โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

อาหาร

คนไทยการ์ดตก! ‘นพ.ธนรักษ์’ แจงชัดทำไมต้องมี ‘พ.ร.ก.ฉุกเฉิน’

The Bangkok Insight

อัพเดต 26 พ.ค. 2563 เวลา 00.43 น. • เผยแพร่ 26 พ.ค. 2563 เวลา 00.43 น. • The Bangkok Insight
คนไทยการ์ดตก! ‘นพ.ธนรักษ์’ แจงชัดทำไมต้องมี ‘พ.ร.ก.ฉุกเฉิน’

คนไทยการ์ดตก! "นพ.ธนรักษ์" แจงทำไมต้องมี 'พ.ร.ก.ฉุกเฉิน' ทั้งที่มีพรบ.โรคติดต่อ คาดสัปดาห์ชัดมาตรการผ่อนปรนกิจการสีแดง

ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีการใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อและพ.ร.ก.ฉุกเฉินว่ามีความสัมพันธ์ในการช่วยป้องกันโรคโควิดได้หรือไม่ว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ใช้จัดการปัญหาโรคติดเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบันจะเป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อเป็นหลัก โดยผู้มีอำนาจเต็มในการออกประกาศใดๆ คือผู้ว่าราชการจังหวัด ที่จะออกข้อกำหนดว่าสถานที่ใดต้องปฏิบัติอย่างไรไม่ว่าจะเป็นร้านทั่วไป หรือห้างสรรพสินค้า

ขณะที่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ประกาศเพื่อให้การบริหารงานแบบบูรณาการระหว่างกระทรวงอื่นๆ ให้มีความเป็นเอกภาพมากขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นผู้ดูแลภาพรวมทั้งหมด เพราะฉะนั้นประกาศดังกล่าวนำมาเสริมในส่วนของการทำงานข้ามกระทรวงและอำนาจบางอย่างที่ พ.ร.บ.โรคติดต่อไม่มี ซึ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินสามารถนำมาใช้โดยเฉพาะการประกาศเคอร์ฟิวโดยทั้งหมดนี้ เพื่อที่จะควบคุมสถานการณ์ และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ส่วนจะสามารถเปิดกิจการประเภทสนามมวย-ฟุตบอล และประเภทกิจการสีแดงได้เมื่อใดนั้น นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า ขอให้รอฟังความชัดเจนจากศบค.ประมาณกลางสัปดาห์หน้า

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พบว่าเริ่มมีการหย่อนมาตรการส่วนบุคคลในการสวมหน้ากากเริ่มลด การเว้นระยะห่างเริ่มน้อย รวมถึงมาตรการองค์กรในการให้พนักงานทำงานที่บ้าน ดังจะเห็นได้จากกรณีที่มีความแออัดในการใช้รถสาธารณะที่หนาแน่นอย่างมาก จึงอยากขอความร่วมมือองค์กรและบริษัทต่างๆ ที่จะออกนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้านให้มากที่สุดหรือเหลื่อมเวลาการทำงาน นอกจากนี้ส่วนใดที่สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ได้ก็ขอให้ทำเพื่อลดความแออัด

ส่วนการตรวจหาผู้ติดเชื้อของประเทศไทยอยู่ที่สัปดาห์ละประมาณ 4.5 หมื่นตัวอย่าง หรือวันละ 6,000 ตัวอย่าง ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อแค่ 5 ราย แต่การค้นหาผู้ป่วยเป็นมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขจะเน้นหนักต่อไป เพื่อให้เจอผู้ป่วยรายใหม่ได้เร็วเพื่อทำให้ควบคุมโรคเกิดขึ้นเร็วที่สุดด้วย หากสามารถดำเนินมาตรการสาธารณสุขได้อย่างเข้มข้น ก็จะมีโอกาสกลับไปใช้มาตรการทางสังคมได้

สำหรับโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่เชื้อและระบาดเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ จะเกิดในสถานที่ที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก และหากสามารถคงสถานการณ์ให้มีผุ้ป่วยระดับต่ำๆ หรือมีการระบาดน้อย ในระดับมีผู้ติดเชื้อวันละ 5 รายต่อล้านประชากรต่อไปได้เรื่อยๆ ก็จะทำให้ประเทศไม่ต้องปิดๆเปิดๆกิจการ/กิจกรรมต่างๆ หรือนำมาตรการทางสังคมที่เป็นการบังคับกลับมาใช้อีก ยกตัวอย่าง พื้นที่กรุงเทพฯหากมีประชาการ 10 ล้านคนแล้วมีรายงานผู้ติดเชื้อ 40 คนต่อวันก็ยังถือว่าระบาดวงจำกัด ซึ่งช่วงที่มีการระบาดวงกว้างก่อนหน้านี้กรุงเทพฯมีผู้ป่วยราว 100 คนต่อวัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0