โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คณบดีนิติฯมธ.ชี้ ดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นเรื่องคู่สัญญา กฎหมายไม่เข้าไปแทรกแซง

Khaosod

อัพเดต 22 ก.พ. 2563 เวลา 09.58 น. • เผยแพร่ 22 ก.พ. 2563 เวลา 09.58 น.
คณบดีนิติโพสต์เรื่องดอกเบี้ยเงินกู้01

คณบดีนิติฯมธ.ชี้ ดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นเรื่องคู่สัญญา กฎหมายไม่เข้าไปแทรกแซง

วันที่ 22 ก.พ. นายมุนินทร์ พงศาปาน คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กMunin Pongsapan เปิดเป็นสาธารณะ ระบุว่า ว่าด้วยการคิด ดอกเบี้ยเงินกู้ และปกติทางการค้าของการกู้ยืมเงิน

การคิดดอกเบี้ยและกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเสรีภาพโดยแท้ของเจ้าหนี้และของคู่สัญญา การที่เจ้าหนี้ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยเลย เป็นเพียงการเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสียโอกาสในการหาประโยชน์จากเงิน แต่ไม่ทำให้เจ้าหนี้สูญเสียหรือเสียหายในทางทรัพย์สิน การไม่คิดดอกเบี้ยเงินกู้หรือการคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงไม่ถือเป็นเรื่องที่ผิดปกติทางการค้าเสมอไป

ดังจะเห็นได้จากมาตรา 7 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ในกรณีที่มีการตกลงคิดดอกเบี้ยในหนี้เงิน แต่ไม่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ นั่นหมายความว่า ถ้าคู่สัญญาตกลงไม่คิดอัตราตราดอกเบี้ยเลย หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 7.5 กฎหมายก็ไม่เข้าไปแทรกแซง ปล่อยให้เป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา

มาตรา 7 จึงเป็นเครื่องยืนยันว่า การไม่คิดดอกเบี้ยเงินกู้หรือคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายให้เป็นเรื่อง “ปกติ”

อัตราดอกเบี้ยที่กำหนด ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 7 เป็นอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตั้งแต่เมื่อเกือบ 100 ปี ที่แล้วในช่วงที่มีการร่างและประกาศใช้บรรพ 3 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (2467-2469) แต่ก่อนดอกเบี้ยเงินฝากสูงมาก กฎหมายจึงให้อัตรากลางๆ บนข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ว่าเงินถ้าเอาไปฝากธนาคารก็จะมีดอกผลงอกเงย

เพราะฉะนั้นถ้าเจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงให้มีการเสียดอกเบี้ย แต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ กฎหมายก็ให้ค่าที่ “อาจจะ” เสียโอกาสในหาประโยชน์ในอัตราร้อยละ 7.5 หรือถ้าผิดนัดแต่ไม่ได้กำหนดดอกเบี้ยไว้เลย กฎหมายก็จะให้ดอกเบี้ยเองร้อยละ 7.5

แต่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารหลายเท่า แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ตั้งแต่ใช้กฎหมายนี้มาเกือบ 100 ปี

ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่มีการแก้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง (เช่น ญี่ปุ่นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือลงร้อยละ 3) ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0