โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คดีพลิก ประท้วงไล่ ผอ. อมเงินอาหารกลางวันเด็ก โดนแฉกลับครูก๊วนขับไล่คือคนถือเงิน – พ่อครัวยันอาหารดี (คลิป)

Amarin TV

เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2562 เวลา 22.36 น.

ความคืบหน้ากรณีที่ชาวบ้าน ผู้ปกครองนักเรียน และเด็กนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง​ 3​ อ.บ้าน​กรวด​ จ.​บุรีรัมย์ กว่า 200 คน ได้รวมตัวกันถือป้ายประท้วงที่บริเวณหน้าอาคารเรียน เพื่อเรียกร้องให้ตรวจสอบการบริหารงานของ ผอ.โรงเรียน โดยกล่าวหาว่า ผอ.มีพฤติกรรมหักหัวคิวเงินค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ที่ได้รับการอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหัวละ 20 บาท รวมเป็นเงินเฉลี่ยวันละ 3,720 บาท แต่จ่ายค่าทำอาหารกลางวันเพียงวันละ 2,000 บาท เท่านั้น

ประท้วงขับไล่ผอ.โรงเรียน
ประท้วงขับไล่ผอ.โรงเรียน

วันที่ 13 ธ.ค. 62 ทีมข่าวอมรินทร์ทีวี สอบถาม ครูเมย์ (นามสมมติ) คุณครูโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง​ 3 เปิดเผยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเริ่มมาจากมีนักเรียนมาพูดให้ทราบว่า เด็กนักเรียนทานอาหารกลางวันกันไม่อิ่ม ตนเองจึงแจ้งให้ผอ.รับทราบว่าจะมีการแก้ไขอย่างไร แต่ผอ.บอกว่าจะยังคงให้แม่ครัวอาหารปริมาณเท่าเดิม จำนวน 2 หม้อ (จากเดิมเคยมี 3 หม้อ) และยืนยันว่าจะขอจัดการบริหารเรื่องนี้เอง

ครูเมย์ (นามสมมติ) ครูโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง​ 3
ครูเมย์ (นามสมมติ) ครูโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง​ 3

ซึ่งความเป็นจริงงบประมาณอาหารกลางวันเด็กจะได้มาจากงบประมาณของเทศบาล ให้มาตามจำนวนหัวเด็กนักเรียน เป็นรายวัน ตกหัวละ 20 บาท เด็กนักเรียน มี 190 คน ก็จะได้งบต่อวันตก 3,720 บาท ต่อวัน แต่ทางผอ.กลับหักหัวคิวค่าอาหารกลางวันเด็ก และให้เงินค่าอาหารกลางวันกับพ่อครัววันละ 2,000 บาท แต่ส่วนที่เหลือไม่รู้ว่าหายไปไหน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรู้สึกสงสารเด็ก ที่ได้ทานอาหารกลางวันไม่อิ่ม บางคนมาบอกตนเองว่า “ครูข้าวหมดแล้ว” ทำให้ครูที่ห่อข้าวมาทานเองต้องแบ่งข้าวให้เด็กนักเรียนแทน

งบอาหารกลางวัน
งบอาหารกลางวัน

ด้าน นางพิชณ์สิณี ศรีทัพไทยเบญญาภา ผอ.รร.นิคมสร้างตนเอง 3 เปิดเผยว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว รู้สึกเสียใจที่ทางโรงเรียนต้องมาเสียชื่อเสียง ส่วนกรณีที่ว่าตนเองมีการหักหัวคิวเงินค่าอาหารกลางวันเด็ก ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง ตนเองบริสุทธิ์ ยืนยันว่าไม่มีการทุจริตแน่นอน เพราะตนเองเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยตัวเองว่าครบถ้วนหรือไม่ มีแบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียน และกล้องวงจรปืดภายในโรงเรียนก็มีว่า ทุกครั้งจะมีครูเวรตรวจอาหารที่นำมาส่ง และรายงานให้ตนเองทราบ ยินดีที่จะให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบความบริสุทธิ์ใจได้ทุกอย่างทุกกระบวนการ

นางพิชณ์สิณี ศรีทัพไทยเบญญาภา ผอ.รร.นิคมสร้างตนเอง 3
นางพิชณ์สิณี ศรีทัพไทยเบญญาภา ผอ.รร.นิคมสร้างตนเอง 3

ส่วนงบประมาณในการทำอาหารกลางวันเด็ก จะต้องขึ้นอยู่กับสถิติเด็กนักเรียนในแต่ละปีว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และคิดเป็นค่าหัวหัวละ 20 บาท ต่อคน แต่ในปีล่าสุดที่เกิดปัญหา นร.มีทั้งหมด 186 คน ตก 3,720 บาท ซึ่งคนที่ดูแลเรื่องการเงินทั้งหมด คือคุณครูมุทิตา ครูภายในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหารกลางวันให้กับผู้รับเหมา หรือผู้จ้างเหมาก็จะเป็นครูมุทิตา ที่เป็นคนจัดการ แต่เรื่องการเบิกเงินจากธนาคารตนเอง จะเป็นคนเบิกเอง

อย่างไรก็ตามแกงหนึ่งหม้อ ไม่สามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้น ในงบแค่ 500 บาท. จึงส่งมอบเงินให้พ่อครัวจำนวน 1,000 บาท ส่งทุกวันวันละ 3 หม้อ เป็นเงิน 3,000 บาท และยังมีค่าผลไม้และของหวาน คิดตามหลักความเป็นจริง หากจ่ายเพียงแค่ 2,000 บาท คงไม่มีผู้รับเหมาทำอาหารรายไหนทำตามสัญญาได้ เพราะกลัวคาดทุนกันทั้งนั้น

อาหารกลางวันเด็ก
อาหารกลางวันเด็ก

ขณะที่ นายวันชาติ นาคะอุไร พ่อครัวประจำโรงเรียน เปิดเผยว่า ตนเองรับหน้าที่ดูแลเรื่องอาหารให้เด็กในโรงเรียนจำนวนเกือบ 200 คน คิดเป็นค่าหัว หัวละ 20 บาท รวมเป็นเงิน 4,040 บาทต่อ 1 วัน รับผิดชอบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร วันละ 2 หม้อ หม้อละ 1,000 บาท และข้าวสารหุงสุก จำนวน 50 กิโล แบ่งหุงละ 10 กิโล ของทุก ๆ วัน รวมถึงดูแลเรื่องการจัดหาผลไม้ และขนมหวาน อาทิตย์ละ 2 วัน ซึ่งในสัญญาตนเองจะต้องเป็นคนคิดอาหารที่จะให้เด็กกินขึ้นมาเองทุกวัน มีจืด 1 อย่าง เผ็ด 1 อย่าง เพื่อให้เด็กอนุบาลได้กินด้วยได้ โดยจะมีครูเวรคอยดูในขณะที่ตนเองปฎิบัติงานทุกครั้ง

นายวันชาติ นาคะอุไร พ่อครัว
นายวันชาติ นาคะอุไร พ่อครัว

ส่วนกรณี เรื่องอาหารไม่เพียงพอต่อเด็กนักเรียน ตนเองก็สามารถทำได้แค่เพียงเงินค่าจ้างตามจำนวนที่ได้รับมา ซึ่งกรณีที่ว่าอาหารกลางวันเด็กไม่เพียงพอ ครูเวรที่ตรวจสอบก็ไม่ได้มีการแจ้งกับตนเองแต่อย่างใด ว่าอาหารไม่เพียงพอ จนมาเกิดประเด็นดังกล่าวขึ้น ซึ่งตนเองก็พึ่งมาทราบหลังจากที่เป็นข่าวแล้ว เพราะปกติเวลาทำอาหารให้เด็ก จะถามครูเวรผู้ตรวจสอบทุกครั้งว่าอาหารเพียงพอหรือไม่ ซึ่งคำตอบที่ได้รับคือ เพียงพอทุกครั้ง

ส่วนประเด็นที่ว่าได้รับค่าทำอาหารเพียงแค่ 2,000 บาท อันนี้เป็นแค่ส่วนของหม้อแกง ไม่รวมค่าข้าวสารและผลไม้ ที่ยังไม่ได้บวกเพิ่มเข้าไปในงบด้วย ซึ่งปัจจุบันปีการศึกษานี้จำนวนเด็กนักเรียนภายในโรงเรียนลดลง จาก 200 เหลือ 186 คน จึงได้รับงบประมาณทำอาหารกลางวัน 3,720 บาท ต่อ 1 วัน โดย 10 วัน จะได้รับเงินเป็นจำนวน 37,200 บาท เต็มอัตราทุกงวดที่ได้รับเงิน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้แน่นอน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0