โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

[ความคืบหน้า] เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยสร้างสกุลเงินดิจิทัลไว้ใช้เองในโครงการอินทนนท์

Brand Inside

อัพเดต 18 ก.ค. 2562 เวลา 09.42 น. • เผยแพร่ 18 ก.ค. 2562 เวลา 09.16 น. • Chutinun Sanguanprasit (Liu)
bank-of-thailand ธนาคารแห่งประเทศไทย BoT ธปท
bank-of-thailand ธนาคารแห่งประเทศไทย BoT ธปท

หลายคนคงเห็นข่าว Cryptocurrency (สกุลเงินดิจิทัล) นำมาใช้ในบางประเทศ ขณะเดียวกันราคาก็ยังผันผวนมาก อย่าง Bitcoin ราคาพุ่งขึ้นพุ่งลงจนตามไม่ทัน แต่ใครจะคิดว่าวันหนึ่งธนาคารกลางหลายแห่งรวมถึงแบงก์ชาติของไทยก็เริ่มทำสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองบ้าง

แบงก์ชาติไทยสร้างสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง มีไว้ทำไม?

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สร้างสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency : CBDC) ในโครงการอินทนนท์เพื่อเป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมและทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านระบบการชำระเงินของประเทศให้ดีขึ้น โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain หรือ DLT เป็นพื้นฐานภายในระบบ

ทั้งนี้ธปท.ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต ธนาครสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น นอกจากนี้ยังร่วมมือกับบริษัท R3 ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทด้าน Blockchain ระดับโลก

3 เฟสในโครงการอินทนนท์มีอะไรบ้าง?

ทั้งนี้ปี 2018 ธปท.ทดสอบโครงการอินทนนท์ระยะที่ 1 โดยศึกษาการปรับใช้กับการโอนเงินระหว่างธนาคารและธนาคาร รวมถึงธนาคารกับแบงก์ชาติได้โดยตรง ข้อดีคือทำให้เกิดการโอนเงินง่ายขึ้นตลอดเวลา และลดต้นทุนการทำธุรกรรม

ปัจจุบันเข้าสู่ระยะที่ 2 (ก.พ.-มิ.ย. 2562) จะขยายสู่การซื้อขายพันธบัตระหว่างธนาคาร ซึ่งใช้ระบบ Smart contract โดยแบงก์ชาติจะออก Bond Token และ CBDC เพื่อใช้ในการทำธุรกรรม เพื่อให้การซื้อขายพันธบัตรได้ตลอด 24 ชม.ทุกวัน นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลและตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินสำหรับลูกค้า จุดเด่นคือลูกค้าสามารถติดตามสถานะการโอนเงินได้ตลอดเวลา

ทั้งนี้โครงการอินทนนท์ระยะที่ 3 จะเริ่มในเดือนส.ค. 2562 โดยจะใช้เทคโนโลยี DLT ทดสอบการโอนเงินระหว่างประเทศ (cross-border funds transfer) และนำมาออกแบบเชิงธุรกิจรวมถึงการกำกับดูแล อย่างไรก็ตามธปท. มีแผนจะร่วมมือกับธนาคารกลางฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority: HKMA) เพื่อส่งเสริมการโอนเงินระหว่างประเทศให้มีต้นทุนที่ลดลงและประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต คาดว่าจะทดสอบเสร็จสิ้นในไตรมาส 4 ปี 2562

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0