โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สถิติฟ้อง “หุ้นตลาดเกิดใหม่” มักผลตอบแทนไม่ดี...ช่วง “FED” ใช้นโยบายการเงินเข้มงวด !!!

Wealthy Thai

อัพเดต 15 ก.พ. 2565 เวลา 10.35 น. • เผยแพร่ 03 ต.ค. 2564 เวลา 19.29 น. • โต๊ะกองทุน Wealthythai

ในช่วงที่ผ่านมา ประเด็นเรื่องการปรับตัวขึ้นของ “อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (Bond Yield)” อายุ 10 ปีได้กลับมาพูดถึงกันอีกครั้ง
หลังจากที่มีสัญญาณการปรับตัวขึ้น หลังเด้งขึ้นมาช่วงช่วงต้นเดือนก.ย.จากระดับ 1.3% ขึ้นมาจนถึง 1.5% ในปลายเดือนก.ย. จนเขย่าตลาดหุ้นไปทั่วโลกเหมือนช่วงต้นปีที่ผ่านมา (แตะระดับ 1.6-1.7%)
ก่อนที่จะปรับตัวลงมาเหลือ 1.46% ในปัจจุบัน แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนทั่วโลกจับตาอย่างใกล้ชิด
วันนี้ ทีมงาน ‘โต๊ะกองทุน Wealthythai’ มีมุมมองพร้อมคำแนะนำการลงทุนที่น่าสนใจมาฝากกันเช่นเคย

TISCO ESU” แนะจับตา ‘Bond Yield’ ใกล้ชิด…ชี้ ‘หุ้นยุโรป-ญี่ปุ่น’ น่าสนใจ-เหตุราคาถูกกว่า ‘หุ้นสหรัฐ’ ในรอบ 10 ปี

โดย“คมศร ประกอบผล” หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) บอกว่า เพื่อสร้างความชัดเจนให้กับนักลงทุน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ได้ประเมินโดยใช้แบบจำลอง (Earning Yield Gap Model) พบว่า หาก Bond Yield” พุ่งขึ้นเกิน1.7% “ตลาดหุ้นโลก” ก็มีความเสี่ยงที่จะ ‘ปรับฐาน’ โดยเฉพาะหุ้นใน ‘ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets)’ ที่มีความอ่อนไหวต่อนโยบายการเงินของสหรัฐเป็นอย่างมาก ซึ่งจากการศึกษาความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในช่วงที่ FED ปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น พบว่า ‘ตลาดหุ้น Emerging Markets’ มักให้ผลตอบแทนต่ำและให้ผลตอบแทนติดลบ 6 ครั้ง จากทั้งหมด 7 ครั้ง สาเหตุส่วนหนึ่งมากจากแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น ในขณะที่ตลาดหุ้นในกลุ่ม ‘ประเทศพัฒนา (Developed Market)’ แล้วส่วนใหญ่ยังสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้โดยเฉพาะตลาด ‘หุ้นยุโรป’ และ ‘ญี่ปุ่น’ ที่มักให้ตอบแทนสูงกว่าตลาด ‘หุ้นสหรัฐ’

(คมศร ประกอบผล)

“นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ในตลาดต่างคาดการณ์กำไรปี 2021 ของตลาดหุ้นสหรัฐ (S&P 500) ตลาดหุ้นยุโรป (STOXX 600) และตลาดหุ้นญี่ปุ่น (Nikkei 225) ว่าจะเติบโตในอัตราที่ใกล้เคียงกันราว 7 - 9% แต่มูลค่า (Valuation) ของตลาดหุ้นยุโรป และญี่ปุ่นยังเทรดในระดับที่ถูกกว่าตลาดหุ้นสหรัฐค่อนข้างมาก โดยค่า Forward P/E ของตลาดหุ้นยุโรป (STOXX 600) และตลาดหุ้นญี่ปุ่น (Nikkei 225) เทรดในระดับต่ำกว่า (Discount) ตลาดหุ้นสหรัฐ (S&P 500) มากถึง -24% และ -29% ตามลำดับ ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่ Discount มากสุดในรอบกว่า 10 ปี” 
จากประเด็นข้างต้นจึงแนะนำให้นักลงทุนจับตา “Bond Yield” สหรัฐอย่างใกล้ชิด พร้อมปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่ม ‘Emerging Market’ ลงหาก Bond Yield พุ่งขึ้นใกล้ระดับ1.7% และอาจใช้จังหวะที่ตลาดปรับฐานเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาด ‘หุ้นยุโรป’ และ ‘ญี่ปุ่น’ ต่อไป 

“บลจ.ไทยพาณิชย์” มั่นใจธีม “Healthcare” ในระยะยาวยังมีแนวโน้มที่ดี

ด้าน “อาชวิณ อัศวโภคิน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด บลจ.ไทยพาณิชย์ จำกัด มองว่า ธีม “หุ้นสุขภาพ (Healthcare)” ยังเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ อุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ทั่วโลกตั้งแต่ต้นปี 2021 จนถึงปัจจุบัน กลุ่มนี้นับว่าเป็นอีกกลุ่มที่ได้รับประโยชน์หลังจากเผชิญความผันผวนอย่างหนักภายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาส 2 ในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้การที่ “ธนาคารกลางทั่วโลก” ยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการคงดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนโยบายการคลังของประเทศหลักทั่วโลกก็ยังคงเอื้อให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้

(อาชวิณ อัศวโภคิน)

“อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นทั่วโลกอาจเผชิญความผันผวนได้ในระยะสั้นจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักของโลกนำโดยสหรัฐ ที่อาจจะมีการลดการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบในช่วงปลายปี 21 แต่ในระยะยาวนั้น ‘กลุ่มเฮลธ์แคร์’ ก็ยังคงได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร นวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ และมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นและความเจริญที่ขยายตัวทั่วโลก ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี”
สำหรับใครที่กำลังมองหาตลาดหรือธีมการลงทุนที่น่าจะตอบโจทย์ในช่วงนี้ เชื่อว่าทั้ง ‘หุ้นยุโรป-หุ้นญี่ปุ่น-Healthcare’ น่าจะเป็นทางเลือกที่เติมเต็มพอร์ตได้เป็นอย่างดี

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0