โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

Finnomena

อัพเดต 06 ก.ย 2562 เวลา 08.10 น. • เผยแพร่ 22 ส.ค. 2562 เวลา 06.53 น. • FINNOMENA Admin

เชื่อว่าใครๆ ก็อยากมีเงินล้านกันทั้งนั้น ซึ่งหนึ่งในวิธีสร้างเงินล้านก็คือการลงทุน ทีนี้ แต่ละคนอาจจะมีวิธีการลงทุนที่ไม่เหมือนกัน แต่บทความนี้อยากจะขอเน้นไปที่กองทุนรวมสักหน่อย เพราะเนื่องจากเราได้ยินมาว่าหลายคนสับสนเวลาต้องเลือกกองทุนสักกอง อยากรู้ว่าควรดูปัจจัยอะไรเพื่อเปรียบเทียบกองทุนแต่ละกองบ้าง วันนี้เราเลยจะขอมาอธิบายถึงความสำคัญของปัจจัยแต่ละข้อ พร้อมเครื่องมือที่ชื่อว่าFund Filter ที่จะทำให้คุณคัดเลือกกองทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น!

ก่อนอื่นเลย เข้าไปที่ https://www.finnomena.com/fund/filter แล้วเลือกแถบที่เขียนว่า“จัดอันดับกองทุน”

(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

เราขอแบ่งข้อมูลสำหรับการกรอง เป็นสองส่วนใหญ่ๆ นั่นคือ 1. ข้อมูลเบื้องต้นของกองทุน และ 2. ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ซึ่งยิ่งย้อนไปยาวเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้เราเห็นภาพรวมของกองทุนนั้นๆ ชัดเจนขึ้น ว่าแล้วก็มาเริ่มกันที่แถบแรกก่อน

1. ข้อมูลเบื้องต้นของกองทุน

เราในฐานะผู้ลงทุนควรพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นของกองทุนที่เราสนใจก่อน เพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวตอบโจทย์เป้าหมายของเรา ไม่ว่าเราจะลงทุนเพื่อเป้าหมายอะไรก็ตาม ข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้ของกองทุนควรสอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนของเรา

(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

ประเภทกองทุน

ถือเป็นสิ่งแรกๆ ที่ควรดู เพราะประเภทกองทุนจะบอกเราว่ากองทุนนั้นๆ ไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหนเป็นหลัก ซึ่งสินทรัพย์แต่ละประเภทก็จะมีความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนคาดหวังที่แตกต่างกันไป เราสามารถแบ่งประเภทกองทุนออกคร่าวๆ ได้ 6 แบบด้วยกัน ตามภาพเลย ในแต่ละแบบยังมีแยกย่อยลงไปอีก ลองจิ้มที่ลูกศรใกล้ๆ ชื่อของประเภทกองทุนดูนะ

(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

บลจ.

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ บลจ. คือสถาบันการเงินผู้ออกกองทุนรวม ที่เราคุ้นเคยชื่อกันส่วนใหญ่ก็จะเป็น บลจ. ที่อยู่ในเครือเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์ แต่จริงๆ แล้วก็มี บลจ. ที่ไม่ได้อยู่ในเครือเดียวกับธนาคารด้วยเช่นกัน การเลือก บลจ. ก็อาจจะขึ้นอยู่กับแนวทางการบริหารของแต่ละ บลจ. ที่มีความโดดเด่นแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทกองทุน

(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

ผลประโยชน์ทางภาษี

สำหรับมนุษย์วัยทำงาน นอกจากกองทุนรวมแบบปกติแล้ว ยังมีกองทุนรวมที่ช่วยลดหย่อนภาษี อย่าง LTF และ RMF ด้วย โดย LTF นั้นจะลงทุนแค่หุ้นไทย แต่ RMF จะลงทุนได้หลากหลายกว่า

เงินปันผล

เงินปันผลคือกระแสเงินสดที่ทางกองทุนจะจ่ายออกมาให้เรา เมื่อกองทุนทำกำไรได้ หรือ บริษัทที่กองทุนไปลงทุนนั้นจ่ายปันผลออกมา เราจะเลือกรับปันผลหรือเปล่านั้นก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายการลงทุนของเรา หากมีเงินก้อนใหญ่แล้วต้องการกระแสเงินสด กองทุนที่จ่ายปันผลก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องการให้เงินงอกเงยต่อไปเรื่อยๆ และยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินเร็วๆ นี้ การเลือกกองทุนไม่จ่ายปันผลก็จะเป็นตัวเลือก

(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

มาลองดูตัวอย่างการคัดเลือกกองทุนกัน

(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

2. ผลดำเนินการย้อนหลัง

ผลตอบแทนย้อนหลัง

อาจจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่หลายคนเลือกดู เพราะใครๆ ก็อยากได้ผลตอบแทนกันทั้งนั้น การดูผลตอบแทนย้อนหลังจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่เราควรทำคือดูผลตอบแทนย้อนหลังยาวๆ ยิ่งยาวเท่าไรยิ่งดี เพราะจะทำให้เราเห็นภาพรวมของกองทุนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องอย่าลืมว่าผลการดำเนินงานในอดีตมิได้ยืนยันผลตอบแทนในอนาคต เราจึงไม่สามารถอ้างอิงการตัดสินใจทั้งหมดกับผลตอบแทนในอดีตได้ สิ่งนี้มีไว้เพื่อประกอบการตัดสินใจบางส่วนของเราเท่านั้น

(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

Standard Deviation (SD)

นอกจากผลตอบแทนแล้วเราก็ต้องดูความเสี่ยงด้วย ค่า Standard Deviation หรือ SD คือตัววัดค่าเบี่ยงเบนจากมาตรฐาน หรือพูดง่ายๆ ว่าผลตอบแทนที่เราอาจจะได้รับนั้นมีสิทธิ์เหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงจากค่าเฉลี่ยมากน้อยแค่ไหน ยิ่งตัวเลขมี % สูงมากเท่าไร ก็ยิ่งหมายความว่าผลตอบแทนมีความผันผวนมากเท่านั้น นั่นหมายความว่ากองทุนที่ลงในสินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างหุ้นหรือโภคภัณฑ์ ก็จะมีค่า SD ที่สูงกว่ากองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ อย่าง ตราสารหนี้หรือตราสารเงิน

Sharpe Ratio

Sharpe Ratio คือผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยง ฟังแล้วอาจจะยังงงๆ แต่จริงๆ แล้วมันก็คืออัตราผลตอบแทนหารด้วยความเสี่ยงนั่นเอง ตัวเลขที่จะได้รับ ก็คือเราจะได้รู้ว่าผลตอบแทนนั้นนับเป็น “กี่เท่า” ของ 1 หน่วยความเสี่ยง สมมติว่าถ้าผลออกมา 1 ก็แปลว่าความเสี่ยงกับผลตอบแทนมีค่าเท่ากัน แต่ถ้าน้อยกว่า 1 แปลว่าความเสี่ยงเยอะกว่าผลตอบแทน ถ้ามากกว่า 1 ก็แปลว่าความเสี่ยงน้อยกว่าผลตอบแทน โดยรวมแล้ว ยิ่งตัวเลข Sharpe Ratio สูง ก็ยิ่งดี

Max Drawdown

Max Drawdown คือผลขาดทุนสูงสุด ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา ทำให้เราเห็นภาพว่าถ้าเราลงทุนจริงๆ ในช่วงนี้ เรามีโอกาสสูญเสียเงินต้นมากที่สุดเท่าไร ตัวเลขนี้จะทำให้เราเข้าใจความเสี่ยงของกองทุนมากขึ้น เพราะเป็นเปอร์เซ็นต์ติดลบที่เราสามารถลองนำมาคำนวณดูได้ เช่น ถ้าลงทุนด้วยเงินต้น 1,000,000 บาท แล้ว Max Drawdown ในระยะเวลา 3 ปีคือ -10% แปลว่าหากเราใช้เงินก้อนนี้ลงทุนเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เราจะเจอจุดที่เงินต้นเราเหลือเพียง 900,000 บาท ณ จุดๆ หนึ่ง

ทีนี้ ลองมาดูตัวอย่างว่าถ้าเรากรอกข้อมูลผลตอบแทนกับความเสี่ยงเพิ่ม จะเป็นอย่างไร

(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

ค่าธรรมเนียม

เป็นอีกสิ่งที่สมควรตรวจสอบมากๆ เพราะค่าธรรมเนียมก็เหมือนค่าซื้อกองทุนนั่นเอง หากกองทุน 2 กองมีความเหมือนกันทุกอย่าง สิ่งที่จะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกกองได้ก็คือค่าธรรมเนียม ยิ่งถูกยิ่งดี เพราะค่าธรรมเนียมนี้จะกระทบผลตอบแทนที่เราได้รับด้วย บางกองก็มี Front-End Fee หรือค่าธรรมเนียมขาเข้า (ตอนซื้อ) บางกองก็มี Back-End Fee หรือค่าธรรมเนียมขาออก (ตอนขาย) แต่ที่ต้องมีทุกๆ กองคือ Management Fee หรือค่าธรรมเนียมการจัดการ ซึ่งจะจัดเก็บเป็นรายปี อย่าลืมเทียบค่าธรรมเนียมเหล่านี้ในแต่ละกองด้วยนะ

(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

หากอยากจะเคลียร์ข้อมูล คัดเลือกใหม่ทั้งหมด ก็กดที่ปุ่ม “รีเซ็ตการกรอง” ได้เลย

(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

เพียงเท่านี้ เราก็จะได้รายชื่อกองทุน ที่มีคุณลักษณะตามแบบที่ต้องการ ไว้สำหรับนำไปศึกษาข้อมูลต่อแล้ว ไม่ยากเลยจริงๆ 

(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !
(เงินล้าน) คัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ง่ายๆ เพียงใช้สิ่งนี้ !

สำหรับใครที่อยากทดลองคัดเลือกกองทุนด้วยปัจจัยเหล่านี้ ลองเข้าไปเล่นกันได้เลยที่ https://www.finnomena.com/fund/filterเราเชื่อว่า การคัดเลือกกองทุนแบบที่ตรงกับสไตล์และเป้าหมายของเรา จะช่วยให้เราเดินทางถึงเงินล้านได้ง่ายขึ้นแน่นอน

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต|  ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0