โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ความท้าทายภาครัฐ-เอกชนรับมืออัตราแลกเปลี่ยนผันผวน สกัดเก็งกำไรค่าบาท

สยามรัฐ

อัพเดต 21 ก.ค. 2562 เวลา 04.43 น. • เผยแพร่ 21 ก.ค. 2562 เวลา 04.43 น. • สยามรัฐออนไลน์
ความท้าทายภาครัฐ-เอกชนรับมืออัตราแลกเปลี่ยนผันผวน สกัดเก็งกำไรค่าบาท

ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นผลกระทบที่มีต่อค่าเงินบาทที่สำคัญคือ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่งผลให้มีทั้งผู้ได้และเสียประโยชน์ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1 บาท ทำให้รายได้จากการส่งออกหายไปแสนล้านบาท แต่รายจ่ายจากการต้องนำเข้าสินค้าเช่น น้ำมัน เครื่องจักร วัตถุดิบจากต่างประเทศก็ลดลงเป็นแสนล้านบาทเช่นกัน
.

ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นปี 2562 เงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 5% ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้เป็นสำคัญเช่น การเปลี่ยนทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED

แบงก์ชาติได้เข้าไปดูแลในบางช่วงที่เงินบาทแข็งค่าเร็วในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับพื้นฐานของเศรษฐกิจ เพื่อรองรับผลกระทบที่อาจมีต่อผู้ประกอบการ และได้เพิ่มความเข้มงวดในการติดตามธุรกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ไทยเป็นแหล่งพักเงินระยะสั้นเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่แบงก์ชาติไม่พึงประสงค์ แต่อีกด้านหนึ่งต้องระวังไม่ให้ถูกจัดเป็นประเทศที่แทรกแซงค่าเงิน (Currency Manipulator)

ในบริบทของเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนยากจะคาดเดา และในอนาคต ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้มีแนวโน้มลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการควรปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยอาจเลือกใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหลายวิธี

1.การใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างกัน (Local Currency) โดยปัจจุบันสินค้าที่ส่งออก 80% ยัง quote เป็น USD ขณะที่ส่งออกไปสหรัฐฯมีเพียง 10% ในบริบทที่เงิน USD มีแนวโน้มผันผวน การ quote ราคาสินค้าส่งออกในสกุลเงินของคู่ค้า หรือในรูปเงินบาทแทน USD จะช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและลดต้นทุนได้
.
2.การฝากเงินในรูปเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit: FCD) กรณีที่ผู้ประกอบการมีภาระต้องชำระค่าสินค้าและบริการในสกุลเงินต่างประเทศ
.
3.การล็อกเรทอัตราแลกเปลี่ยนว่าจะซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร (Forward)
.
4.การทำสัญญาล็อกเรทที่จะซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Futures) ผ่านตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX)
.
5.การประกันค่าเงิน (Options) หรือการซื้อสิทธิ์ที่จะซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศในอนาคตด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ตกลงไว้ล่วงหน้ากับธนาคาร ซึ่งปัจจุบันมีโครงการบริหารความเสี่ยง FX ของ SMEs ระยะที่ 2 โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าธรรมเนียม 50,000 บาทต่อกิจการ ซึ่งสามารถประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ประมาณ 4.7 ล้านบาท

ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่ใช้เครื่องมือทางการเงินในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน คือ Forward, Futures หรือ Options จะมีค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งค่าธรรมเนียมจากการปิดความเสี่ยงเป็นควรนับเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนในการทำธุรกิจในโลกสมัยใหม่

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0