โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี ต้องจ่ายเมื่อไร? ทำไมบางตัวถึงลดได้ไม่เท่าสิ้นปี

aomMONEY

อัพเดต 15 ก.ค. 2563 เวลา 15.17 น. • เผยแพร่ 15 ก.ค. 2563 เวลา 15.17 น. • TAXBugnoms
ค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี ต้องจ่ายเมื่อไร? ทำไมบางตัวถึงลดได้ไม่เท่าสิ้นปี
ค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี ต้องจ่ายเมื่อไร? ทำไมบางตัวถึงลดได้ไม่เท่าสิ้นปี

ขอโทษนะครับ เบี้ยประกันที่จ่ายในเดือนมีนาคม เอามายื่นลดหย่อนภาษีครึ่งปีได้ไหม ? เป็นหนึ่งในคำถามที่ส่งมาทางแฟนเพจ TAXBugnoms ซึ่งถ้าให้ตอบสั้น ๆ ก็บอกเลยครับว่า "ได้" เพราะภาษีครึ่งปี เป็นภาษีที่ยื่นสำหรับรายได้ที่มีในช่วงครึ่งปีแรก (มกราคม - มิถุนายน) ดังนั้นค่าลดหย่อนที่เกิดในช่วงนี้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีครึ่งปีได้แน่นอนครับ แต่ประเด็นคือลดหย่อนภาษีครึ่งปีได้สูงสุดเพียง 95,000 บาทครับ

เดี๋ยวนะ !! ทำไมถึงเป็น 95,000 บาท ในเมื่อประกันมันควรลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทไม่ใช่เหรอ ? 

ถ้าอยากหาคำตอบด้วยความเข้าใจ แนะนำให้อ่านบทความเรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ที่ผมเพิ่งเขียนลงบล็อกภาษีข้างถนนไปสด ๆ ร้อน ๆ ครับ แต่ถ้าอยากเข้าใจแบบสรุป ลองดูหน้าสรุปรายการค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปีตรงนี้ก่อนครับ

จากโพสต์ในแฟนเพจ TAXBugnoms จะเห็นว่ามี รายการลดหย่อนภาษี บางตัวที่ไม่เหมือนเดิม เมื่อเทียบกับค่าลดหย่อนภาษีประจำปี เนื่องจากประเภทของค่าลดหย่อนในการใช้ลดหย่อนภาษี จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ ค่าลดหย่อนจริง ๆ กับ ค่าลดหย่อนที่ยกเว้นจากเงินได้

โดยค่าลดหย่อนจริง ๆ คือ ค่าลดหย่อนที่เราสามารถนำมาหักได้ทั้งจำนวนโดยที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว หรือค่าลดหย่อนคู่สมรส หักได้ 60,000 บาท ค่าลดหย่อนบุตรหรือบิดามารดาคนละ 30,000 บาท หรือ บุตรคนที่สองหักได้เป็น 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนในกลุ่มนี้ เมื่อเอามาใช้คำนวณภาษีครึ่งปี จะลดลงเหลือครึ่งนึงทันที โดยที่ไม่ต้องมีเงื่อนไขอะไรให้ซับซ้อน
ส่วนอีกประเภท คือ ค่าลดหย่อนที่ยกเว้นจากเงินได้ คือ ค่าลดหย่อนที่กำหนดให้ยกเว้นเพื่อหักออกจากเงินได้ ตัวอย่างเช่น LTF ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท หรือ RMF ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. ฯลฯ ซึ่งค่าลดหย่อนส่วนนี้เราจะเห็นได้ว่า ถ้าเรามีรายได้น้อย เราจะหักได้แค่รายได้ที่เรามีเท่านั้น
กลุ่มนี้เวลาใช้คำนวณภาษีครึ่งปี ก็จะไม่ต้องหารสองให้สับสน เพราะมันคิดจากรายได้อยู่แล้ว ดังนั้นไม่ต้องไปคิดเยอะ หักได้เต็มๆไปเลยจ๊ะพี่จ๋า
ทีนี้ปัญหา คือ ค่าลดหย่อนบางตัวที่เรารู้จักกัน มันเป็นค่าลดหย่อนที่มีทั้ง 2 ประเภทนี้ปนกันอยู่ เช่น ประกันชีวิต หรือ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม

ปกติเราจะเข้าใจว่า ค่าลดหย่อนตัวนี้คือ 100,000 บาท แต่จริงๆ การลดหย่อนของประกันชีวิตหรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืม มันประกอบด้วยสองส่วน นั่นคือ ส่วนที่หักเป็นค่าลดหย่อนได้จริง 10,000 บาท และส่วนที่หักจากเงินได้อีก 90,000 บาท
ดังนั้นเวลาเอามาคำนวณภาษีครึ่งปี ค่าลดหย่อนกลุ่มนีจะถูกหารครึ่งในส่วนของค่าลดหย่อนจาก 10,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาทเท่านั้น แต่ส่วนที่หักจากเงินได้ยังได้สิทธิ 90,000 บาทเท่าเดิม

นั่นเลยเป็นสาเหตุว่าทำไมจึงเหลือ 95,000 บาทนั่นเองครับ..

แหม่… ตอบปัญหาสั้น ๆ แต่อธิบายเรื่องอื่นยาวซะงั้น ยังไงสุดท้ายนี้ พรี่หนอมฝากทุกคนติดตามบทความภาษีที่ บล็อกภาษีข้างถนน และแฟนเพจ TAXBugnoms ด้วยนะครับ ขอบคุณครับผม  

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0