โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ค่ายรถยุโรปพับแผนลงทุนอีวีในไทย

ไทยโพสต์

อัพเดต 06 ก.ค. 2563 เวลา 02.33 น. • เผยแพร่ 06 ก.ค. 2563 เวลา 02.33 น. • ไทยโพสต์

 

6 ก.ค. 2563 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกับเอกอัครราชทูตเยอรมัน ประจําประเทศไทย ในเรื่องการลงทุนในไทย โดยเยอรมันมีความเป็นห่วงแผนการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากเห็นว่า รัฐบาลไทยยังไม่ได้ขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการลงทุนสร้างสถานีชาร์ตไฟฟ้าที่ยังมีน้อย และกฎหมายของไทย ยังไม่มีมาตรการบังคับให้เกิดสถานีนชาร์ตไฟฟ้าเพิ่ม เช่น การสร้างคอนโดมิเนียมยังไม่มีกฎหมายบังคับให้มีจุดชาร์ตไฟฟ้า หรือในสถานที่อื่นๆ

”ทางเยอรมันมองว่าหากไทยยังไม่มีความพร้อมในเรื่องสถานีชาร์ตไฟฟ้า ก็ยากที่จะผลักดันให้มีผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถผลักดันยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในไทยได้ ทางค่ายรถยนต์ของเยอรมัน ที่มีโรงงานในประเทศไทย มีแผนที่จะไม่ลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะชะลอแผนการลงทุนออกไปก่อนจนกว่าไทยจะมีความชัดเจนในเรื่องนี้”นายสุพันธุ์ กล่าว

ส่วนการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆนั้น มองว่าขณะนี้บริษัทขนาดใหญ่ทั้งของเยอรมัน และสหภาพยุโรป ยังไม่ได้มีแผนชัดเจนการเข้ามาลงทุนในอาเซียน ดังนั้นไทยควรจะฉวยโอกาสในช่วงนี้ ดึงดูดการลงทุนให้เข้ามาในประเทศไทย โดยใช้จุดเด่นในมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดี รวมทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการผลิตเพื่อจำหน่ายในอาเซียน ซึ่งมั่นใจว่ายังมีบริษัทขนาดใหญ่ในยุโรปต้องการมาลงทุนในภูมิภาคนี้อีกมาก

นอกจากนี้ ทางเยอรมันยังอยากให้ไทยมองธุรกิจเยอรมันที่เข้ามาตั้งในไทยให้มีสิทธิต่างๆเท่าเทียกับบริษัทของไทย เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ และมาตรการส่งเสริมต่างๆของรัฐบาล เพื่อให้เกิดการขยายกิจการต่างๆในไทยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ไทยควรจะเพิ่มจุดแข็งในการดึงดูดการลงทุน โดยการขยายความร่วมมือเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆ เช่น เขตการค้าเสรีไทย-ยุโรป และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ซีพีทีพีพี) โดยเฉพาะ ซีพีทีพีพี ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิก ซีพีทีพีพี ต้องการให้ไทยเข้าร่วมมาก ได้ทำหนังสือไปยังคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ให้ช่วยผลักดันในเรื่องนี้ ซึ่งหากไทยไม่เข้าร่วม ซีพีทีพีพี จะทำให้ลดความสามารถในการดึงดูดการลงทุน และอาจทำให้มีธุรกิจบางส่วนของญี่ปุ่นย้ายไปลงทุนประเทศอื่นที่เป็นสมาชิก ซีพีทีพีพี ทำให้ในอนาคตอาจทำให้ซัพพลายเชนต่างๆ หรือชิ้นส่วน วัตถุดิบต่างๆ ย้ายตามออกไปด้วย ส่งผลให้จุดแข็งในเรื่องซัพพลายเชนของไทยอ่อนแอลง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0