โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ค่าขยะ ขึ้นแน่ ดีเดย์ 1 ต.ค. 62 หลังไม่ได้ปรับมานาน 14 ปี

BLT BANGKOK

อัพเดต 27 พ.ค. 2562 เวลา 07.48 น. • เผยแพร่ 22 พ.ค. 2562 เวลา 06.15 น.
e2aaec50b93a0a75fd40673e024e8d01.jpg

หลังจาก กทม.​ จัดเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขน-กำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล ในราคา 20 บาท มานาน 14 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 นี้เป็นต้นไป จะมีการเริ่มเก็บในอัตราใหม่ รวมเป็น 80 บาท/เดือน เล็งนำรายได้ไปปรับปรุงระบบ-ดูแลพนักงาน และทำประโยชน์ให้เมืองมากขึ้น
กทม. เคาะขึ้นค่าจัดการขยะทุกประเภท 
สภากรุงเทพมหานคร มีมติเห็นชอบให้ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. … เป็นพระราชบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. …  และได้เห็นชอบให้ปรับขึ้นอัตราค่าธรรมเนียมจัดเก็บขยะมูลฝอยทุกประเภท
โดยแยกเป็น 2 ส่วน คือ ค่าเก็บขน และค่ากำจัด ซึ่งบ้านเรือนทั่วไปอัตราใหม่จะแยกเป็นค่าเก็บขน 40 บาท/เดือน และค่ากำจัด 40 บาท/เดือน รวมเป็น 80 บาท/เดือน และในส่วนของผู้ประกอบการหรือสถานประกอบการ ก็จะจัดเก็บในอัตราที่เพิ่มตามปริมาณขยะที่มีเช่นกัน โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป 

ยันค่าธรรมเนียมอัตราใหม่เหมาะสม 
ในการปรับขึ้นอัตราค่าธรรมเนียมจัดเก็บขยะมูลฝอยทุกประเภทครั้งนี้ คุณชาตรี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. ชี้แจงว่า เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยของ กทม. ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้ใช้มาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งเป็นการจัดเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอย ไม่รวมค่ากำจัดมูลฝอย โดยบ้านเรือนทั่วไปจัดเก็บเพียงเดือนละ 20 บาท ส่งผลให้ กทม. ต้องแบกรับภาระเป็นจำนวนมาก ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมมูลฝอยทั่วไป เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเก็บขนและค่ากำจัดตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (PPP) โดยอัตราค่าธรรมเนียมการจัดการมูลฝอยสำหรับบ้านเรือนทั่วไปที่มีปริมาณมูลฝอยไม่เกิน 20 ลิตร/วัน กำหนดค่าเก็บขนมูลฝอย เดือนละ 65 บาท และค่ากำจัดมูลฝอย เดือนละ 155 บาท รวม 220 บาท/เดือน
เมื่อพิจารณาต้นทุนค่าใช้จ่ายการจัดการขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนทั่วไป จะพบว่ามีค่าใช้จ่ายในการเก็บขนมูลฝอย 130 บาท/เดือน ค่ากำจัดมูลฝอย 98 บาท/เดือน รวมทั้งสิ้น 228 บาท/เดือน ในขณะที่ปัจจุบันจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพียงเดือนละ 20 บาท คิดเป็น 9% ของค่าใช้จ่าย ซึ่งข้อบัญญัติ กทม. ฉบับใหม่ ได้คำนึงถึงความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนมากเกินไป
จึงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจัดการมูลฝอยสำหรับบ้านเรือนทั่วไป ค่าเก็บขนมูลฝอย เดือนละ 40 บาท และค่ากำจัดมูลฝอย เดือนละ 40 บาท รวม 80 บาท/เดือน คิดเป็น 35% ของค่าใช้จ่าย ซึ่งยังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่แท้จริง และอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าเพดานอัตราค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายการสาธารณสุขกำหนด 

แจงมีเสียงประชาชนสนับสนุนให้ขึ้น
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ กทม. ได้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประกอบการพิจารณา ระหว่างวันที่ 21 มกราคม-5 กุมภาพันธ์ 2562 ผ่านทางสำนักงานเขต 50 เขต และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ด้วย โดยมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น 3,095 ราย ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการปรับขึ้นของทั้ง 3 รายการ คือ ค่าธรรมเนียมการจัดการเก็บขนและกำจัดสิ่งปฏิกูล ค่าธรรมเนียมการจัดการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยทั่วไป และค่าธรรมเนียมการจัดการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
เล็งเพิ่มช่องทางเก็บเงินผ่าน e-payment
สำหรับรูปแบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมอัตราใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 จะมีทั้งการให้พนักงานเก็บขนมูลฝอยให้บริการจัดเก็บค่าธรรมเนียมถึงบ้านเรือนของประชาชน หรือการชำระค่าธรรมเนียมที่สำนักงานเขต และในอนาคตจะเพิ่มช่องทางรับชำระค่าธรรมเนียมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) เพื่อสร้างความสะดวกให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น
โดยรายได้ที่เกิดจากการปรับเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมจะทำให้ กทม. มีงบประมาณเพิ่มขึ้น สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานด้านอื่นๆ ทั้งเรื่องการรักษาความสะอาด สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนกทม. ต่อไป

เพิ่มประสิทธิภาพจัดการมูลฝอย
นอกจากนั้น กทม. ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บมูลฝอยด้วยการจัดหายานพาหนะที่ทันสมัยในการเก็บขนมูลฝอย เช่น จัดหารถบรรทุกติดตั้งชุดไฮโดรลิคพร้อมตู้คอนเทนเนอร์สำหรับใช้ในการเก็บขนมูลฝอย ซึ่งสามารถลดแรงงานคนและระยะเวลาในการเก็บขนมูลฝอย นอกจากนี้ ยังได้จัดชุดเร่งด่วนเพิ่มจำนวนเที่ยวการจัดเก็บมูลฝอยตามถนนสายหลัก สายรองทุกเส้นทาง รวมทั้งเพิ่มความถี่ในการจัดเก็บมูลฝอยในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ ถนนสายหลักจัดเก็บขยะทุกวันให้เสร็จสิ้นก่อนเวลา 05.30 น. ถนนสายรองจัดเก็บไม่ให้มีขยะตกค้างในพื้นที่ ตลาดสด จัดเก็บทุกวัน มูลฝอยรีไซเคิล มูลฝอยชิ้นใหญ่ จัดเก็บทุกวันอาทิตย์ และมูลฝอยอันตราย จัดเก็บทุกอาทิตย์

ส่งเสริมสวัสดิภาพพนักงานมากขึ้น
ด้านการดูแลสวัสดิการของพนักงานเก็บขนมูลฝอย ซึ่งเป็นงานที่เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ กทม. ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอย ควบคู่กับการดูแลสวัสดิการเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการเก็บขนมูลฝอยอย่างต่อเนื่อง โดยจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้แก่พนักงาน ได้แก่ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ผ้าปิดจมูก ถุงมือยาง รองเท้าบูท พร้อมจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงปัญหาสุขภาพ การป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงาน รวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีและการรักษาพยาบาลตามสิทธิ เช่น การตรวจเลือด ความดัน เบาหวาน ระบบทางเดินหายใจ อีกทั้งยังมีการคัดเลือกบุคลากรด้านการรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะดีเด่น เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับเจ้าหน้าที่ซึ่งทำงานเก็บขนมูลฝอยและจัดเก็บค่าธรรมเนียมอีกหน้าที่หนึ่ง จะได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 30% ของค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้อีกด้วย
การประกาศขึ้นค่าธรรมเนียมการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอยรวมถึงสิ่งปฏิกูลของ กทม. ดูจะเป็นการซ้ำเติมประชาชนอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการปรับขึ้นค่าโดยสารรถโดยสารสาธารณะทั้งระบบไปแล้ว และยังสอดรับกับผลสำรวจดัชนีค่าครองชีพทั่วโลกประจำปี 2562 จากเว็บไซต์ numbeo.com ที่พบว่า กทม. ถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน
ซึ่งหลังจากจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มไปแล้ว ทาง กทม. สามารถที่จะพัฒนาเมือง พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ได้ตามที่ระบุไว้ในเอกสารแผ่นพับการนำเสนอข้อมูลการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะ & สิ่งปฏิกูล ที่ทำโดยสำนักสิ่งแวดล้อมได้ครบทั้ง 4 ด้านและเห็นผลได้จริง ก็คงจะทำให้ประชาชนยินดี เต็มใจและพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับคุณภาพเมืองเพื่อให้น่าอยู่สำหรับทุกคน  


พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง - ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 
“ถามผม ผมก็ว่าควรจะเก็บ  ซึ่งถามว่าเพิ่มมานิดหน่อยพอกับค่าใช้จ่ายไหม ไม่พอหรอกครับ เพราะค่าดำเนินการกำจัดขยะปีละ 6 พันกว่าล้านบาท ได้เพิ่มอย่างมากก็ 100-200 ล้านบาท แต่ต้องการให้พี่น้องประชาชนได้รู้ว่า คุณมีสิทธิที่จะให้เขามาดูแล เพราะเสียภาษีนะ แต่คุณต้องรู้หน้าที่ด้วย ก็ต้องขอความร่วมมือประชาชนมาช่วยกัน คนอื่นเสียได้เราก็ต้องเสียได้ มันก็ไม่ได้แพงมากมาย และในเมื่อเขาเสียกัน อย่างผมเนี่ย เขาเสียกัน ถ้าผมไม่เสีย ผมก็หน้าด้าน ผมไม่ได้ว่าคนอื่นนะ ตัวผม ถ้าเกิดบ้านติดกันเสียเลย 100 บาท บ้านผู้ว่าฯ กทม. ไม่เสีย ใหญ่แล้วไม่เสีย ผมก็เป็นคนหน้าด้าน”

คุณชาตรี วัฒนเขจร - ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. 
“อัตราค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอยของ กทม. ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้ใช้มาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งเป็นการจัดเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอย ไม่รวมค่ากำจัดมูลฝอย โดยบ้านเรือนทั่วไป จัดเก็บเพียงเดือนละ 20 บาท ส่งผลให้ กทม. ต้องแบกรับภาระเป็นจำนวนมากเพราะมีค่าใช้จ่ายวันละ 228 บาท จึงพิจารณาออกข้อบัญญัติ กทม. ฉบับใหม่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และไม่เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนมากเกินไป และรายได้ที่เกิดจากการปรับเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมจะทำให้ กทม. มีงบประมาณเพิ่มขึ้น สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานด้านอื่น ๆ ทั้งเรื่องการรักษาความสะอาด สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพมหานครต่อไป”

[English]
Bangkok’s Garbage Collection Fee to Quadruple on October 1
After 14 years of flat rate of garbage collection, Bangkok Metropolitan Administration (BMA) has recently got an approval from the Bangkok Metropolitan Council to raise the monthly fee to 80 baht from 20 baht.
Under the new fee, 40 baht is for the collection and another 40 baht is for the disposal of garbage.
The BMA’s Department of Environment said that the decades-long fee has never included the disposal cost, which is huge and has been borne by the City Hall all along.  
According to the Ministry of Public Health’s Polluter-Pays-Principle (PPP) regulations, it can cost 220 baht each month to collect and dispose of no more than 20 liters of garbage per day per month.  The BMA said the actual cost has been 228 baht per month and the 20-baht fee only represented 9.0% of this.
It pointed out that, the new fee structure, which has taken into account current social and economic conditions, accounts for only 35% of the actual cost.
Prior to the announcement of the fee rise, the BMA had conducted public survey during January 21 and February 5 of this year, which collected opinions from 3,095 respondents – most of who agreed with the raise.
Under the upcoming change, the BMA has also planned to introduce an electronic channel (e-payment), which is an addition to the fee collection by the collectors and the payment service at all district offices.
In addition, the BMA has procured modern vehicles to boost the efficiency of the garbage collection and planned to add more trips to collect garbage as well as to provide more welfare, safety provisions and incentives for all garbage collectors.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0