โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

คนเราควรรับประทานเกลือมากเท่าไหร่กันแน่?

issue247.com

อัพเดต 04 ม.ค. 2562 เวลา 07.56 น. • เผยแพร่ 07 ม.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

เกลืออาจเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของอาหารที่มีชื่อเสียงเลวร้ายมากที่สุดถัดจากน้ำตาล หลายคนแนะนำว่าเราควรรับประทานเกลือน้อยๆเนื่องจากมันสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมาได้ ว่าแต่ถ้าเราหยุดรับประทานเกลือไปเลยล่ะจะดีไหม? คุณอาจตกใจกับคำตอบ แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะพยายามหลีกเลี่ยงเกลือกับโซเดียม (ใช่ ส่วนประกอบสองอย่างนี้ไม่เหมือนกันนะ!) แต่ร่างกายคนเราก็ยังต้องการอยู่และวิธีดังกล่าวก็อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเสมอไป

 

เกลือกับโซเดียมจริงๆแล้วไม่เหมือนกัน

ส่วนประกอบสองอย่างนี้มักจะใช้สลับกันได้แต่จริงๆแล้วพวกมันต่างกันเล็กน้อย โซเดียมเป็นแร่ธาตุซึ่งพบได้ตามธรรมชาติในอาหารต่างๆ เช่น นม บีท และผักเซเลอรี่ นอกจากนี้ยังพบได้ในอาหารประเภทบรรจุห่อทั้งเพื่อปรุงแต่งกลิ่นรสและเป็นวัตถุกันเสียด้วย อันที่จริงโซเดียมประมาณร้อยละ 75 เราได้มาจากอาหารประเภทบรรจุห่อหรืออาหารแปรรูป ขณะเดียวกันเกลือบริโภคคือแร่ธาตุที่ผสมกันระหว่างโซเดียมกับคลอไรด์ เกลือประกอบไปด้วยโซเดียมร้อยละ 40 และคลอไรด์ร้อยละ 60 ซึ่งปริมาณเกลือเพียงหนึ่งช้อนชาจะเท่ากับโซเดียมประมาณ 2,300 มก.

 

ร่างกายคนเราต้องการโซเดียมแต่ก็มีโอกาสที่จะได้รับมากเกินไป

แม้ว่าจะมีชื่อเสียงที่ไม่ดีแต่โซเดียมก็จำเป็นต่อสุขภาพของคนเรา โซเดียมคืออิเล็กโทรไลต์ที่ช่วยส่งกระแสประสาทและรักษาสมดุลของของเหลว นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการหดเกร็งและผ่อนคลายของกล้ามเนื้อด้วย ปัญหาหลักๆจะมาจากการรับประทานโซเดียมมากเกินไป (ทำไงได้ล่ะก็เกลือทำให้อาหารอร่อยนี่นา!) ร่างกายต้องการโซเดียมเพียง 500 มก.ต่อวัน แต่ชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยจะได้รับประมาณ 3,400 มก.ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ ร่างกายจะกักเก็บน้ำไว้มากขึ้นซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาตรเลือดและความดันในหลอดเลือดจนทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น สุดท้ายคุณจะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

 

คนบางกลุ่มจำเป็นต้องรอบคอบในการรับประทานเกลือมากกว่าคนอื่นๆ

การจำกัดปริมาณโซเดียมให้ได้วันละ 500 มก.นั้นเป็นเรื่องยาก อาหารของคุณอาจไร้รสชาติไปเลย ล่าสุดแนวทางการบริโภคอาหารสำหรับชาวอเมริกันแนะนำว่าผู้ใหญ่ควรรับประทานโซเดียมไม่เกิน 2,300 มก.ทุกวัน แต่บางคนอาจต้องรับประทานน้อยกว่านั้นในกรณีที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (หรือมีโอกาสเสี่ยง) หรือโรคเบาหวานโดยจำกัดอยู่ที่ไม่เกินวันละ 1,500 มก. ส่วนปัญหาสุขภาพอื่นๆได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคไต โรคหัวใจ หรือภาวะบวมน้ำเหลืองก็ล้วนเป็นสาเหตุทำให้คุณต้องจำกัดปริมาณการรับประทานโซเดียม

 

การหลีกเลี่ยงอาหารประเภทบรรจุห่อคือวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมการบริโภคเกลือ

อาหารประเภทบรรจุห่อมีปริมาณโซเดียมมากถึงร้อยละ 75 ดังนั้นคุณควรจำกัดการรับประทานอาหารเหล่านี้

  • ขนมปัง
  • เนื้อตัดเย็น
  • พิซซ่า
  • เนื้อสัตว์ปีกแปรรูป
  • ซุป
  • แซนด์วิช
  • ชีส
  • อาหารจำพวกพาสต้า
  • เนื้อผสม (เช่นมีทโลฟหรือเนื้อบด)
  • อาหารที่เป็นของว่าง (เช่น เพรทเซล มันฝรั่งแผ่น หรือข้าวโพดคั่ว)

 

แต่บางครั้งก็มีคนบางกลุ่มที่ต้องการเกลือมากเป็นพิเศษ

โซเดียมจะถูกขับออกมาพร้อมกับเหงื่อ ดังนั้นถ้าคุณออกกำลังกายจนเหงื่อเปียกโชกก็อาจรู้สึกต้องการมากกว่าปกติเล็กน้อย อย่างไรก็ตามปริมาณโซเดียม 2,300 มก.ตามที่แนะนำก็เพียงพอแล้วเนื่องจากปริมาณโซเดียมจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเช่น ระยะเวลาและความเข้มข้นของการออกกำลังกาย

 

การรับประทานเกลือมากไม่ได้ทำให้รู้สึกกระหายเพิ่มขึ้น

อันที่จริงดูเหมือนว่าการรับประทานเกลือจะกระตุ้นให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากขึ้น ทางที่ดีคุณควรฟังร่างกายของตัวเอง หากคุณรู้สึกคอแห้งหลังรับประทานอาหารที่มีเกลือสูงก็ควรดื่มน้ำ แต่ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ควรฝืนตัวเองให้ดื่มน้ำเข้าไปเพิ่มขึ้น

 

มีเกลือบางชนิดดีกว่าเกลือชนิดอื่นไหม?

เอาจริงๆระหว่างเกลือบริโภคกับเกลือโครเชอร์ เกลือทะเล และเกลือหิมาลายันสีชมพูนั้นไม่มีความแตกต่างกันมากนัก พวกมันมีปริมาณโซเดียมเท่ากันเมื่อวัดกันด้วยน้ำหนัก สรุปคือคุณควรปรุงอาหารด้วยเกลือที่คุณชอบมากที่สุด เนื่องจากร่างกายคนเราไม่อาจบอกความแตกต่างระหว่างเกลือแต่ละชนิดได้หรอก ดังนั้นจงเลือกสิ่งที่คุณชอบ..แต่ต้องในปริมาณที่พอดีด้วยนะ

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0