โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ค่าจ้างซีเมนส์แพง! แอร์พอร์ตลิงก์ล้มแผนรื้อตู้ขนกระเป๋า คาดซ่อมรถเสร็จลดปัญหาแออัดได้

Manager Online

อัพเดต 22 ก.ค. 2561 เวลา 22.21 น. • เผยแพร่ 22 ก.ค. 2561 เวลา 22.21 น. • MGR Online

แอร์พอร์ตลิงก์ เบรกรื้อตู้ขนกระเป๋าสัมภาระวงเงิน 186 ล. หลังต่อรองราคากับซีเมนส์ไม่ยุติ ประเมินแล้วไม่คุ้มค่า ขณะที่ใกล้ได้ตัวผู้บริหารรถไฟ 3 สนามบิน  มั่นใจรถ 7 ขบวนต่อวัน บริการได้ระดับหนึ่งและ กลางส.ค.ขบวนที่ 8 ซ่อมเสร็จจะลดแออัดได้มาก เดินหน้าติดแผงกั้นราวสแตนเลสกันตก 7 สถานีเสร็จต้นปี 62

 

          นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่   บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดเผยว่า จากที่ บริษัทฯได้มีแผนในการปรับเปลี่ยนภายในตู้บรรทุกกระเป๋าสัมภาระ จำนวน 4 ตู้ ที่พ่วงอยู่ในขบวนรถไฟฟ้าด่วน (express line) เพิ่มความการรองรับผู้โดยสาร เนื่องจากปัจจุบันไม่สามารถให้ผู้โดยสารขึ้นได้เนื่องจากภายในตู้ จะมีวงจร เซ็นเซอร์ สำหรับการโหลดสัมภาระ โดยจำเป็นต้องจ้างตรงบริษัท ซีเมนส์ จำกัด ในฐานะเจ้าของระบบเป็นผู้ปรับปรุง ประเมินวงเงินไว้ ซึ่งตั้งกรอบรอบวงเงินลงทุนไว้ที่ 186 ล้านบาท  แต่เนื่องจากการเจรจาต่อรองราคาไม่ได้ข้อยุติ ประกอบกับเมื่อเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าและ ช่วงเวลาที่ ผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะเข้ามารับบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ จึงเห็นว่าควรชะลอการปรับปรุงตู้ขนสัมภาระไว้ก่อน

          โดยปัจจุบัน มีรถให้บริการที่ 7 ขบวนต่อวัน  มีผู้โดยสารเฉลี่ย 72,000 คนต่อวันซึ่งภาพรวมการให้บริการมีปัญหาน้อยลง ขณะที่ภายในกลางเดือนส.ค.นี้  การซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) รถขบวนที่ 8 จะแล้วเสร็จซึ่งจะเพิ่มขีดการรองรับผู้โดยสารได้ดีขึ้น และเมื่อขบวนที่ 9  Overhaul  เสร็จในเดือนธ.ค. 2561 จะทำให้เพิ่มความถี่การเดินรถได้เป็น 8 นาที/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 84,000 คนต่อวัน

          “การเจรจายังไม่ยุติ วงเงินยังถือว่าสูงอยู่ เมื่อเทียบกับความคุ้มค่าแล้วเห็นว่า ควรเก็บรถบรรทุกกระเป๋าสัมภาระ จำนวน 4 ตู้ ไว้เหมือนเดิม เพื่อรอให้ผู้บริหารรถไฟ 3 สนามบินเข้ามาพิจารณา ขณะนี้การบริการด้วยรถ 7 ขบวนถือว่าใช้ได้และรถขบวนที่ 8 จะซ่อมบำรุงเสร็จแล้ว เชื่อว่า 1-2 ปี ระหว่างรอผู้บริหาร 3 สนามบิน การบริการยังคงเป็นไปตามแผน” 

          ส่วนความคืบหน้า ติดตั้งแผงกั้นราวสแตนเลสกันตกที่ชั้นชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ทั้ง 7 สถานี เพื่อป้องกันด้านความปลอดภัยของผู้โดยสารนั้น ได้ประมูลคัดเลือกและลงนามสัญญากับผู้รับจ้างแล้ว วงเงินประมาณ 13 ล้านบาท (งบประมาณ 22 ล้านบาท) ระยะเวลาดำเนินงาน 6  เดือน โดยคาดว่าจะเริ่มเข้าพื้นที่เริ่มติดตั้ง ภายใน 2 เดือนนี้ แล้วเสร็จครบทั้ง 7 สถานีในต้นปี 2562

          นายสุเทพกล่าวถึงการใช้บัตรแมงมุมและบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ว่า ตามแผนจะใช้ได้ในเดือนต.ค. 2561 ซึ่งประมูลเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่าง เจรจากับผู้รับจ้างให้ปรับระบบหัวอ่านจากซอฟแวร์ 2.0 เป็นเวอร์ชั่น 2.5 เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบตั๋วร่วมของรัฐบาล หรือแมงมุม 2.5 ได้  โดยให้อยู่ภายใต้วงเงินที่ประมูลได้ที่ 104 ล้านบาท (งบประมาณ 140 ล้านบาท) ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆนี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0