โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

โรควิตกกังวล (Anxiety) คืออะไร?

HonestDocs

อัพเดต 24 มิ.ย. 2562 เวลา 10.51 น. • เผยแพร่ 24 มิ.ย. 2562 เวลา 10.51 น. • HonestDocs
โรควิตกกังวล
การรู้สึกกังวลเป็นเรื่องปกติ เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายธรรมชาติต่อความเครียด แต่หากรุนแรงเกินไปอาจเป็นอาการของโรควิตกกังวล (Anxiety)

การมีความรู้สึกวิตกกังวลเป็นบางครั้งถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากความรู้สึกนี้ขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ อาจแสดงว่าคุณกำลังเป็นโรควิตกกังวล

ความวิตกกังวล (Anxiety) เป็นความรู้สึกวิตกหรือไม่สบายใจ การรู้สึกแบบนี้บ้างเป็นบางครั้งถือเป็นเรื่องปกติ ความรู้สึกนี้เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายธรรมชาติต่อความเครียด ทำให้คุณรู้สึกตื่นตัวมากขึ้นและพร้อมที่จะตอบสนอง แต่โรควิตกกังวลมีความแตกต่างจากความรู้สึกวิตกกังวลโดยทั่วไป โรควิตกกังวลคือ ความรู้สึกกลัวหรือกังวลมีมากเกินไป ควบคุมได้ยาก หรือขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวัน

โรคนี้จัดเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น

  • โรคกลัว (Phobias) เช่น โรคกลัวที่แคบ
  • โรคหวาดระแวง (Panic disorder)
  • โรคกลัวสังคม (Social Anxiety)
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder – OCD)
  • โรควิตกกังวล (Generalized anxiety disorder)

ความชุกของการเกิดโรค

โรควิตกกังวลเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป โดยศูนย์ป้องกันและควบบคุมโรคได้ประมาณตัวเลขไว้อยู่ที่ประมาณ 15% ของประชากรที่จะเป็นโรควิตกกังวลขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย 60% และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการของโรคนี้ในช่วงวัยเด็ก โดยอายุเฉลี่ยของการเริ่มเป็นโรคอยู่ที่ 11 ปี

โรควิตกกังวลเกิดจากสาเหตุอะไร?

มีปัจจัยหลายยอย่างที่สามารถทำให้เกิดโรควิตกกังวล ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากผลรวมระหว่างประสบการณ์ส่วนตัวและปัจจัยทางพันธุกรรมที่ยังระบุไม่ได้ โรคนี้อาจมีการถ่ายทอดในครอบครัว โดยเด็กที่มีพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวลจะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากขึ้น เหตุการณ์ความเครียดหรือที่กระทบต่อจิตใจ เช่น การเสียชีวิตของคนที่รัก สามารถทำให้เกิดโรควิตกกังวลได้ในบางคน ไม่ใช่ทุกคนที่เมื่อพบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจแล้วจะกลายเป็นโรควิตกกังวล และไม่ใช่ผู้ป่วยโรควิตกกังวลทุกคนที่จะเคยประสบกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจมาก่อน

โรคซึมเศร้ากับโรควิตกกังวล

โรคซึมเศร้ากับโรควิตกกังวลนั้นีความแตกต่างกัน แต่พบว่าผู้ป่วยโรควิตกกังวลอาจเป็นโรคซึมเศร้าร่วมด้วยได้บ่อย มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณครึ่งหนึ่งที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลด้วยเช่นกัน

อ้างอิงจากสมาคมโรควิตกกังวลและซึมเศร้าแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Anxiety and Depression Association of America) ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นมักมีอาการที่คล้ายคลึงกับอาการของโรควิตกกังวลแต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะเป็นโรควิตกกังวล

อาการที่อาจพบได้ในทั้ง 2 โรค ประกอบด้วย

  • วิตกกังวล
  • กระสับกระส่าย
  • มีปัญหากับการนอนหลับ
  • ไม่มีสมาธิ

โรควิตกกังวลในเด็กและวัยรุ่น

โรควิตกกังวลเป็นโรคทางจิตเวชที่พบบ่อยและเริ่มมีอาการในวัยเด็ก โดยที่พ่อแม่ของเด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรควิตกกังวลมักบอกว่า ผู้ป่วยมีอาการหรือพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางวิชาการหรือทางสังคม
  • มีอาการทางกาย (ปวดหัว ปวดท้อง)
  • มีปัญหาด้านการนอนหลับ
  • ต้องการการรับรองอย่างมาก (มักเกี่ยวกับความกลัวในสิ่งร้ายๆ ที่อาจเกิดขึ้น)
  • ผลการเรียนไม่ดี
  • มีพฤติกรรมก้าวร้าว
  • มีปัญหาด้านการกิน (กินน้อยหรือกินมากจนเกินไป)

ประเภทของโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ประกอบด้วย

  • โรควิตกกังวล (Generalized anxiety disorder หรือ GAD) : ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีความกังวลที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเรื้อรัง
  • โรคหวาดระแวง (Panic disorder) : ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการหวาดระแวงขึ้นมาเป็นพักๆ
  • โรคกลัว (Phobias) : เป็นโรคที่หมายึงความกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปกติมักไม่ทำให้เกิดอันตราย
  • โรคกลัวสังคม (Social anxiety disorder หรือ social phobia) : บางคนมีความรู้สึกไม่สบายใจอย่างรุนแรงหากต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมทำให้มักหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม
  • Separation anxiety disorder : เป็นความกลัวต่อความแยกจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งอย่างรุนแรง เช่น พ่อแม่
  • Post-traumatic stress disorder : โรคนี้ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวลจากการจัดประเภทของสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) อีกต่อไปแม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับการวิตกกังวลหรือความกลัวเกิดขึ้นตามหลังเหตุการณ์ที่ทำร้ายจิตใจหรือส่งผลต่อร่างกายอย่างรุนแรง

ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @honestdocs หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0