โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คลังชวนคนแก่รวยสละเบี้ยยังชีพ “ตั้งเป้า5แสนคน”

PPTV HD 36

อัพเดต 18 ม.ค. 2562 เวลา 11.33 น. • เผยแพร่ 18 ม.ค. 2562 เวลา 10.24 น.
คลังชวนคนแก่รวยสละเบี้ยยังชีพ “ตั้งเป้า5แสนคน”
รัฐบาลยังเดินหน้าเชิญชวนให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้สูงสละสิทธิ์เบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง หลังมียอดผู้สละสิทธิ์ “เพียงหลักร้อยจากหลักล้าน” ทำให้การเพิ่มเงินเบี้ยยังชีพจาก 600 เป็น 1,000 บาทต่อเดือนยังไม่สามารถทำได้

ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อเดือนยังคงเป็นแบบขั้นบันได คือ อายุ 60-69 ปี รับเงินเดือนละ 600 บาท , อายุ 70-79 ปี ได้ 700 บาท , อายุ 80-89 ปี ได้ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไปได้เงินเดือนละ 1,000 บาท ซึ่งในจำนวนนี้พบว่า จากจำนวนผู้อายุทั้งหมด 7-8 ล้านคน มีเพียง 3 ล้านคนที่มาลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยจริงๆ ขณะที่อีก 5 ล้านคนเป็นผู้ที่มีฐานะปานกลางไปจนถึงดี และใน 5 ล้านคนนั้นมี 3 ล้านคนที่มีรายได้เป็นของตัวเอง

ส่งผลทำให้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 เป็นต้นมา รัฐบาลพยายามเชิญชวนให้ผู้สูงอายุ 5 ล้านคน เสียสละเพื่อนำเงินส่วนนี้ไปเพิ่มให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีรายน้อย จาก 600 บาท เป็น 1,000 บาท แต่ปรากฏว่ามีผู้สละสิทธิ์เพียง 400 คน กระทรวงการคลัง จึงเตรียมแผนในการผลักดันให้เกิดการตื่นตัวในการเสียสละมากขึ้น โดยปรับแผนโดยให้เชิญชวนผ่านเจ้าหน้าที่ธนาคาร

โดย นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า ประสานกับสมาคมธนาคารไทย จัดแคมเปญ ประชาสัมพันธ์ผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง โฆษณาผ่านตู้เอทีเอ็ม เพื่อช่วยกันชักชวนผู้มีรายได้สูง สละสิทธิ์ ซึ่งจะเริ่มในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2562” ซึ่งในช่วง 2 เดือนนี้ กระทรวงคลังพร้อมแจกเหรียญพระคลัง ให้กับผู้สละสิทธิ์ แต่หากจำเป็นต้องใช้เงินก็กลับมาแจ้งรับเงินได้

“เพราะยอดเงิน 600 บาทต่อเดือนอาจไม่เพียงพอ หากมีสละสิทธิ์สูงขึ้นอาจทำให้ผู้มีรายได้น้อยได้รับเงินเพิ่มจาก 600 บาท เพิ่มเป็น 1,000 บาทต่อเดือน”

นอกเหนือจากเบี้ยยังชีพแล้ว ผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐยังได้รับการช่วยเหลือเป็นค่าเช่าบ้าน 400 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองและต้องเช่าบ้านอยู่ รวมถึงการช่วยเหลือค่ารถให้กับผู้ป่วยผู้สูงอายุที่เดินทางมารักษาพยาบาลอีกคนละ 500-1,000 บาทต่อเดือน

“แต่ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลอาจจะมีการนำเสนอให้มีการโยกวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เป็นค่ารถไฟ หรือรถโดยสาร บขส. เพราะปกติผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยไม่ได้ใช้จ่ายเป็นค่าเดินทาง”

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0