โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ขี้เมาพึงสังวร แชมป์คนน่ารำคาญที่สุดบนเครื่องบิน

Manager Online

อัพเดต 19 มิ.ย. 2562 เวลา 18.23 น. • เผยแพร่ 19 มิ.ย. 2562 เวลา 18.23 น. • MGR Online

เอ็กซ์พีเดีย เผยผลสำรวจพบเรื่องน่ารำคาญสูงสุดบนเครื่องบินของคนไทยคือ พวกขี้เมาเหม็นเหล้าหึ่ง ตามด้วยผู้ป่วยแพร่เชื้อโรคและคนที่มีกลิ่นตัวแรง ส่วนเรื่องน่ารำคาญของคนไทยในการเข้าพักที่โรงแรม อันดับหนึ่งคือพ่อแม่ที่ปล่อยปละละเลยลูก ตามด้วยพวกขี้เมาทั้งในห้องพัก ที่บาร์ และพวกชอบเอะอะโวยวาย

เอ็กซ์พีเดีย ประเทศไทย เผยผลการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและมารยาทบนเครื่องบินและในโรงแรมประจำปี 2562 โดยปีนี้ผลสำรวจยังชี้ชัดให้เห็นถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อใช้บริการบนเครื่องบินและในโรงแรม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลจากนักเดินทางชาวไทยจำนวน 601 คน โดยเป็นเที่ยวบินส่วนบุคคลเฉลี่ยคนละ 11.2 เที่ยวบิน และเดินทางเพื่อธุรกิจเฉลี่ยคนละ 10.1 เที่ยวบินต่อปี

รายงานนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกของนักเดินทางทั่วโลกเกี่ยวกับพฤติกรรมที่น่าพอใจ และพฤติกรรมที่น่ารำคาญต่อคนส่วนใหญ่ แบบเจาะลึกรายละเอียดตั้งแต่ระดับภาคพื้นดินไปจนถึงบนอากาศ ในขณะที่เรามักจะได้รับรู้เรื่องราวแต่ในแง่ไม่ดีของพฤติกรรมที่น่ารังเกียจระหว่างเดินทางตามสื่อสังคมออนไลน์ แต่ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายังมีแง่มุมดี ๆ ที่นักเดินทางส่วนใหญ่มีจิตเมตตาและมีน้ำใจต่อผู้อื่นมากกว่าที่เราคิด

“เท่าที่เห็นในสื่อสังคมออนไลน์ การแสดงความมีน้ำใจต่อกันยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก และไม่น่าแปลกใจเลยที่นักเดินทางชาวไทยซึ่งได้รับการสืบทอดมรดกและวัฒนธรรมไทย ติดอับดับท็อปชาร์ตในเรื่องการแสดงความมีน้ำใจต่อเพื่อนนักเดินทางด้วยกัน” ลาวิเนีย ราชราม หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร แบรนด์เอ็กซ์พีเดีย เอเชียแปซิฟิก กล่าว

ความปรารถนาดีต่อกันบนเครื่องบิน

เมื่อพูดถึงความมีน้ำใจ ร้อยละ 41 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกยินดีช่วยผู้อื่นยกกระเป๋าเดินทางขึ้นไปเก็บบนช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะ และนักเดินทางชาวไทยติดอันดับสูงสุดถึงร้อยละ 50

แต่ก็มีข้อมูลของความมีน้ำใจต่อกันในด้านอื่น ๆ มาให้ทราบกัน ดังนี้

-ชาวอเมริกันเต็มใจเปลี่ยนที่นั่งกับผู้โดยสารอื่นมากที่สุดถึงร้อยละ 42 และคนไต้หวันร้อยละ 40 คนไทยอยู่ ระดับกลาง ๆ ร้อยละ 22 ขณะที่ชาวดัตช์มีจำนวนร้อยละ 21 และคนญี่ปุ่นมีแนวโน้มน้อยที่สุด ร้อยละ 9

-คนไทยเป็นคนที่มีความละเอียดอ่อนต่อผู้อื่นมากที่สุด

แนวโน้มที่จะนำอาหารที่มีกลิ่นแรงขึ้นเครื่องบินจึงมีจำนวนค่อนข้างน้อย เพียงร้อยละ 15 ตามด้วยคนญี่ปุ่นร้อยละ 13 และคนไต้หวันร้อยละ 11 ในทางกลับกันชาวอินเดียมีจำนวนถึงร้อยละ 31และชาวอเมริกัน 30% ที่ไม่สนใจคนรอบข้าง

-คนที่มีจิตใจโอบอ้อมอารีมากที่สุด เช่นช่วยส่งกระดาษทิชชูหรือให้ยาแก้ไอเมื่อพบเห็นคนเจ็บป่วย คือชาวออสเตรีย ร้อยละ 57 รองลงมาคือคนไทยร้อยละ 54 ส่วนคนญี่ปุ่นร้อยละ 19 และคนเกาหลีใต้ร้อยละ 24 จะให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่มีอาการไอหรือจามน้อยที่สุด

การเผชิญหน้ากับผู้โดยสารที่น่ารำคาญ?

นักเดินทางจำนวนมากจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาไม่มีกลิ่นแอลกอฮอล์เพื่อหลีกเลี่ยงความน่ารำคาญบนเครื่องบิน ในรายงานระบุว่า นักเดินทางจำนวนร้อยละ 95 บอกว่าพวกเขาจะไม่ยอมเมา ซึ่งนั่นถือว่าโชคดี เพราะผลของผู้ตอบ แบบสอบถามทั่วโลกในปีนี้ จำนวนร้อยละ 43 ระบุว่าผู้โดยสารที่เมาเป็นพฤติกรรมที่น่ารำคาญที่สุดบนเครื่องบิน ซึ่งมี จำนวนเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ยอมรับว่าพวกเขาเมาเหล้าบนเครื่องบิน

สำหรับ 5 อันดับ พฤติกรรมที่น่ารำคาญมากที่สุดในความเห็นของผู้โดยสารชาวไทยได้แก่:

1.คนเมา ร้อยละ 43

2.คนป่วยที่แพร่เชื้อโรค ร้อยละ 35

3.คนที่มีกลิ่นตัวแรง ร้อยละ 27

4.คนที่ชอบเตะ/ชน/ดึงที่นั่ง ร้อยละ 25

5.พ่อแม่ที่ไม่เอาใจใส่ลูกๆ ร้อยละ 24

ลุกขึ้นต่อต้านพฤติกรรมแย่ ๆ

คนบางคนก็สามารถแสดงสิ่งที่เลวร้ายที่สุดกับต่อผู้โดยสารคนอื่นขณะที่นั่งกักติดอยู่กับที่บนเครื่องบิน แต่คนส่วนใหญ่ไม่คิดว่าจะใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อจัดการกับนักเดินทางที่หยาบคายเหล่านี้ได้ ดังนั้น เมื่อต้องเผชิญหน้ากับผู้โดยสารที่พฤติกรรมแย่ ๆ เหล่านี้ วิธีที่ดีที่สุดคือการพูดกับพวกเขาอย่างตรงไปตรงมา แต่ผู้โดยสารชาวไทยส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า

-ชาวฝรั่งเศสร้อยละ 61 ตามด้วยชาวสวิส 57 และชาวเยอรมัน 57 มีแนวโน้มที่จะเผชิญหน้าโดยตรงกับพวกที่ชอบเตะที่นั่ง ในขณะที่นักเดินทางชาวไทยร้อยละ 41 จะขอให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเป็นคนจัดการแทน

-คนไทยร้อยละ 69 จะตรงไปแจ้งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเมื่อพบกับผู้โดยสารที่แสดงพฤติกรรมหยาบคายต่อผู้โดยสารอื่น และคนไทยเพียงร้อยละ 16 เลือกเผชิญหน้ากับนักเดินทางที่หยาบคายโดยตรง

-ส่วนพฤติกรรมแย่งที่วางแขนบนเครื่องบิน คนไทยร้อยละ 50 จะพูดตรง ๆ หากมีใครล้ำเข้ามายังที่วางแขนของตนและไม่ยอมให้มีที่ว่างแก่ผู้อื่นเด็ดขาด ซึ่งใกล้เคียงกับนักเดินทางชาวออสเตรียที่มีอันดับสูงสุดถึงร้อยละ 60

คนไทยเป็นคนมีน้ำใจบนเครื่องบิน แต่มีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อพบกับมารยาทยอดแย่ในโรงแรม?

ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกร้อยละ 70 บอกว่าพวกเขาจะโทรไปที่แผนกต้อนรับเพื่อขอความช่วยเหลือหากพบปัญหาเสียงดังรบกวนระหว่างการเข้าพักในโรงแรม ซึ่งคนไทยมีจำนวนสูงกว่าโดยเฉลี่ยร้อยละ 74 เลือกใช้วิธีเดียวกับคนส่วนใหญ่ทั่วโลก

-คนอินเดียร้อยละ 30 มีแนวโน้มที่จะเผชิญหน้าโดยตรงเมื่อพบว่ามีคนส่งเสียงดังที่สระว่ายน้ำ ส่วนชาวนิวซีแลนด์ร้อยละ 44 และชาวออสเตรเลียร้อยละ 40 เลือกที่จะปล่อยวางและเพิกเฉย ส่วนคนไทยร้อยละ 60 จะแจ้งปัญหานี้กับเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวหรือแจ้งผู้บริหารโรงแรมแทนที่จะเผชิญหน้าด้วยตัวเอง

5 อันดับมารยาทที่น่ารำคาญที่สุดในโรงแรมสำหรับนักเดินทางชาวไทย:

-พ่อแม่ที่ปล่อยปละละเลยลูก ร้อยละ 42

-พวกสำมะเทเมาในห้องพัก ร้อยละ 36

-พวกขี้เมาที่บาร์ ร้อยละ 31

-พวกที่ชอบเอะอะโวยวาย ร้อยละ 27

-พวกที่ชอบปาร์ตี้ ร้อยละ 25

มารยาทในการเช่าสถานที่พักช่วงวันหยุด

เวลาที่ไปเช่าบ้านพักตากอากาศ คนไทยร้อยละ 26 มีความพอใจกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากเจ้าบ้าน แต่พวกเขาก็เห็นด้วยว่ามีเรื่องบางเรื่องที่ไม่ควรกระทำเช่น

-การปัสสาวะลงในสระว่ายน้ำ ร้อยละ 68

-การนำของใช้ส่วนตัวกลับบ้าน ร้อยละ 51

-การนำหนังสือหรือภาพยนตร์กลับบ้าน ร้อยละ 43

เมื่อกล่าวถึงพฤติกรรมที่ดี การมอบของที่ระลึกดูเหมือนจะเป็นสัญลักษณ์สากลของการแสดงความเคารพต่อกันในหมู่นักเดินทางชาวไทย ร้อยละ 18 ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยกล่าวว่าพวกเขารู้สึกซาบซึ้งเมื่อได้รับของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการต้อนรับขณะเดินทางถึงที่พัก การมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวและร้านอาหารในบริเวณนั้น ๆ ตามมาเป็นอันดับสอง โดยนักเดินทางชาวไทย ร้อยละ 26 บอกว่านี่เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมมากที่สุดคือสิ่งที่เจ้าของสถานที่สามารถทำให้มากเท่าที่จะทำได้ ผลลัพธ์นี้เน้นย้ำให้เห็นว่า การดูแลแบบเป็นส่วนตัวเฉพาะบุคคลยังคงได้รับความพึงพอใจมากที่สุด ฉะนั้น การต้อนรับในฐานะเจ้าบ้านที่ดีรวมถึงการบริการอาหารฟรีจึงเป็นหนทางที่จะชนะใจนักท่องเที่ยวได้

“ทุก ๆ ปี เราช่วยคนจำนวนหลายล้านคนในการเดินทาง และสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเราคือการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่นักเดินทางเท่าที่จะเป็นไปได้ เรารู้ว่าจะตอบสนองนักเดินทางแต่ละคนอย่างไรในขณะที่เดินทางซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อความรู้สึกของเรา ดังนั้น เราขอแนะนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเพื่อช่วยให้นักเดินทางแสดงความมีน้ำใจต่อกันระหว่างการเดินทาง” ลาวิเนีย กล่าว

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ เมื่อคุณกำลังจะเดินทางครั้งต่อไป

-ให้ความช่วยเหลือ! หากคุณเห็นเพื่อนร่วมเดินทางต้องการความช่วยเหลือ ให้เสนอความช่วยเหลือและดูว่าอะไรคุณสามารถช่วยอะไรได้ที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาง่ายขึ้น อาจเป็นเรื่องง่าย ๆ เช่น การช่วยยกสัมภาระหนักหรือให้ช่วยดูแลเด็กที่ซุกซน

-นักเดินทางส่วนใหญ่พยายามที่บรรลุเป้าหมายของการพักร้อน – โดยเฉพาะหลังจากมีคะแนนสะสมและได้รับข้อเสนอดี ๆ กับเอ็กซ์พีเดีย ให้ใช้ความสุภาพ อย่าเริ่มต้นด้วยการทะเลาะหรือเผชิญหน้า

-มีมารยาทในการใช้พื้นที่สาธารณะรอบตัวคุณ หากคุณคิดว่าคุณต้องการพื้นที่มากขึ้นในการยืดแข้งยืดขาระหว่างเดินทางบนเครื่องบิน คุณควรพิจารณาจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่ออัพเกรดที่นั่งของคุณ

-หากคุณเจ็บป่วยแต่มีความจำเป็นต้องเดินทาง อย่าแพร่เชื้อโรคต่อผู้อื่น ให้หมั่นทำความสะอาดรอบตัวคุณบ่อยเท่าที่เป็นไปได้และขอที่นั่งให้อยู่ห่างจากผู้โดยสารคนอื่น ๆ ทุกคนจะซาบซึ้งในความพยายามของคุณที่จะรักษาสุขภาพที่ดีแก่ผู้อื่น

-เมื่ออยู่ในบ้านพักตากอากาศ ให้ดูแลเอาใจใส่เหมือนเป็นบ้านของตัวเองและเคารพเจ้าของบ้าน อย่าทิ้งความยุ่งเหยิง ไม่หยิบจับข้าวของส่วนตัวใด ๆ ของเจ้าของ หรือที่นำสิ่งของที่ไม่ได้เป็นของคุณกลับบ้าน

สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาว่ามารยาทในการเดินทางของประเทศไหนที่ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่? สามาถเข้าไปตอบคำถามสั้น ๆ ได้ที่เว็บไซต์ https://travelblog.expedia.co.th/airplane-etiquette-quiz/ และค้นหาจุดหมายปลายทางที่มีมารยาทที่ตรงใจคุณ หากต้องการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางแผนการเดินทางและแรงบันดาลใจในการท่องเที่ยวพักผ่อนวันหยุดได้ที่บล็อกท่องเที่ยวของเอ็กซ์พีเดีย https://travelblog.expedia.co.th/

……………………………………………………………………………………….

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0