โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

คำจำกัดความใหม่ของคำว่า Leadership

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 24 ก.พ. 2563 เวลา 21.00 น.

เชื่อหรือไม่ว่าคำจำกัดความของ “ภาวะผู้นำ” (Leadership) มีการพูดถึงและใช้มาเกือบ 200 ปี!

“ภาวะผู้นำ” ถูกให้คำจำกัดความไว้มากมาย อันที่มักกล่าวถึงให้ความหมายของภาวะผู้นำคือ ทักษะ ความสามารถในการ “นำ” หรือให้แนวทางแก่คน ทีม หรือองค์กร

คำถามคือในยุคสมัยนี้ที่คนรุ่นใหม่ เจเนอเรชั่น Y และ Z กลายเป็นคนหมู่มากในองค์กรถึง 75% และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่สามารถทำงานที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้นั้น คนรุ่นใหม่เขาจะยอมให้เรา “นำ” ในแบบเดิมๆ อีกหรือ?

เมื่อปีที่แล้ว Business Roundtable ได้ประกาศให้องค์กรต่างๆ เริ่มกลับมาทบทวนเป้าหมายขององค์กร ซึ่งเป้าหมายขององค์กรนั้นมากกว่าคำว่า ยอด ผลกำไร แต่หมายถึงเป้าหมายในการดำเนินกิจการเพื่อลูกค้า พนักงาน ผู้มีส่วนได้เสีย และชุมชน ซึ่งนี่คือบทบาทสำคัญของผู้นำองค์กรในยุคนี้ในการหาให้เจอว่าธุรกิจของคุณดำเนินไปเพื่ออะไร หากคุณรู้ คุณจึงจะเห็นภาพอนาคตที่แท้จริงขององค์กร รู้ว่าในทุกวันทำงานต้องทำอะไร เพื่อใครบ้าง และพามันไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้

เมื่อบทบาทของผู้นำองค์กรในวันนี้เปลี่ยนไป ไม่ใช่นำองค์กรเพื่อเป้า ยอด หรือเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ 3 ปี 5 ปี คำจำกัดความของผู้นำจึงต้องเปลี่ยนตาม

บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป ได้สรุป “บทบาทที่เปลี่ยนไปของผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21” ในงาน A New Decade of Leadership and Learning ที่ทาง บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จัดขึ้น เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ผ่านมาดังนี้

1. See Opportunity in Everything: เปลี่ยนจากบริหารความเสี่ยง (Managing Risk) เป็นสนับสนุนให้กล้าเสี่ยง (Taking Risk) แสวงหาโอกาสภายใต้ความท้าทาย โดยหาโอกาสจากการใช้จุดแข็งจากคน 5 เจเนอเรชั่นในองค์กร และเปลี่ยนมุมมองในการจัดระบบบริหารทรัพยากรจากแบบ Employment คือคิดแบบนายจ้างลูกจ้าง เป็นแบบ Deployment คือเน้นการบริหารทรัพยากร ไม่จำกัดจะทำงานกับใคร ไม่ยึดติดรูปแบบการทำงานและโครงสร้างองค์กรเดิมๆ แต่มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสนับสนุนซึ่งกันและกัน

2. Lead with Purpose: เปลี่ยนจากเน้นที่ผลกำไร (Profit) มาเน้นที่การสร้างเป้าหมายร่วมกันทั้งองค์กร (Shared Purpose) ในการเข้าสู่ปี 2020 หลายองค์กรหันกลับมาทบทวนเป้าหมายที่แท้จริงว่าองค์กรอยู่เพื่ออะไร ซึ่งไม่ได้อยู่เพียงเพื่อผู้ถือหุ้น แต่เพื่อพนักงาน ลูกค้า และสังคมด้วย การสร้างเป้าหมายร่วมกันได้นั้น ต้องสร้างวัฒนธรรมให้คนมีความรับผิดชอบ (Accountability Culture) ขจัดความคิดแบบ Silo และปลูกฝังให้คนคิดแบบ Above the line กล่าวคือมองเห็นโอกาสมากกว่าปัญหา และมองเห็นทางออกของปัญหามากกว่าคิดว่าตนเองเป็นเหยื่อ และทุกคนสามารถเป็นผู้นำองค์กรได้ แม้จะไม่มีตำแหน่ง ไม่มีลูกน้องก็ตาม เพราะองค์กรในวันนี้จะรอผู้นำเพียงคนเดียวมานำองค์กรได้ แต่ต้องสร้างผู้นำทั่วทั้งองค์กร (Shared Leadership) เพื่อความยั่งยืน

3. Unleash Passionate Pursuits: เปลี่ยนจาก Leading Complexity เป็น Leading Wellness ด้วยการช่วยคนบริหาร Passion (Passion Management) บริหารพลังงาน (Energy Management) เพื่อพนักงานในองค์กรจะได้มีสุขภาพที่ดี มีพลังเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สำคัญของการเรียนรู้ในองค์กร ไม่ได้อยู่ที่ว่าเรียนมากน้อยแค่ไหน แต่อยู่ที่ความอยากและการนำสิ่งที่เรียนรู้มาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรอย่างแท้จริง

4. Expect the Unexpected: เปลี่ยนจากสร้างกลยุทธ์เดียวมาเป็นมองหาวิธีการไปสู่เป้าหมายหลายๆ แบบ เช่น มีแผน 1 แผน 2 แผน 3 ดังนั้นแผนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ถ้ามันไม่เวิร์ค นอกจากนี้วิธีการไปสู่เป้าหมายนั้นอาจเป็นวิธีการใหม่ ๆ จึงต้องเปิดใจยอมรับ เพราะโลกปัจจุบันมีหลายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตัวอย่างเช่น การนำ AI มาเป็น Key Influencer แทนคน อย่างกรณีของสาวน้อย Lil Miquela ซึ่งปัจจุบันมีคนทั่วโลกติดตามในอินสตาแกรมถึง 2 ล้านคน และเธอยังเป็น Presenter ให้กับสินค้าแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Calvin Klein และ Prada หรือการใช้เกมส์ในการทำการตลาดในรูปแบบใหม่ที่เหมาะกับคนเจเนอเรชั่นใหม่ที่เปลี่ยนไป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0