โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ครบรอบ100ปีสงครามโลกครั้งที่1 กำลังกลายเป็นจุดเริ่มสงครามการค้า

Money2Know

เผยแพร่ 13 พ.ย. 2561 เวลา 06.33 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
ครบรอบ100ปีสงครามโลกครั้งที่1 กำลังกลายเป็นจุดเริ่มสงครามการค้า

ในโอกาสครบรอบ100 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่1 ทำให้มีสิ่งที่ต้องไตร่ตรองกันมากขึ้นกับผลของสงครามเพราะนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่1 เกิดขึ้นเมื่อ100 ปีพอดีในสัปดาห์นี้เป็นภาพของสงครามที่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตถึง10 ล้านคนการต่อสู้ในสมรภูมิการทำสงครามที่ขยายตัวไปใน32 ประเทศทั่วโลก

ช่วงเวลาเพียงแค่ 5 ปี ระหว่าง 1914 ถึง 1918 นั้น ภาพของสงครามและความสูญเสียที่เกิดขึ้น ยังคงมีอิทธิพลจนถึงทุกวันนี้ เมื่อผู้คนต่างจดจำว่า สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นการเผชิญหน้า ระหว่างกลุ่มมหาอำนาจในตะวันตก โดยเฉพาะสงครามเริ่มต้นจากฟากฝั่งยุโรป แต่ความจริงแล้ว มันเป็นการสะสมตัวที่หยั่งลึกมาตั้งแต่สมัยสงครามความขัดแย้งระหว่าง Franco-Prussian ในปี 1870-1871 เมื่อพบว่า เยอรมนีได้ค่อยๆ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง จนสามารถที่จะทำสงครามกับฝรั่งเศส

ในที่สุดเยอรมนีก็สามารถก้าวข้ามฝรั่งเศสในความเป็นมหาอำนาจทั้งทางทหารและเศรษฐกิจของโลก และได้เป็นฝ่ายก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ร่วมกับญี่ปุ่นในฟากฝั่งตะวันออก แต่วันเวลาของเงาแห่งสงครามที่พ่ายแพ้อย่างย่อยยับหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเพิ่งจะครบรอบ 70 ปีเมื่อไม่นานมานี้

ญี่ปุ่นกลับมาสร้างปาฏิหาริย์ในการเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในหลายช่วงทศวรรษต่อมา

ธนาคารโลกได้เปิดเผยตัวเลข GDP โลกล่าสุด มีมูลค่ามากถึง 80 ล้านล้านดอลลาร์ แต่หากมองย้อนกลับไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น โดยญี่ปุ่นเป็นสัญลักษณ์ของเศรษฐกิจที่สร้างปฏิหาริย์ที่มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นเลขสองหลักนานหลายปี ส่งผลให้ขนาดของเศรษฐกิจญี่ปุ่นทะยานขึ้นเป็นเบอร์ 2 ของโลก แซงหน้าอังกฤษและฝรั่งเศส โดยตามหลังสหรัฐเท่านั้น และการขยายตัวของญี่ปุ่นได้ทำให้เศรษฐกิจของเอเชียเกิดปาฏิหาริย์ตามมาด้วย โดยเฉพาะในยุคใหม่ช่วงทศวรรษ 1972 ถึง 2010

เมื่อมาถึงในช่วงปี 1980 เศรษฐกิจจีนกลายเป็นจุดที่น่าจับตามอง จากการที่ตกต่ำลงไป อยู่ในระดับ 10 ของโลก ด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่ในช่วงปี 1980 ถึง 1990 ด้วยเส้นทางของเศรษฐกิจฐานมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนปัจจุบันเป็นที่รู้กันว่า ประชากรที่มีนับหลายล้านคน และอยู่ในภาวะตกต่ำในภาวะยากจน 

ในปี 1993 จีนกลับมาฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอีกประเทศหนึ่ง และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในช่วง 17 ปี กลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่สามารถเอาชนะทั้งอังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส และแม้กระทั่งญี่ปุ่น จนกลายเป็นเศรษฐกิจเบอร์ 2 ของโลกในเวลานี้

ท่ามกลางสัญญาณการมาร่วมชุมนุมในพิธีร่วมรำลึกครบรอบ 100 ปีสงครามโลกครั้งที่ 1 ของผู้นำจาก 114 ชาติที่ฝรั่งเศสเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มาร่วมในพิธีไว้อาลัยและเพื่อร่วมกันเรียกร้องสันติภาพที่ยั่งยืนให้เกิดกับโลก

แต่ภาพที่คาใจกลับเป็นความกังวลในรูปแบบใหม่ เมื่อภาพของสงครามการค้ากำลังค่อยๆ ผุดขึ้นเป็นความขัดแย้งที่อาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจเกิดภาวะชะงักงันและเศรษฐกิจตกต่ำลงในอนาคตอันใกล้นี้ในที่สุด

เมื่อสหรัฐที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกกำลังจุดประกายความขัดแย้งทางด้านการค้ากับจีนที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ต่างเตรียมพร้อมที่จะกระโจนเข้าสู่สนามของสงครามการค้าที่เป็นเพียงแค่การเริ่มต้น แต่ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้น 

โดยสหรัฐมีขนาดจีดีพีที่ 19.4 ล้านล้านดอลลาร์ หรือมีสัดส่วน 24.4% ของระบบเศรษฐกิจโลกที่มีขนาด 80 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่จีนมีขนาดจีดีพีเท่ากับ 12.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือมีสัดส่วนอยู่ที่ 15.1% แล้ว พบว่า 2 ชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมีขนาดใหญ่ถึง 39.8% ของเศรษฐกิจโลก ย่อมจะเขย่าโลกเมื่อสงครามการค้าจะกลายเป็นพายุสมบูรน์แบบ หรือ Perfect Storm ที่ทั่วโลกกำลังหวาดหวั่นกัน

ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมญี่ปุ่นที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ที่มีสัดส่วนจีดีพี 6.1% และเยอรมนีที่ร่วมในการก่อสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งมีขนาดจีดีพีเป็นอันดับ 4 ที่ 4.6% รวม 6 ชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกในปัจจุบีนมีสัดส่วนที่ใหญ่กว่า 50% ของโลกแล้ว

โดยเฉพาะกับคำกล่าวของเอมมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่เรียกร้องให้ยุโรปปลดแอกจากการพึ่งพาทางการทหารจากสหรัฐ โดยหวังลดความขัดแย้งกับรัสเซีย รวมทั้งเรียกร้องให้ยุโรลดการใช้เงินดอลลาร์ด้วยนั้น กำลังเป็นสัญญาณว่าโลกในอนาคตที่จะอยู่ร่วมกันโดยมีหลายขั้วอำนาจ แทนที่จะมีเพียงขั้วอำนาจขั้วใดขั้วหนึ่งเหมือนที่ผ่านมา

จึงเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต้องจับตามองกันถึงความเสี่ยงและความผันผวนของตลาดการเงินโลก

สำหรับ 10 อันดับเศรษฐกิจโลกที่มีขนาาดใหญ่และสัดส่วนตามรายงานของธนาคารโลก ประกอบด้วย

1. United States    $19.4 trillion 24.4%

2. China       $12.2 trillion 15.4%

3. Japan       $4.87 trillion       6.1%

4. Germany       $3.68 trillion 4.6%

5. United Kingdom $2.62 trillion 3.3%

6. India         $2.60 trillion 3.3%

7. France         $2.58 trillion 3.3%

8. Brazil         $2.06 trillion 2.6%

9. Italy               $1.93 trillion 2.4%

10. Canada         $1.65 trillion 2.1%

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0