โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ความปกติใหม่ ( New Normal ) เชิงพฤติกรรมของเมืองและโลกใบนี้ หลังจบ COVID-19

TERRABKK

อัพเดต 03 เม.ย. 2563 เวลา 05.03 น. • เผยแพร่ 02 เม.ย. 2563 เวลา 11.00 น. • TERRABKK
ความปกติใหม่ ( New Normal ) เชิงพฤติกรรมของเมืองและโลกใบนี้ หลังจบ COVID-19
ความปกติใหม่ ( New Normal ) เชิงพฤติกรรมของเมืองและโลกใบนี้ หลังจบ COVID-19

ความเห็นพ้องจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จากหลายประเทศทั่วโลกในตอนนี้ ต่างมองไปในทางเดียวกันว่าไวรัสโคโรนา มีทีท่าว่าจะส่งผลกระทบอีกยาวนานอย่างน้อย6 เดือนถึง1 ปีดังนั้นในปัจจุบันนี้นอกจากจะต้องบริหารจัดการธุรกิจและชีวิตอย่างระแวดระวังแล้ว สิ่งที่ทุกคนควรต้องรู้คือ จะทำอย่างไรให้ฟื้นตัวได้เร็วที่สุดหลังจากจบวิกฤตการณ์นี้

 

พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทันทีระหว่างการเกิดโรคระบาด

ต้องบอกว่าไวรัสโคโรนา ไม่เพียงแต่จะสร้างผลกระทบเชิงการแพทย์และสาธารณสุขเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมให้กับทุกประเทศทั่วโลก สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันทีในยุคนี้จึงไม่ใช่แค่เพียง การแทนที่(Disruption) แต่เป็นแนวโน้มของการเกิด ความปกติใหม่(New normal) ซึ่งจะส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติของโลก

ในข้อแรกคือ ชีวิตของพลเมืองถูกจำกัดให้อยู่ในพื้นที่ส่วนตัวอย่างคุ้นชิน พื้นที่เมืองกลายเป็นพื้นที่อันตรายที่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือรัฐ ในการงดออกมาข้างนอกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ส่งผลให้ความสัมพันธ์เชิงสังคม ถูกบีบให้อยู่บนโลกออนไลน์แทบจะเต็มรูปแบบ

พฤติการณ์เหล่านี้เองส่งผลให้เกิดแนวโน้มของ ความปกติใหม่(New Normal) ทั้งในแง่ของ การเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์บนทุกมิติของการใช้ชีวิต พฤติกรรมของคนที่เริ่มอยู่เป็นสันโดษในชีวิตจริง แต่มีปฏิสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ จะเริ่มส่งผลเชิงพื้นที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • ออฟฟิศให้เช่า(Rental office) จะมีขนาดเล็กลง- เนื่องจากการทำงานแบบRemote เพิ่มมากขึ้น การถูกบังคับให้ปรับรูปแบบการทำงานของหลายบริษัทอย่างฉับพลัน ทำให้อุปสรรคการทำงานแบบออนไลน์ค่อยๆถูกปลดผนึกปัญหา และเริ่มสร้างความเคยชินให้กับบริษัททีละน้อย ทำให้การทำงานแบบRemote ถูกมองว่าเป็นปัญหาน้อยลง ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีการทำงานแบบ Remote เพิ่มในอนาคต ซึ่งพื้นที่ออฟฟิศขนาดใหญ่อาจเปลี่ยนเป็นพื้นที่เล็กลง
  • ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมถูกยกระดับความสำคัญ เนื่องมาจากความกังวัลด้านสุขภาพ ปัญหามลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาวะเมืองเป็นประเด็นที่ยากจะแก้ไขมานาน ก็เริ่มมองเห็นความคลี่คลาย โดยจากการไม่ออกนอกบ้านนี้เอง ทำให้ประชากรเมืองมองเห็นผลลัพธ์ในประเด็นสิ่งแวดล้อมได้ทันที สิ่งนี้มีผลโดยตรงต่อจิตใจประชากรเมืองที่กำลังหวาดหลัวและตื่นตัวในประเด็นด้านสุขภาพมากขึ้น
  • ร้านค้า(Store & Shop) มีความสำคัญน้อยลง การจับจ่ายใช้สอยสิ่งของที่ไม่ใช่สินค้าบริโภคจะเข้าสู่รูปแบบออนไลน์มากขึ้น อีกทั้งร้านค้าเริ่มมีการปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ ทำให้คนเคยชินกับการไม่เข้าหน้าร้าน นอกจากนั้นภาพการรับรู้ของคนในปัจจุบัน เริ่มมองพื้นที่ด้านนอกว่าเป็นพื้นที่เสี่ยง ดังนั้นหน้าร้านในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ จะเริ่มมีความสำคัญน้อยลง และน้อยลงมากกว่าการเข้ามาแทนที่(Disruption) ของการขายออนไลน์ในช่วงก่อนหน้านี้
  • ตลาดวิชาอยู่บนโลกออนไลน์- ภายหลังจบวิกฤตโควิด19 จะไม่ได้ทำให้มหาวิทยาลัยหมดความสำคัญแต่การเรียนการสอนบนโลกออนไลน์จะมีเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะคอร์สออนไลน์ในบางวิชาของการทำงานที่มหาวิทยาลัยไม่ได้มีสอน
  • คุณค่าของผลิตภัณฑ์บนโลกออนไลน์มีมากขึ้น จากเดิมที่ระบบออนไลน์เปลี่ยนโลกไปแล้วหนึ่งครั้ง ในครั้งนี้วิกฤตโคโรนาจะเป็นตัวเร่งให้โลกออนไลน์เข้ามาเปลี่ยนโลกอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง ทุกผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่บนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น บุคคล แบรนด์ บริษัท หรืออะไรก็ตาม จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่ทุกคนต่างเข้าหาจนคุ้นชิน และกลายเป็นความเชื่อมั่น ดังนั้นในช่วงระหว่างวิกฤตนี้ แบรนด์ไหนที่ทำได้ดีก็มีสิทธิ์ได้ไปต่อมากกว่า

 

 

โลกจะมีNew Normal อย่างไร?

ประเด็นความเป็นไปของโลกภายหลังวิกฤตไวรัสโคโรนา กลายเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในวงกว้างทั่วโลก มีความคิดเห็นจากนักวิชาการมากมายที่สอดคล้องไปในทางเดียวกันว่า อิทธิพลของความเป็นโลกาภิวัฒน์(Globalization) จะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ขอสรุปโดยรวบรัดดังนี้

 

โลกแคบลง แต่ห่างกันมากขึ้น เชิงความรู้สึก

ปรากฎการณ์โควิด19 ทำให้ปรากฎการณ์ตัวใครตัวมัน ของแต่ละประเทศ ถึงแม้ว่าไวรัสโคโรนาจะเป็นปัญหาที่กระทบไปทั่วโลก แต่กลับไม่เห็นความร่วมมือหรือมาตรการที่ออกมาจากประชาคมโลกอย่างเท่าเทียมในแต่ละประเทศ การจัดการในปัจจุบันนี้เป็นการจัดการแบบตัวใครตัวมัน โดยในช่วงเวลานี้ประชากรแต่ละประเทศจะเริ่มรู้สึกถึงความเป็นชาตินิยมที่จะต้องพาประเทศตัวเองให้รอดก่อนอันดับแรก

 

ถึงเวลาที่จีนจะเป็นศูนย์กลางของโลก และประเทศในเอเชียจะได้รับความเชื่อมั่นมากขึ้น

ถึงแม้จีนจะเป็นจุดต้นกำเนิดของประเกิดโรคระบาดนี้ แต่ในแง่ของการบริหารจัดการและควบคุมการแพร่ระบาด จีนพิสูจน์ให้โลกเห็นแล้วว่าเด็ดขาดและฉับไว ทำคะแนนได้ดีกว่าสหรัฐอเมริกาในสายตาประชากรโลกและอาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนของการเป็นผู้นำโลก

Kishore Manhbubani อดีตผู้อำนวยการองค์การความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(United Nations Security Council: UNSC) ได้ให้เหตุผลในเรื่องนี้ว่าไวรัสโคโรนาทำให้เกิดความแตกต่างด้านความศรัทธาของประชากรในชาติระหว่างจีนกับอเมริกา ในขณะที่ประชากรจีนไม่ผิดหวังกับการจัดการของประเทศตัวเอง แต่ประชากรสหรัฐอเมริกา กลับเริ่มเสียศรัทธาไปแล้ว

เช่นเดียวกับการจัดการของหลายประเทศในเอเชีย ซึ่งมีการจัดการและควบคุมการแพร่ระบาดได้รวดเร็วมากกว่า เห็นได้ชัดจากตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมในฝั่งยุโรปและอเมริกาที่เพิ่มสูงขึ้นจนแซงหน้าประเทศในตะวันออกไปแล้ว การฟื้นตัวเร็วของกลุ่มประเทศในเอเชีย จะเป็นเหมือนผู้กอบกู้เศรษฐกิจโลกและสร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุนมากขึ้น

 

ระบบเศรษฐกิจจะเปลี่ยนจากการขยายฐานการผลิต แต่เป็นระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น

การแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจในโลก จะเริ่มเปลี่ยนจากการพยายามขยายฐานการผลิตและการทำสงครามการค้า ไปสู่การมุ่งพัฒนาฐานการผลิตที่สามารถยืดหยุ่นได้ เนื่องจากไวรัสโคโรนาเป็นบทเรียนชั้นดี ที่ทำให้เห็นการหยุดชะงักทางการผลิตซึ่งเป็นเหมือนกันทุกประเทศทั่วโลก การขยายฐานการผลิตจึงไม่ใช่ทางออกที่มองหาอีกต่อไป แต่เป็นการสร้างฐานการผลิตใหม่ที่สามารถปรับตัวและยืดหยุ่นได้ แม้ได้รับผลกระทบเหมือนในวิกฤตครั้งนี้

 

 

 อ้างอิง:

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0