โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คนเลี้ยงสัตว์ต้องรู้!! อาการ – วิธีป้องกันภัยจากฝุ่น PM 2.5 เพื่อความปลอดภัยในชีวิต

JS100 - Post&Share

อัพเดต 26 ม.ค. 2563 เวลา 07.45 น. • เผยแพร่ 22 ม.ค. 2563 เวลา 05.18 น. • JS100:จส.100
คนเลี้ยงสัตว์ต้องรู้!! อาการ – วิธีป้องกันภัยจากฝุ่น PM 2.5 เพื่อความปลอดภัยในชีวิต
คนเลี้ยงสัตว์ต้องรู้!! อาการ – วิธีป้องกันภัยจากฝุ่น PM 2.5 เพื่อความปลอดภัยในชีวิต

           ในช่วงที่ปริมาณฝุ่น PM 2.5 มีแพร่กระจายหลายพื้นที่มากแบบนี้ นอกจากสิ่งมีชีวิตอย่างคนที่ต้องหาวิธีป้องกัน ดูแลร่างกายแล้ว “สัตว์เลี้ยง” ก็ถือเป็นอีกสิ่งที่ต้องใส่ใจด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าสัตว์เลี้ยงไม่สามารถพูดคุย หรือบอกความเปลี่ยนแปลงอะไรของร่างกายให้เรารับรู้ ซึ่งทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและออกมาแนะนำอาการ รวมทั้งวิธีป้องกันภัยจากฝุ่น PM 2.5 ในสัตว์เลี้ยงให้ทุกๆ บ้านได้ทราบกัน เพื่อสร้างความเข้าใจและใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล

            อาการและวิธีป้องกันภัยฝุ่น PM 2.5 ในสัตว์เลี้ยงที่ควรรู้
            สำหรับอาการในสัตว์เลี้ยงที่หากได้รับปริมาณฝุ่น PM 2.5 เป็นเวลานาน หรือมากเกินไป จะทำให้เกิด โรคระบบทางเดินหายใจ น้ำมูกไหล ไอ หายใจลำบาก สังเกตง่ายๆ ได้จากสุตว์เลี้ยงจะมีอาการหอบอ้าปากหายใจ ส่วนวิธีป้องกันสัตว์เลี้ยงจากภัยฝุ่น PM 2.5 คือ

            - ถูพื้นภายในบ้านบ่อยๆ เพื่อขจัดคราบฝุ่นที่อาจล่องลอยเข้ามาในบ้าน

            - ควรดูดฝุ่นทั้งภายในบ้าน และที่นอนของสัตว์เลี้ยงบ่อยๆ (ถ้ามี)

            - ควรเลี้ยงในบ้าน ที่มีการปิดหน้าต่าง ประตูอย่างดี ป้องกันฝุ่น PM 2.5 เข้ามาในบ้านปริมาณมากเกินไป

           - งดพาไปวิ่งเล่นนอกบ้าน เพราะอาจทำให้เกิดการสะสมปริมาณฝุ่น PM 2.5 จนมีการอาการขึ้นมาในที่สุด

           - ควรอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายให้สัตว์เลี้ยงบ่อยๆ เพื่อชะล้างฝุ่น PM 2.5 ที่เกาะขนอยู่

            - ทั้งยังควรต้องรดน้ำต้นไม้ งดสูบบุหรี่ หรือจุดธูปภายในบ้าน และล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอด้วย

            เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็หวังว่าทุกๆ บ้านที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ในความดูแลจะนำคำแนะนำข้างต้นไปทำตามกันไม่มากก็น้อย ซึ่งการเลี้ยงสัตว์สำคัญที่สุดคือความใส่ใจโดยเฉพาะสุขภาพร่างกาย ว่าแล้วก็ขอตัวพาเจ้าสุนัขไปอาบน้ำทำความสะอาดก่อนนะ

Cr. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0