โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คนเชียงราย จวกจีนทำลาย ระบบนิเวศน์-วิถีชีวิต ชาวบ้านลุ่มน้ำโขง

Khaosod

อัพเดต 18 ก.ย 2562 เวลา 08.55 น. • เผยแพร่ 18 ก.ย 2562 เวลา 08.55 น.
แม่น้ำโขง

คนเชียงราย จวกจีนทำลาย ระบบนิเวศน์-วิถีชีวิต ชาวบ้านลุ่มน้ำโขง

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ร่วมกับองค์กรภาคเอกชนหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ องค์กรพัฒนาเอกชนอาเซียนและองค์กรพัฒนาเอกชนจีน กลุ่มรักษ์เชียงของ สถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮนเฮียนแม่น้ำของ จ.เชียงราย มหาวิทยาลัยหูหนาน มณฑลหูหนาน ประเทศจีน จัดกิจกรรมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเยาวชน และองค์กรพัฒนาเอกชนประเทศจีนกับประเทศลุ่มน้ำโขงที่ จ.เชียงราย

โดยกิจกรรมมีการจัดเสวนาในหลากหลายหัวข้อและศึกษาดูงานถึงพื้นที่ริมแม่น้ำโขงชายแดนไทย-สปป.ลาว ส่วนการเสวนานั้น มีนายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ ได้ปราศรัยในหัวข้อ “ความรับผิดชอบของจีนกับการพัฒนาลุ่มน้ำโขง: มุมมองจากภาคประชาสังคมไทย” ด้วย

 ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

นายนิวัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบันภาคประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน มีความสามัคคีร่วมมือกันในด้านต่างๆ มากขึ้น จึงเป็นคำถามที่ว่ารัฐบาลไทยในฐานะประธานอาเซียนควรมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาข้ามแดนอาเซียนอย่างไรจึงจะดีที่สุด

โดยตนเห็นว่านับตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่มอาเซียนมาหลายสิบปี ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศหลายฉบับ แต่กลับไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาข้ามแดน เพื่อให้ตรงตามความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้งจริง

โดยในปี 2536 เริ่มมีการพัฒนาข้ามพรมแดนโดยมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขงเขตประเทศจีนจนถึงปัจจุบันมีกว่า 10 แห่ง ซึ่งประเทศจีนมองว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่ในทางตรงกันข้ามประชาชนในประเทศต่างๆ ลุ่มแม่น้ำกลับมองว่าเป็นผลกระทบและสร้างความเดือดร้อนให้

นายนิวัฒน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ประเทศจีนยังต้องการที่จะระเบิดเกาะแก่งในลำน้ำโขงเพื่อผลประโยชน์ในการเดินเรือพาณิชย์เพื่อใช้ขนส่งสินค้า เพื่อประโยชน์ต่อคนหรือกลุ่มคนเฉพาะกลุ่มแต่ผลักภาระให้คนอีกกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำ

ดังนั้นสรุปคือการพัฒนาลุ่มน้ำโขงในปัจจุบัน มีผลกระทบต่อประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ แต่การพัฒนาประเทศไทยที่ผ่านมาไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหานี้ ดังนั้นบทบาทภาคประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อยับยั้งการพัฒนาที่ไม่ถูกทิศทางดังกล่าวต่อไป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0