โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

คนกลัวเข็มได้เฮ! นักวิจัยออกแบบเข็มฉีดยาที่ฉีดแล้วไม่เจ็บ เลียนแบบจะงอยปากของยุง

Thaiware

อัพเดต 29 มิ.ย. 2561 เวลา 03.58 น. • เผยแพร่ 29 มิ.ย. 2561 เวลา 03.01 น. • นอร่า
คนกลัวเข็มได้เฮ! นักวิจัยออกแบบเข็มฉีดยาที่ฉีดแล้วไม่เจ็บ เลียนแบบจะงอยปากของยุง
นักวิจัยจาก Ohio State University ออกแบบเข็มฉีดยาเลียนแบบจะงอยปากและวิธีการของยุง เพื่อช่วยให้ฉีดยาแล้วไม่เจ็บ

ในอนาคตอาจจะมีข่าวดีสำหรับคนที่กลัวเข็มฉีดยาให้ได้สบายใจกันแล้ว เมื่อทีมนักวิจัยจาก Ohio State University ของสหรัฐอเมริกา ได้แรงบันดาลใจจากยุง ในการหาวิธีออกแบบเข็มฉีดยาขนาดเล็กที่ฉีดแล้วไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ เหมือนตอนที่ยุงใช้จะงอยปากของมันเจาะเข้าไปในผิวหนังโดยที่เราไม่รู้ตัว หรือไม่รู้สึกเจ็บนั่นเอง

ทั้งนี้ จากงานวิจัยที่เคยมีมา พบว่ายุงมี 3 วิธีการที่ทำให้คนไม่เจ็บเวลาโดนดูดเลือด นั่นคือ การหลั่งน้ำลายที่ประกอบด้วยโปรตีนชนิดหนึ่งออกมาเพื่อให้ผิวหนังเกิดอาการชา, การสั่นของจะงอยปากยุงเพื่อลดแรงเจาะในขณะที่แทงเข้าไปในผิวหนัง และสุดท้ายคือส่วนของจะงอยปากที่มีลักษณะเป็นหยักเหมือนฟันเลื่อย ช่วยให้เจาะลงไปในผิวหนังได้ง่ายขึ้น ซึ่งอันที่จริง เคยมีการพัฒนาเข็มฉีดยาที่เลียนแบบลักษณะฟันเลื่อยของยุงออกมาแล้วก่อนหน้านี้ 

คนกลัวเข็มได้เฮ! นักวิจัยออกแบบเข็มฉีดยาที่ฉีดแล้วไม่เจ็บ เลียนแบบจะงอยปากของยุง
คนกลัวเข็มได้เฮ! นักวิจัยออกแบบเข็มฉีดยาที่ฉีดแล้วไม่เจ็บ เลียนแบบจะงอยปากของยุง

แต่ล่าสุด จากการตรวจสอบจะงอยปากของยุงเพศเมีย พันธุ์ Aedes vexan (พบได้มากสุดในทวีปอเมริกาเหนือ) ทีมนักวิจัยของ Ohio State University พบว่ายุงยังมีอีกวิธีการหนึ่งที่ไม่ทำให้เรารู้สึกเจ็บ นั่นคือ จะงอยปากของมันมีความแข็ง และอ่อนนุ่มแตกต่างกันไป โดยส่วนที่หุ้มจะงอยปากเอาไว้นั้นจะนุ่มกว่าส่วนปลายสุดของปาก ทำให้เมื่อเจาะลงไปบนผิวหนังจะช่วยลดแรงเจาะได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่อาจช่วยให้รู้สึกเจ็บน้อยลง และเมื่อนำวิธีการทั้งหมดนี้มารวมกัน ทำให้ยุงใช้แรงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้นในการเจาะผิวหนังของคนเพื่อเข้าไปดูดเลือด 

โดย Bharat Bhushan นักวิจัยจาก Ohio State University ระบุว่าวิธีการดูดเลือดของยุงทั้งหมดนี้สามารถนำมารวมเข้าไว้ด้วยกันในเข็มขนาดเล็กที่จะผลิตขึ้นมาได้ ซึ่งอาจจะเป็นการรวมเข็ม 2 แบบไว้ด้วยกัน โดยเข็มเล่มหนึ่งจะฉีดสารที่ทำให้รู้สึกชา (คล้ายกับการปล่อยน้ำลายของยุง) ขณะที่เข็มอีกเล่มจะใช้เพื่อดูดเลือดหรือฉีดยาเข้าไปในร่างกาย

อย่างไรก็ตาม เข็มดังกล่าวอาจไม่สามารถนำมาใช้ได้ในทุกกรณี แต่น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีในการใช้กับเด็กหรือคนที่กลัวเข็มฉีดยา ซึ่ง Bhushan ระบุว่าเวลานี้ทีมวิจัยมีทั้งเครื่องมือและวิธีการที่จะผลิตเข็มดังกล่าวแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการระดมทุนสนับสนุนเพื่อผลิตเข็มฉีดยานี้ออกมา และทดลองใช้งานว่าจะได้ผลหรือไม่

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 1

  • tttop
    ก็ดีนะ
    30 มิ.ย. 2561 เวลา 00.16 น.
ดูทั้งหมด