โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

คนไทยรั้งที่5 ทำงานมีความสุขมากสุดในเอเชีย

[invalid]

อัพเดต 26 เม.ย. 2561 เวลา 04.00 น. • เผยแพร่ 26 เม.ย. 2561 เวลา 02.05 น. • tnnthailand.com
คนไทยรั้งที่5 ทำงานมีความสุขมากสุดในเอเชีย
ดัชนีความสุขของคนทำงานในเอเชียชี้คนอินโดฯมีความสุขมากที่สุด ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 5 สิงคโปร์อยู่อันดับรั้งท้าย

ดัชนีความสุขของคนทำงานในเอเชียชี้คนอินโดฯมีความสุขมากที่สุด ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 5 สิงคโปร์อยู่อันดับรั้งท้าย

วันนี้ (26เม.ย.61) บริษัท จ๊อบส์ ดีบี ได้จัดทำผลสำรวจดัชนีความสุขในการทำงานของคนในเอเชีย ซึ่งมี 7 ประเทศเข้าร่วมทำการสำรวจครั้งนี้ คือ ฮ่องกง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย โดยพบว่า คนอินโดนีเซียทำงานมีความสุขที่สุด รองลงมาเป็นเวียดนาม อันดับ3 ฟิลิปปินส์ อันดับ4 มาเลเซีย ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 5 ตากจากอันดับสาม เมื่อปี2559 ขณะที่อันดับคือ6ฮ่องกง  และสิงคโปร์อยู่อันดับรั้งท้าย โดยระดับความสุขของพนักงานในเอเชีย อินโดนีเซีย 5.27 คะแนน เวียดนาม 5.19 คะแนน ฟิลิปปินส์  4.97 คะแนน มาเลเซีย 4.65 คะแนน  ไทย  4.55 คะแนน  ฮ่องกง  4.45 คะแนน และสิงคโปร์  4.31 คะแนน

ทั้งนี้ จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) ได้สำรวจดัชนีความสุขในการทำงานของพนักงานไทย จำนวน 1,108 คน ในปี 2560 พบร้อยละ 60  ของคนไทยมีความสุขกับการทำงานโดยค่าเฉลี่ยของคะแนนดัชนีความสุขคิดเป็น 4.55 คะแนน น้อยลงเมื่อเทียบกับปี ก่อน แต่สอดคล้องกับแนวโน้มของดัชนีความสุขในการทำงานอีก 6 เดือนข้างหน้าที่ลดลงเหลือ 4.51 คะแนน โดย 5 สายงานที่มีความสุขในการทำงานสูงสุดในปี 2560 ได้แก่ งานบริหาร  งานธุรการและทรัพยากรบุคคล งานวิศวกรรม  งานไอที และงานขนส่ง

รายงานยังชี้ว่า เด็กจบใหม่  หรือพนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 1 ปี มีความสุขในการทำงานน้อยที่สุด ส่วนผู้บริหารระดับสูงมีความสุขในการทำงานมากที่สุด เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยที่จะทำให้พนักงานมีความสุขมากขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า พนักงานที่ตอบแบบสอบถามร้อยละ 37 เลือกลาออกจากงานเพื่อหางานใหม่ ขณะที่ร้อยละ 20 จะพอใจกับชีวิตการทำงานในองค์กรเดิมมากขึ้นหากได้รับการปรับเงินเดือน และร้อยละ 8 จะมีความสุขกับการทำงานมากขึ้นหากได้รับการยอมรับในผลงานหรือได้รับรางวัลจากการทำงาน

จ๊อบดีบี ชี้ว่า ตลอดปีที่ผ่านมีสัญญาณการเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มจำนวนของประชากรผู้สูงอายุ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทั้งหุ่นยนต์และการพัฒนาระบบ AI ที่กำลังเติบโตจนส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงาน รวมทั้งการขยายตัวของสตาร์ทอัพที่ดึงดูดความสนใจคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเป็นนายตัวเองให้ผันตัวไปเป็นสตาร์ทอัพมากขึ้น เช่นเดียวกันกับกลุ่มที่เลือกใช้โซเชียลมีเดียในการประกอบอาชีพที่มีความยืดหยุ่นทั้งเวลาและรายได้ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

ความท้าทายของผู้นำองค์กรประการหนึ่ง นอกเหนือจากสร้างรายได้และเพิ่มผลิตผลให้แก่องค์กรแล้ว ยังต้องสามารถสร้างแรงจูงใจ และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นเอกลักษณ์ และสิ่งสำคัญจะต้องรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร  พร้อมๆกับการสร้างโอกาสการเติบโตในหน้าที่การงาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้พนักงานสามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ยังคงมีความสุขกับการทำงานในทุก ๆ วันควบคู่กันไปด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0