โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

คนเลิกโอนเงินผ่านสาขาแบงก์-เอทีเอ็ม ฉุดรายได้ค่าธรรมเนียมร่วง4%

Money2Know

เผยแพร่ 12 พ.ย. 2561 เวลา 12.15 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
คนเลิกโอนเงินผ่านสาขาแบงก์-เอทีเอ็ม  ฉุดรายได้ค่าธรรมเนียมร่วง4%

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ หลังจากแบงก์ยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงิน หากบริการผ่านออนไลน์ ปรากฏว่ารายได้ค่าธรรมเนียมลด 4% ยอดโอนเงินผ่านมือถือ-อินเตอร์เน็ตพุ่งแตะ 93% ของยอดทั้งหมด 

นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อานวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่าผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 3 ปี 2561 สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ

แต่ผลบวกของเศรษฐกิจยังไม่ส่งผ่านไปยังคุณภาพสินเชื่อของลูกหนี้บางกลุ่ม โดยเฉพาะธุรกิจ SME ทำให้ภาพรวม NPL ยังทรงตัว

ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากรายได้ดอกเบี้ยตามสินเชื่อที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นและกำไรจากการขายเงินลงทุน

ทั้งนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีเสถียรภาพ มีเงินสำรอง เงินกองทุน และสภาพคล่อง อยู่ในระดับสูง สามารถรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไปได้

ผลดำเนืนงานแบงก์
ผลดำเนืนงานแบงก์

สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 5.4% ในไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 6.3% เมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง

สินเชื่อขยายตัวจากสินเชื่ออุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขยายตัวในหลายประเภทธุรกิจ โดยเฉพาะจากธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อ SME ที่วงเงินค่อนข้างสูง

ทั้งนี้ ธุรกิจขนาดใหญ่บางส่วนระดมทุนผ่านตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเพื่อบริหารต้นทุนทางการเงิน ส่งผลให้ภาพรวมการระดมทุนผ่านสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์และ ตราสารหนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 5.6% มาอยู่ที่ 7.1%

สินเชื่อธุรกิจ ( 66.3% ของสินเชื่อรวม) ขยายตัว 5.2% ปรับเพิ่มขึ้นในหลายประเภทธุรกิจ โดยเฉพาะจากธุรกิจขนาดใหญ่ในภาคพาณิชย์ และภาคบริการเป็นสำคัญ

ขณะที่ภาคธุรกิจบางส่วนระดมทุนผ่านตราสารหนี้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้โดยรวมสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (ไม่รวมธุรกิจการเงิน) ขยายตัวที่  0.6%

สำหรับสินเชื่อธุรกิจ SME (ไม่รวมธุรกิจการเงิน) ขยายตัวที่ 7.2% ซึ่งเป็นการขยายตัวจากธุรกิจ SME ที่วงเงินค่อนข้างสูงในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นสำคัญ

สินเชื่ออุปโภคบริโภค ( 33.7% ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกพอร์ตสินเชื่อมาอยู่ที่ 8.4% เมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อรถยนต์เร่งตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ 12.5% สอดคล้อง กับยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ขยายตัวดีหลังหมดผลของมาตรการรถยนต์คันแรก และการเร่งระดมทุนของธุรกิจ ให้บริการสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมา

สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ ที่ 8.8% และ 8.2% ตามลำดับ สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง และสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวที่ 6.4% สอดคล้องกับภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

หนี้เสีย
หนี้เสีย

คุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non- Performing Loan : NPL) ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.94% ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ 2.93% โดยมียอดคงค้าง NPL ที่ 443 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.25 พันล้านบาท จากสินเชื่อธุรกิจ SMEเป็นสำคัญ

สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ(SpecialMentionLoan:SM)เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.42% จาก 2.36% ในไตรมาสก่อน โดยมียอดคงค้างทั้งสิ้น 365 พันล้านบาท

ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์กันเงินสำรองเพื่อสรา้งความั่นคงอย่างต่อเนื่องส่งผลใหร้ะบบธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรอง 652 พันล้านบาทเพิ่มขึ้น จากไตรมาสก่อน15.4พันล้านบาทและสัดส่วนเงินสำรองที่มีต่อเงินสำรองพึงกันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 190.7%

ในไตรมาส 3 ปี 2561 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนจากรายได้ดอกเบี้ยตามสินเชื่อที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นและกำไรจากการขายเงินลงทุน กอปรกับค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ปรับลดลง

กำไรแบงก์
กำไรแบงก์

อย่างไรก็ตาม รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง ส่วนหนึ่งจากการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์เพื่อยกมาตรฐานด้านการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม(Marketconduct)และจากการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล ที่เพิ่มขึ้นมาก

ยอดโดยเงินผ่านมือถือและอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 314 รายการ คิดเป็น 93% ของการโอนเงินทั้งหมด ผ่านตู้เอทีเอ็ม 22 ล้านรายการ คิดเป็น 6.51 % และผ่านสาขา 1.6 ล้านรายการ คิดเป็น 0.49%

ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียม

ในภาพรวมอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย(ReturnonAsset:ROA)เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.10% จาก 1.04% ในระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) ทรงตัวอยู่ที่ 2.77%

ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,552 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 79.1 พันล้านบาทจากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลจากการจัดสรรกำไรเข้าเป็นเงินกองทุนเป็นสำคัญ ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common Equity Tier 1 : CET1 ratio) เพิ่มขึ้นมา อยู่ที่ 18.4% และ 15.8% ตามลำดับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0