โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ขอคืนช่องอีกรอบ! ส่องรายได้ "ทีวีดิจิทัล" ชี้เป้า ใครออกโรงอ้อน "กสทช."

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 31 มี.ค. 2565 เวลา 10.48 น. • เผยแพร่ 15 พ.ย. 2562 เวลา 04.36 น.
รายได้ทีวีดิจิทัล-02

แม้ว่าก่อนหน้านี้ “ฐากร  ตัณฑสิทธิ์” เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะยืนยันว่า การชดเชยผู้ประกอบการโครงข่ายทีวีดิจิทัล (MUX)  761 ล้านบาท เพื่อปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้รองรับการเรียกคืนคลื่นความถี่ 700 MHz และการคืนช่องทีวีดิจิทัล จะเป็นการเยียวยาทีวีดิจิทัลครั้งสุดท้าย ตามคำสั่ง คสช. ที่ 4/2562

แต่ล่าสุด เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า  ได้รับการติดต่อจากผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลบางช่อง ร้องขอให้หาทางช่วยเหลือให้มีการ “เปิดให้คืนช่อง” พร้อมได้รับเงินเยียวยา อีกครั้ง เนื่องจากยังประสบปัญหาในการทำธุรกิจในภาวะที่การแข่งขันสูง และเกรงว่า หากเทคโนโลยี 5G เปิดให้บริการจะยิ่งทำให้การแข่งขันของการให้บริกคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นไปอีก  ทำให้ช่องทีวีที่เดินหน้าต่อ แม้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าประมูลใบอนุญาตที่เหลือ และไม่ต้องจ่ายค่าเช่าใช้โครงข่ายแล้วก็ยังยากลำบากในการทำธุรกิจ

“ความเห็นส่วนตัวเชื่อว่าเป็นเรื่องยาก เพราะได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการพิจารณาไตร่ตรองในเวลาที่เหมาะสมแล้ว ช่องที่ตัดสินใจเดินหน้าต่อ ควรต้องรับผลของการตัดสินใจ แต่ก็จะเสนอเรื่องให้ประชุมคณะอนุกรรมการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัลเพื่อพิจารณาต่อไปตามหน้าที่”

สำหรับ 15 ช่องทีวีดิจิทัลที่ยังเหลือประกอบกิจการ ได้แก่ TNN 16 , NewTV 18 , Nation 22, เวิร์คพอยท์ ช่อง 23,  true4u ช่อง 24 , GMM25, ช่อง 8 , MONO 29, Mcot HD30, ONE31, ไทยรัฐทีวี 32 ,ช่อง 3HD ,อมรินทร์ทีวี 34 , ช่อง 7HD และ PPTV36

ย้อนไป 5 ปีที่ผ่านมาของ “ทีวีดิจิทัล” ทั้ง 24 ช่องทีวีดิจิทัลเคาะราคาประมูลแย่งชิงช่องด้วยมูลค่ารวมกว่า 50,862 ล้านบาท กลับมีรายได้ “ก่อน” หักค่าใช้จ่าย รวมกันที่ 66,562 ล้านบาท

เรียกว่า “ดับฝัน” ที่ของผู้ประกอบการทั้งรายเดิมและรายใหม่ที่คิดจะโกยรายได้จากโฆษณาปีละหลายพันล้านบาทเหมือนยุคก่อนของ “ช่อง3-ช่อง7” แต่ความจริงคือมูลค่าตลาดโฆษณาทีวีมีทิศทางที่ลดลง

โดยข้อมูล Nielsen ระบุว่าในปี 2561 มีมูลค่าโฆษณาทีวี 67,947.22 ล้านบาท ช่องทีวีหน้าใหม่(ไม่ใช่ช่องแอนะล็อกเดิม) แย่งเม็ดเงินมาได้ 43.29% ซึ่งช่องวาไรตี้ความคมชัดปกติ (SD) มีโฆษณาเติบโตมากสุด จาก 6.21% ในปี 2557 มาอยู่ที่26.56% และ เวิร์คพอยท์ MONO 29 และช่อง 8 เติบโตมากที่สุด

ส่วนช่องวาไรตี้ความคมชัดสูง (HD) ได้โฆษณามากที่สุด ได้แก่ ช่อง 7 HD ช่อง 3 HD

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0