โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คิดดีๆบริจาคเครื่องมือแพทย์ ไม่ได้ใช้-กองอยู่ใต้บันได

เดลินิวส์

อัพเดต 22 ต.ค. 2562 เวลา 15.18 น. • เผยแพร่ 22 ต.ค. 2562 เวลา 15.07 น. • Dailynews
คิดดีๆบริจาคเครื่องมือแพทย์ ไม่ได้ใช้-กองอยู่ใต้บันได
“หมอจ๊วด” เลขาธิการแพทยสภา โพสต์ให้คิดโปรดนับ 1 ถึง 4 ก่อนบริจาคเครื่องมือแพทย์ ชี้อย่าหวังดีตอบแทนโรงพยาบาล สุดท้ายแล้วแพทย์ไม่ได้ใช้ ต้องไปอยู่ใต้บันได

เมื่อวันที่ 22 ต.ค. พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก @Ittaporn Kanacharoen ระบุว่า "เช้านี้มีพี่ใจดีมาถามเรื่องการบริจาค เครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลรัฐ บอกว่าโรงพยาบาลต้องการเครื่องมือ หมอมีแหล่งซื้อไหม? แถมส่งไปโรงพยาบาลที่อยู่ชายแดน ไม่มีผู้แทนไปดูแล และซ่อมบำรุง อีกรายหนึ่ง บอกว่าคุณพ่อเป็นโรคไตเสียชีวิต จะซื้อเครื่องฟอกไตให้โรงพยาบาล เพราะเป็นภูมิลำเนาเดิม แต่โรงพยาบาลไม่มีระบบ สำหรับหน่วยฟอกไต ไม่มีหมอดูแล ให้ไปก่อนได้ไหม ให้ไปหาหมอเอาเอง เพื่อตอบแทนสิ่งที่คุณพ่อสั่งไว้"   พล.อ.ต.นพ.อิทธพร กล่าวว่า ตนสนับสนุนถ้าจะบริจาคของและอุปกรณ์การแพทย์ อย่างน้อยเป็นวัตถุถาวรให้กับโรงพยาบาล และบางทีติดชื่อบริษัทได้ เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องระวังขอให้นับ 1-4 เสียก่อนค่อยตัดสินใจ   1.อย่าบริจาคเพียงเพราะเราอยากให้ แต่ต้องตรวจสอบ คุยกับผู้รับว่าโรงพยาบาลมีความต้องการและอยากได้จริงหรือไม่ คนไข้จะได้ประโยชน์จริงไหม   2.เครื่องมือแพทย์แต่ละอย่างมีหมอ หรือพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ที่ใช้เป็น และเรียนมาโดยเฉพาะต้องตรวจสอบว่ามีหรือไม่ก่อนบริจาค เขามีคนใช้เครื่องมือจริง แล้วได้ประโยชน์ และมีพื้นที่ อาคาร หน่วย ระบบ ตั้งรองรับ แล้ว   3.เครื่องมือแพทย์แต่ละเครื่อง ปัจจุบันเป็นคอมพิวเตอร์ Network อาจต้องมีการต่อเชื่อมกับระบบของโรงพยาบาลได้ ในเครือข่ายเดียวกัน การบริจาคต้องศึกษาระบบของโรงพยาบาลเสียก่อน หากให้โดยเชื่อมต่อไม่ได้จะมีประโยชน์น้อย หรืออายุการใช้งานสั้น ดังนั้นต้องทราบระบบ   4.เครื่องมือแพทย์ควรจะใช้ได้อายุยาวนาน ดังนั้นการซ่อมบำรุงต้องมีบริษัทเข้าไปดูแล ตรวจสอบเสียก่อนว่าโรงพยาบาลที่มอบให้นั้น มีตัวแทนบริษัทมาดูแลหรือไม่ ในอำเภอนั้น จังหวัดนั้น มิฉะนั้น เมื่อเสียจะไม่มีใครซ่อม เราจะซ่อมแล้วอะไหล่อุปกรณ์น้ำยา โรงพยาบาลต้องจัดซื้อได้ หรือร่วมกับอุปกรณ์ตัวเดิมที่มีอยู่แล้วในโรงพยาบาล จะได้ดูแลร่วมกันได้ ไม่ควรใช้ยี่ห้อใหม่ที่คนในโรงพยาบาลไม่คุ้นเคย   "ทั้ง 4 ข้อนี้เพื่อป้องกันมิให้เครื่องมือที่บริจาคไป ซ่อมไม่ได้เมื่อยามเสีย หรือไม่มีอะไหล่ ไม่มีน้ำยาที่ใช้ได้ อุปกรณ์สั่งซื้อไม่ได้ ไม่มีแบตเตอรี่สำรอง ไม่มีกระดาษพิเศษที่ใช้ สุดท้ายต้องไปอยู่ใต้บันได เสียดายเงินที่บริจาค อย่าซื้อเครื่องมือเดียวกันในยี่ห้อที่ถูก โดยมองเพียงราคา เพื่อให้บริจาคได้หลาย ๆ ชิ้นกว่า แต่ต้องมองว่าเครื่องไหนใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์ระยะยาว แบบยั่งยืนกับโรงพยาบาล ถ้านับไม่ถึง 4 อย่าเพิ่งบริจาคนะครับ หรือที่สำคัญ ให้โรงพยาบาลจัดหาเอง ในสิ่งที่เขาต้องการ หรือเข้ามูลนิธิ เพื่อรวบรวม ให้ได้สิ่งที่เขาต้องการ จะดีที่สุด แล้วยังหักภาษีได้ด้วย ทุกโรงพยาบาลรัฐยังขาดแคลนอีกเยอะนะครับ" เลขาธิการแพทยสภา ระบุ   ขอบคุณภาพ : @Ittaporn Kanacharoen

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0