โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ก.สรรพากรยอมถอย!เจ้าของเงินฝากไม่ต้องเซ็นยินยอม

เดลินิวส์

อัพเดต 23 เม.ย. 2562 เวลา 05.55 น. • เผยแพร่ 23 เม.ย. 2562 เวลา 05.44 น. • Dailynews
ก.สรรพากรยอมถอย!เจ้าของเงินฝากไม่ต้องเซ็นยินยอม
‘สรรพากร’ สั่งถอย ยอมรื้อเกณฑ์รีดภาษีดอกเบี้ยเงินฝากเกิน 20,000 บาท เล็งประกาศใหม่ใน 1-2 สัปดาห์ ให้คนยินยอมส่งข้อมูลดอกเบี้ยไม่ต้องไปเซ็นธนาคาร แต่ให้คนไม่ยินยอมต้องไปเซ็นเอง

จากกรณีประเด็นร้อนที่กรมสรรพากรออกประกาศแจ้งสถาบันการเงินเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ซึ่งส่งผลให้เจ้าของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ต้องแสดงความยินยอมให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลบัญชีดอกเบี้ยให้กรมสรรพากร ไม่เช่นนั้นจะถูกหักภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 15% ทุกเดือนมิ.ย. และธ.ค. ทันที แม้มีรายได้ดอกเบี้ยไม่ถึง 20,000 บาทก็ตาม ซึ่งทำให้เกิดวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างกว้างขวางนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 เม.ย.62 ที่กรมสรรพากร นายปิ่นสาย สุรัสวดี โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยหลังการประชุมร่วมกับสมาคมธนาคารไทยว่า กรมฯจะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 15%  และออกประกาศใหม่ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากประกาศฉบับปัจจุบัน ที่อาจทำให้ผู้เปิดบัญชีออมทรัพย์ทั่วประเทศ 80 ล้านบัญชี ไม่ได้รับความสะดวกในการยื่นยินยอมข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากกับธนาคารเพื่อส่งมาให้กรมสรรพากรตรวจสอบ

 “การให้แสดงความยินยอมนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยจากธนาคารมากรมสรรพากรยังต้องมีอยู่ แต่จะแก้วิธีการใหม่ให้สะดวกต่อส่วนรวมยิ่งขึ้น เช่น ประกาศเดิมกำหนดให้ผู้มีเงินฝากออมทรัพย์ทุกคนต้องมาแสดงความยินยอมนำส่งข้อมูลกับธนาคารพาณิชย์เพื่อให้ได้รับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยต่ำกว่า 20,000 บาทต่อปี แต่ประกาศใหม่อาจคิดกลับข้างกัน ให้เฉพาะคนที่ไม่ต้องการยินยอมส่งข้อมูลดอกเบี้ยมาแจ้งกับธนาคารแทน เท่ากับว่าคนส่วนใหญ่ถ้าต้องการยินยอมให้นำส่งข้อมูลเพื่อรับสิทธิยกเว้นภาษีดอกเบี้ยก็ไม่ต้องเดินทางมาเซ็นที่ธนาคาร  ส่วนคนที่ไม่ยินยอมส่งข้อมูลดอกเบี้ยก็ต้องไปเซ็นยินยอม  แต่คนกลุ่มถ้าดอกเบี้ยเข้าเกณฑ์ ก็ต้องเสียภาษีตามปกติ อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างศึกษาแต่ยังไม่สรุป”

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0