โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

คนไทย Enjoy Eating 7 มื้อต่อวัน! “ค่าอาหาร” ค่าใช้จ่ายอันดับ 1 ของคนไทย ทะลุ 1.8 ล้านล้านบาท

Marketing Oops

อัพเดต 19 ส.ค. 2561 เวลา 14.42 น. • เผยแพร่ 19 ส.ค. 2561 เวลา 11.36 น. • WP
คนไทย Enjoy Eating 7 มื้อต่อวัน! “ค่าอาหาร” ค่าใช้จ่ายอันดับ 1 ของคนไทย ทะลุ 1.8 ล้านล้านบาท

Food
Food

ไม่ใช่เสื้อผ้า ไม่ใช่เครื่องสำอาง ไม่ใช่สินค้า Gadget ฯลฯ ที่เป็นค่าใช้จ่ายอันดับ 1 ของคนไทย แต่รู้หรือไม่ทุกวันนี้เงินในกระเป๋าตังค์ของคนไทย ถูกใช้จ่ายไปกับ “ค่าอาหาร” เป็นหลัก ?!?

“Euromonitor” เปิดผลวิจัยค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย ปี 2560 มีมูลค่า 8.8 ล้านล้านบาท ครอบคลุมสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร, ค่าเดินทาง, ค่าบ้าน, ค่าใช้จ่ายด้านความบันเทิงและการพักผ่อน, ค่าเครื่องดื่มทั้งแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์ ฯลฯ พร้อมทั้งประมาณการณ์ว่าในปี 2561 ค่าใช้จ่ายของคนไทย จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 9.2 ล้านล้านบาท เติบโตจากปีที่แล้ว 5.2%

ในบรรดาค่าใช้จ่ายทั้งหมด พบว่า “ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร” เป็นสิ่งที่คนไทยใช้จ่ายมากที่สุด ด้วยมูลค่า 1.8 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 21.2%

Resize Thai Consumer Spending
Resize Thai Consumer Spending

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ “ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร” เป็นค่าใช้จ่ายอันดับ 1 ในไทย

  1. อาหารการกิน เป็นปัจจัยสี่ที่ขาดไม่ได้ของมนุษย์

2. เมืองไทยได้ชื่อว่าเป็นสวรรค์ของอาหารการกิน เพราะสามารถหาของกินได้ทั้งวัน และมีร้านอาหารตั้งแต่ร้านหรู ยันร้านข้างทาง หรือสตรีทฟู้ดเป็นจำนวนมาก

3. การขยายตัวของ “ร้านสะดวกซื้อ” ที่ปัจจุบันถือเป็น Convenience Food Store สำหรับคนไทยไปแล้ว ในการหาซื้ออาหาร ทั้งมื้อหลัก มื้อรอง และของว่างได้ตลอด 24 ชั่วโมง

*ทำให้คนไทยชอบกิน และสนุกกับการกิน โดยพฤติกรรมการบริโภคคนไทย ไม่ใช่แค่ 3 มื้อหลักต่อวันเท่านั้น แต่โดยเฉลี่ยแล้วใน 1 วัน คนไทยบริโภคมากถึง 7 มื้อ ทั้งเช้า – สาย – เที่ยง – บ่าย – ช่วงบ่ายแก่ๆ – เย็น – ช่วงดึก *

นั่นหมายความว่าการบริโภคของคนไทย มีทั้งมื้อหลัก และมื้อรอง หรือมื้อว่าง ซึ่งคนไทยมีพฤติกรรม “Snacking” ชอบกินของว่าง หรือของจุบจิบในระหว่างวัน แต่คำว่า Snack สำหรับคนไทย มีทั้งของคาว-ของหวาน เช่น ลูกชิ้นปิ้ง-ทอด ไส้กรอก ไอศกรีม เบเกอรี่ ขนมหวาน ไปจนถึงขนมขบเคี้ยว

Resize shutterstock_507639565
Resize shutterstock_507639565

4 Mega Trends เขย่าธุรกิจอาหารต้องปรับตัว

ปัจจุบันมี 4 เทรนด์ใหญ่ ที่สะท้อนภาพให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคนี้ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับ “ธุรกิจอาหาร” ให้ต้องปรับตัว ได้แก่

1. Urbanization หรือ ความเป็นสังคมเมือง เปลี่ยนวิถีชีวิตการกินการอยู่ของคนไทย โดยคนในเมืองอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม (Vertical Living) และซื้อสินค้า Pack Size เล็กลง

2. Healthy Lifestyle ผู้บริโภคไทยใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทั้งการออกกำลังกาย และให้ความสำคัญในการเลือกอาหารมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ตอบโจทย์สุขภาพ

3. On the go คนไทยใช้ชีวิตอยู่นอกบ้าน มากกว่าในบ้าน ส่งผลให้ร้านสะดวกซื้อขยายตัวอย่างรวดเร็ว และสินค้าที่ตอบโจทย์ด้านความสะดวก – รวดเร็ว เป็นที่ตอบรับของผู้บริโภค

4. 24/7 หรือ 24 ชั่วโมง 7 วัน เป็นผลมาจากในยุคดิจิทัล ทำให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ตลอดเวลา นี่จึงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ค้าปลีกไซส์เล็กอย่างร้านสะดวกซื้อ และร้านอาหาร – บริการ Delivery 24 ชั่วโมงถึงได้เป็นคำตอบของผู้บริโภคยุคนี้

Resize Convenience Food
Resize Convenience Food

เมื่อ “ไส้กรอก” กลายเป็น Snack ในชีวิตประจำวันคนไทย

แม้ “ไส้กรอก” ไม่ใช่อาหารประจำชาติไทย แต่คนไทยทุกเพศ ทุกวัยต่างคุ้นเคยกับอาหารประเภทนี้ดี เพราะอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน โดยคาดการณ์ว่าในปี 2561 มูลค่าตลาดรวมไส้กรอก จะอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 เซ็กเมนต์ คือ

“เซ็กเมนต์พรีเมียม” (ราคามากกว่า 400 บาทต่อกิโลกรัม) ตลาดนี้มีสัดส่วนอยู่ที่ 6% / “เซ็กเมนต์กลาง” (ราคา 200 – 400 บาทต่อกิโลกรัม) มีสัดส่วน 45% / และ“เซ็กเมนต์ล่าง” (ราคา 50 – 200 บาทต่อกิโลกรัม) เป็นฐานใหญ่สุดของตลาดรวมไส้กรอกในไทย ด้วยสัดส่วน 49%

ปัจจุบันคนไทยบริโภคไส้กรอก เฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ถือว่าปริมาณยังน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศแถบตะวันตก เช่น สหรัฐฯ, เยอรมัน ที่บริโภค 20 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ แนวโน้มการบริโภคไส้กรอกในกลุ่มผู้บริโภคไทยเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากทั้งฝั่งผู้ผลิต กระตุ้นให้เกิดการบริโภคมากขึ้น และในเวลาเดียวกันวิถีชีวิตของคนไทยในทุกวันนี้ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ซื้ออาหารมื้อหลัก – มื้อรองจากช่องทาง “ร้านสะดวกซื้อ” มากขึ้น ซึ่งเวลาเดินเข้าไปจะสังเกตได้ว่า Shelf กลุ่มสินค้าไส้กรอกมีพื้นที่ใหญ่ขึ้น ทำให้คนมองเห็นสินค้าง่ายขึ้น นำไปสู่การตัดสินใจซื้อ ไว้สำหรับเป็นของว่าง หรือ snack ที่บริโภคง่าย และสะดวก

ซีพี-แฟรงค์เฟอร์เตอร์ไก่รมควัน (cp freshmart)
ซีพี-แฟรงค์เฟอร์เตอร์ไก่รมควัน (cp freshmart)

Photo Credit : CP Freshmart

“ซีพี” ดึง “สาวก” พรีเซนเตอร์ สู่การสร้างฐาน “แฟนแบรนด์”

ในตลาดไส้กรอกกว่า 30,000 ล้านบาท มีผู้นำตลาดคือ “ซีพี” ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 19% ที่โฟกัสเฉพาะตลาดพรีเมียม และตลาดกลาง โดยใช้กลยุทธ์ทั้ง Push และ Pull มากระตุ้นให้เกิดการบริโภคไส้กรอกเพิ่มขึ้น

- ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และออกสินค้าใหม่ต่อเนื่อง มีทั้งกลุ่มแฟรงค์, โบโลน่า, กลุ่มมินิคอกเทล ฯลฯ

- สื่อสารการตลาด และกิจกรรมการตลาด ทั้งสื่อออนไลน์ และออฟไลน์ โดยใช้พรีเซนเตอร์ ปัจจุบันคือ “แบมแบม” หนึ่งในศิลปินวง GOT 7 ของเกาหลีใต้ ที่มี “ฐานแฟนคลับ” จำนวนมาก เหตุผลที่เลือก “แบมแบม” มาเป็นพรีเซนเตอร์ เพราะมีบุคลิกตรงตามลักษณะแบรนด์ คือ มีความสนุกสนาน (Fun), ชอบสังสรรค์ (Socialized), ชอบความท้าทาย (Challenging) และมีความตั้งใจ เอาใจใส่ในการทำงาน (Passion) มาสะท้อนภาพลักษณ์แบรนด์ซีพี และเชื่อมต่อกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายสำคัญของแบรนด์ซีพี

พร้อมทั้งจัดกิจกรรมแฟนมีตติ้งของแบมแบม ที่มีแฟนคลับสนใจร่วมกิจกรรมมากกว่าหมื่นคน ที่มากับ hashtag สุดฮิต #ไส้กรอกซีพีเพื่อนซี้แบมแบม

Resize CP sausage_02
Resize CP sausage_02

*“กิจกรรมแฟนมีตติ้ง กับพรีเซนเตอร์ของแบรนด์” ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำ “Brand Activation” แน่นอนว่าเป้าหมายแรกที่ต้องการ คือ ทำให้เกิด Brand Talk จากกระแสการถูกพูดถึงจากโลก Social Network ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างการเติบโตด้านยอดขายในช่วงระยะเวลาจัดแคมเปญ *

เพราะสุดท้ายแล้วเป้าหมายพื้นฐานของแคมเปญการตลาดลักษณะนี้ KPI สูงสุดที่แบรนด์ต้องการ คือ Performance ด้านยอดขายที่เติบโต

แต่สิ่งที่เหนือไปกว่านั้น คือ การดึงฐานแฟนคลับ หรือสาวกของพรีเซนเตอร์คนนั้นๆ ไปสู่การเป็น “ฐานแฟนแบรนด์” ทำให้เกิดความผูกพัน และต่อยอดไปสู่การผลักดันสินค้าอาหารสำเร็จรูปกลุ่มอื่นๆ ของซีพี ที่นอกเหนือจากกลุ่มไส้กรอก ให้เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันคนรุ่นใหม่ ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้มีวิถีชีวิตแบบ Modernize ที่บริโภคอาหารสำเร็จรูปเป็นเรื่องปกติ

Resize CP sausage_01
Resize CP sausage_01

- ช่องทางจำหน่าย ความได้เปรียบของผลิตภัณฑ์อาหารในเครือซีพี คือ การมีช่องทางจำหน่ายเป็นของตัวเองอย่าง “เซเว่น อีเลฟเว่น” เครือข่ายการขายทรงพลังในการ Push กลุ่มสินค้าอาหารในเครือเข้าถึงผู้บริโภคได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด โดย 70% ของยอดขายไส้กรอกซีพี มาจากเซเว่น อีเลฟเว่น และอีก 30% มาจาก Modern Trade อื่น เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต

- โปรโมชั่น ร่วมกับช่องทางขาย การจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาเลือก “ไส้กรอก” เป็น Snack หรือแม้แต่จะนำไปเป็นวัตถุดิบทำอาหารก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งต้องทำ “โปรโมชั่น” ณ จุดขาย เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภค ซึ่งที่ผ่านมาซีพีทำโปรโมชั่นร่วมกับเซเว่น อีเลฟเว่นเป็นระยะๆ

เมื่อมีสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ บวกกับการสื่อสารการตลาด – จัดกิจกรรมการตลาดเจาะตรงถึงผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่ และความได้เปรียบด้านช่องทางการขาย ยิ่งกระตุ้นให้ “ไส้กรอก” กลายเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรม snacking ในกลุ่มคนไทย

Resize CP sausage_03
Resize CP sausage_03

อ่านบทความทั้งหมด ที่ MarketingOops.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0