพร่รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งได้รายงานว่าเงินเยนนั้นอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน นอกจากนี้เมื่อวานมีรายงานว่า ญี่ปุ่นมีดุลการค้าที่เกิดดุลอยู่ 5.895 แสนล้านเยน เกินดุลสูงกว่าระดับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะมียอดเกินดุลที่ 4.035 แสนล้านเยน ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 107.60-107.99 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 107.76/78 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจ ในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีการผลิตเดือนกรกฎาคมจากเฟดฟิลาเดลเฟีย (18/7) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ (18/7) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกรกฎาคมจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (19/7) อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนของญี่ปุ่น (19/7)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -2.45/2.30 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -1.80/-0.10 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0