โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

คืนภาษี VAT 5 % หวังดันอีเพย์เม้นท์ "ไม่ใช่การหาเสียง"

Thai PBS

อัพเดต 19 ธ.ค. 2561 เวลา 11.34 น. • เผยแพร่ 19 ธ.ค. 2561 เวลา 11.55 น. • Thai PBS
คืนภาษี VAT 5 % หวังดันอีเพย์เม้นท์

วันนี้ (19 ธ.ค.2561) นายลวรณ แสงสนิท ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า แม้ยอดผู้ใช้บัตรเดบิต และพร้อมเพย์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลต้องการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บัตรเดบิตให้มากกว่านี้ และคาดหวังให้มียอดผู้ใช้พร้อมเพย์ครบทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ 

คณะรัฐมนตรี จึงเห็นชอบมาตรการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 5 ของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต ระหว่างวันที่ 1-15 ก.พ.2562 โดยจะจ่ายเงินคืนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ ที่ใช้หมายเลขบัตรประชาชน และลงทะเบียนเข้าโครงการคนละไม่เกิน 1,000 บาทในช่วงเดือน พ.ย.2562
โดยสาเหตุที่รัฐบาลกำหนดการจ่ายเงินคืนภาษีล่าช้าถึงช่วงปลายปี เพราะรัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการนี้ไว้ล่วงหน้า ทำให้ต้องเข้ากระบวนการขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 วงเงิน 9,000 ล้านบาท จึงจะเริ่มจ่ายเงินคืนภาษีเข้าบัญชีพร้อมเพย์ได้

ขณะเดียวกันกระทรวงการคลัง ได้ร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทย กำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์ สนับสนุนการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มรุ่นเก่า ซึ่งมีประมาณ 20 ล้านใบ เป็นบัตรเดบิต โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รวมทั้งคิดค่าธรรมเนียมบัตร 1 ปี

การดำเนินมาตรการดังกล่าว ไม่ได้หวังผลกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือสร้างพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินตัว ตลอดจนการสร้างความนิยมทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน

แต่รัฐบาลต้องการติดตามธุรกรรมการใช้จ่ายประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกรมสรรพากรสามารถรับทราบข้อมูลการขายของผู้ประกอบการโดยละเอียดสินค้า เนื่องจากการใช้สิทธิ์ตามมาตรการนี้ ต้องใช้บัตรเดบิต รูดซื้อสินค้า และบริการ กับร้านค้าที่เข้าโครงการเท่านั้นเนื่องจาก ร้านค้า ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกการขาย หรือ พอส ซึ่งเชื่อมระบบหลังบ้านของกรมบัญชีกลาง และสรรพากรก่อน

ทั้งนี้ผู้สนใจใช้สิทธิต้องลงทะเบียนเข้าโครงการ ตามระยะเวลา และช่องทางซึ่งจะประกาศอีกครั้ง พร้อมกับสมัครพร้อมเพย์แบบใช้เลขบัตรประชาชน ส่วนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ และการซื้อสินค้าที่มีภาษีสรรพสามิต จะไม่ได้เงินคืนภาษีตามเงื่อนไขของมาตรการ

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0