โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ความเป็นมา "วินมอเตอร์ไซค์" อาชีพให้บริการ ที่เพิ่งยกพวกตีกันสดๆ กลางกรุง

Amarin TV

เผยแพร่ 15 มิ.ย. 2562 เวลา 07.03 น.
ความเป็นมา
กลายเป็นประเด็นร้อนที่ได้รับความสนใจในโลกออนไลน์อีกครั้ง เมื่อกลุ่ม วินมอเตอร์ไซค์ กลุ่มใหญ่หลายสิบคนพร้อมอาวุธครบมือ ได้ก่อเหตุยกพวกตีกันกล

กลายเป็นประเด็นร้อนที่ได้รับความสนใจในโลกออนไลน์อีกครั้ง เมื่อกลุ่ม วินมอเตอร์ไซค์ กลุ่มใหญ่หลายสิบคนพร้อมอาวุธครบมือ ได้ก่อเหตุยกพวกตีกันกลางถนน มีการขว้างปาสิ่งของใส่กัน ท่ามกลางความตื่นตกใจของผู้ที่สัญจรผานไปมาย่าน ตลาดอุดมสุข โดยในคลิปเป็นเหตุการณ์ความวุ่นวาย มีเสียงตะโกนด่าทอใส่กัน ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่สายตรวจเข้าระงับเหตุ

แม้จะไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดปัญหาเช่นนี้ในสังคมไทย และคงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ หากไม่มีมาตรการออกมาควบคุมอย่างเด็ดขาด แต่ก่อนจะมีการแก้ปัญหาทุกอย่าง เราควรได้ทราบความเป็นมาของปัญหาเหล่านั้นเสียก่อน รวมทั้งความเป็นว่าของวินมอเตอร์ไซค์ที่เป็นผู้ก่อเหตุในหลายๆ ครั้งด้วย

จากข้อมูลของ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของ “มอเตอร์ไซค์รับจ้าง” กลุ่มแรกในประเทศไทย มีต้นกำเนิดมาจากจากชาวสวนยางพาราทางภาคใต้ ที่นำยางแผ่นไปขายให้พ่อค้า แต่เพราะสภาพถนนในสมัยก่อนยังเป็นทางเล็กๆ และทุรกันดาร ต้องใช้มอเตอร์ไซค์เป็นหลัก

ส่วนในกรุงเทพฯ นั้น สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้มีการอ้างอิงบทสัมภาษณ์ของเรือเอกสมบูรณ์ บุญศักดิ์ดี อดีตผู้จัดการคิวรถมอเตอร์ไซค์ ในซอยงามดูพลี ในนิตยสาร Thailand Business ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526 ทำให้ทราบว่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างสายแรกในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นที่ซอยงามดูพลี และย่านชานเมืองบริเวณดอนเมืองและบางกะปิ ซึ่งได้ให้เหตุผลเกี่ยวกับการจัดตั้งคิวรถมอเตอร์ไซค์ไว้ว่า…

*ในซอยงามดูพลีมีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แฟลตทหารเรือซึ่งอยู่ห่างจากถนนพระรามสี่ถึง 0.8 ก.ม. มีคนอาศัย 300 ครัวเรือน และมีอีก 200 ครัวเรือนในชุมชนที่ห่างจากถนน 1.2 ก.ม. คนเหล่านี้มีรายได้น้อยจึงไม่มีเงินจ้างแท็กซี่หรือสามล้อ เข้าออกจากซอย สมัยก่อนตอนเย็นคนเหล่านี้ต้องเดินเข้าซอยมืดๆ ซึ่งอันตรายเพราะมักมีการจี้ปล้นบ่อยๆ ในซอย ครอบครัวเหล่านี้จึงต้อง คอยดูแลลูกหลานของตนเวลาเข้าออก พ่อบางคนต้องไปรอรับลูกสาวที่กลับบ้านมืด เวลานั้นมีรถมอเตอร์ไซค์ 4-5 คันที่แฟลตทหารเรือ เจ้าของจะช่วยรับส่งคนรู้จักเข้าออกจากซอยโดยไม่คิดเงิน *

ต่อมาคนอาศัยรถรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมจึงออกเงินช่วยค่าน้ำมัน ในเดือนมิถุนายน 2524 นายทหารเรือกลุ่มหนึ่งจึงรวบรวมคนในแฟลตที่มีรถมอเตอร์ไซค์มาตั้งเป็นชมรมมอเตอร์ไซค์แฟลตทหารเรือ เพื่อให้บริการ รับส่งคนตอนเช้าและเย็นโดยคิดค่าโดยสาร 2-3 บาทต่อคน ในไม่ช้าบริการนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยม ทำให้คนขับหาเงินได้มาก จึงเริ่มมีคนขับ มาร่วมชมรมมากขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจไป

หลังจากนั้นคนขับมอเตอร์ไซค์ในวินได้ร่วมกันกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อควบคุมพฤติกรรมการให้บริการ กฎเหล่านี้ได้แก่การกำหนดค่าอัตราโดยสารตายตัวเพื่อป้องกันคนขับบางคนโก่งราคาค่าโดยสาร ระเบียบการจอดรถและการจัดคิวรถ การห้ามแข่งรถในขณะมีผู้โดยสาร เพื่อรักษาความปลอดภัย ห้ามดื่มสุราและเล่นการพนันระหว่างปฏิบัติงาน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างขยายตัวอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีที่กองกำกับการตำรวจนครบาล มีข้อสรุปว่าการใช้รถมอเตอร์ไซค์ให้บริการขนส่งผู้โดยสารไม่ผิดพระราชบัญญัติการใช้รถยนต์ และอธิบดีกรมการขนส่งทางบกก็ลงความเห็นเช่นกันว่า มอเตอร์ไซค์รับจ้างไม่ผิดกฎหมายการใช้รถและกฎหมายการขนส่งทางบก ความเห็นดังกล่าวทำให้สถานีตำรวจในกรุงเทพฯ ยินยอมให้มีการตั้งวินมอเตอร์ไซค์ ในท้องที่ของตนเพิ่มขึ้น จากการสำรวจคิวรถมอเตอร์ไซค์จำนวน 49 วิน ปรากฏว่า 22 วิน (เกือบร้อยละ 45) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525-2527

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0